วัยทอง, แก้วัยทอง, อาการวัยทอง, ผู้หญิงวัยทอง, วัยหมดประจำเดือน

ไลฟ์สไตล์ต้องเปลี่ยน พร้อมสู้ วัยทอง

1. อาหาร

อาหารที่คุณกินมาตลอดชีวิต เช่น อาหารที่ให้พลังงานอย่างไขมัน ซึ่งจะไปสร้างฮอร์โมน โปรตีน ซึ่งมีกรด แอมิโนที่ช่วยสร้างสารสื่อประสาท คาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นพลังงานที่เราเอาไปใช้ก่อนอย่างอื่นจะเห็นได้ จากเมื่อเรากินข้าว ร่างกายจะนำแป้งไปใช้ก่อน แต่สารอาหารอื่นๆ จะถูกนำไปใช้ทีหลัง เช่น กรดแอมิโนจะเดินทางไปยังระบบประสาท

ดังนั้นคุณต้องกินไขมันดี ซึ่งคือไขมันที่มีพันธะคู่เยอะๆ หรือโมเลกุลที่ไม่อิ่มตัว เช่น ปลาชนิดต่างๆ ที่มีกรด ไขมันดีอย่างโอเมก้า 3 โดยกินให้เยอะกว่าเนื้อสัตว์ใหญ่ หรือขนมขบเคี้ยวที่เต็มไปด้วยไขมันที่ไม่ดีและ กรดไขมันไม่อิ่มตัว

แต่ถ้าคุณเป็นมังสวิรัติก็อาจจะกินเมล็ดธัญพืชต่างๆ เช่น เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย อัลมอนด์ นอกจากนี้ยังต้องระวังพวกน้ำมันสำหรับทำอาหารต่างๆ เช่น น้ำมันมะกอก ซึ่งเป็นน้ำมันดี แต่เมื่อโดนความร้อนก็จะเกิด กรดไขมันไม่อิ่มตัวขึ้นมา จึงเป็นสาเหตุที่เขาบอกให้เปลี่ยนน้ำมันบ่อยๆ เวลาทำอาหาร

นอกจากนี้ยังควรกินอาหารเช้าทุกวัน เพราะการไม่กินอาหารเช้าจะทำให้อินซูลินค้างนาน เสี่ยงต่อการเกิด ภาวะต้านอินซูลิน ทำให้เกิดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้แก่เร็วขึ้น ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือ ของหวานและอาหารปิ้งย่าง เพราะจะไปกระตุ้นการเกิดอนุมูลอิสระทำให้ร่างกายขาดสมดุลเช่นกัน ก็ทำให้แก่เร็ว อีกนั่นเอง

 

2. การขยับร่างกาย

การนั่งเฉยๆ นานๆ ก็ สามารถทำให้ ฮอร์โมนผิดปกติได้ โดยเฉพาะคนที่ทำงานประเภทที่อาศั ยการนั่งเฉยๆ ตลอด จะมีระดับฮอร์โมนลดลงเร็วมาก

นอนหลับ, วัยทอง, การนอน, แก้อาการวัยทอง, อาการวัยทอง
นอนในห้องนอนที่มืด ไม่มีเสียงรบกวน จะช่วยให้นอนหลับสนิทมากขึ้น

3. การนอนหลับ

การนอนหลับต้องมีคุณภาพ ซึ่งจะดูแต่จำนวน ชั่วโมงการนอนไม่ได้ การนอนต้องไม่สะดุด (Fragmentation) คือ อาจจะนอนเพียง 5 ชั่วโมง ก็ได้ แต่ต้องเป็น 5 ชั่วโมงที่มีคุณภาพ

การนอนหลับสนิทนั้นขึ้นอยู่กับฮอร์โมน เมลาโทนิน ซึ่งมีเซโรโทนินเป็นฮอร์โมนคู่ตรงข้าม คือ เวลาที่ เราตื่นเซโรโทนินจะหลั่งออกมา ทำให้เราตื่นตัวมีสติ แต่เมื่อไฟมืด ร่างกายจะหลั่งเมลาโทนินออกมา ดังนั้นสภาพแวดล้อมในห้องนอนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่จะทำให้การนอนหลับมีคุณภาพ คือ ห้องนอน ต้องมืดและไม่มีเสียงรบกวน

นอกจากนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้สมาร์ทโฟน ที่มีแสงสีฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ก่อน นอนด้ วย เพราะแสงเหล่านี้ ทำให้ เมลาโทนิ นหลั่ งน้ อยลง ในขณะที่ไปเพิ่มระดับเซโรโทนิน ขณะนอนจึงเหมือน เกิดความคิดฟุ้งซ่าน

การดื่มเครื่องดื่มกาเฟอีนและการออกกำลังกาย ก็มีผลต่อการนอนหลับ เพราะกิจกรรมทั้งสองอย่างนี้กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งคาเทโคลามีน (Catecholamine) หรือสารสื่อประสาท เช่น โดพามีน ซึ่งทำให้สมอง ตื่นตัว ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มี ส่วนผสมของกาเฟอีนอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน และการออกกำลังกายหนักๆ ก่อนนอน

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.