ยาแก้ปวดไดโคลฟีเเนค, แพทย์, ไดโคลฟีเเนค, ฉีดยาแก้ปวด, ยาแก้ปวด, การใช้ยา ไดโคลฟีเเนค, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

แพทย์เตือนฉีดยาแก้ปวด “ไดโคลฟีเเนค” ทำเส้นประสาทบาดเจ็บ

อันตราย และข้อแนะนำ การใช้ยา ไดโคลฟีเเนค ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

เมื่อวันที่ 22 พฤษจิกายน 61  สำนักหลักประกันสุขภาพเเห่งชาติ  ส่งหนังสือเเจ้งปลัดกระทรวงสาธารณสุข และทำให้สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทำเรื้องเเจ้งให้โรงพยาบาลในสังกัดทั้งหมด (14 ธันวาคม 2562 ) เรื่องการสั่งใช้และการเฝ้าระวังอาการไม่พึ่งประสงค์ของยาฉีดยาแก้ปวด ไดโคลฟีเเนค (Diclophfenec) เข้ากล้ามเนื้อ เพราะมีข้อมูลพบว่า

ตั้งเเต่ปี 2556 ถึงปัจจุบันพบกรณีผู้รับบริการไดเรับความเสียหายที่เกิดจากการฉีดยาแก้ปวด ไดโคลฟีเเนค เข้ากล้ามเนื้อ เฉลี่ยปีละ 5 ราย โดยพบว่าส่วนใหญ่มีการบาดเจ็บของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหน้าเเข็งและเท้า นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการฉีดยาแก้ปวด ไดโคลฟีเเนค เข้ากล้ามเนื้อมีเเนวโน้มเพิ่มขึ้น

เป็นที่หน้ากังวลว่า การฉีดยาแก้ปวด ไดโคลฟีเเนค เข้ากล้ามเนื้อมีความอันตรายหรือไม่ เพราะจากรายงานพบ อาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดยาแก้ปวดไดโคลฟีเเนค เข้ากล้ามเนื้อ

อย่างไรก็ตามข้อมูลในข้างต้น การฉีดเเละกินยาแก้ปวดไดโคลฟีเเนคมีข้อควรระวังและข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวด้วย ฉะนั้นการกินหรือฉีด ไดโคลฟีเเนค เพื่อแก้อาการปวดนั้นยังคงต้องระวังอีกด้วย

ข้อมูลจากเฟสบุ๊กเพจ Rational Drug Use  เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2562 อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดยาไดโคลฟีเเนค กล้ามเนื้ออย่างน่าสนใจว่า

“จากรายงานระบุว่า อาการไม่พึ่งประสงค์จากการฉีดยาไดโคลฟีเเนคเข้ากล้ามเนื้อ diclofenac injection  คือ การแพ้ยาอย่างฉับพลัน  (Type 1 Hypersensitivity) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้”

จากรายงานผู้ป่วยจำนวน 8,837 คน จำนวนเหตุการณ์ 13,074 เหตุการณ์) ข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พ.ศ. 2527-2557

แพทย์, ไดโคลฟีเเนค, ฉีดยาแก้ปวด, ยาแก้ปวด, การใช้ยา ไดโคลฟีเเนค, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

ด้านผศ. นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเเพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า

เขากังวลเรื่องการฉีดเข้าไปในสะโพก เพราะมีคนไข้บางคนเกิดความผิดปกติของเส้นประสาท เช่น ปวดขา ขาไม่มีกำลัง เเต่ก็ยังไม่ได้สรุปยืนยันว่าเป็นผลจากตัวยา ก็เข้าใจว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับเทคนิคการฉีดยาเพราะยาทุกชนิดถ้าเทคนิคการฉีดไม่ดีก็มีโอกาสโดนเส้นประสาทได้เสมอ

อีกด้านหนึ่งก็มีรายงานที่เชื่อว่ายาไดโคลฟีเเนค สามารถทำให้เกิดพิษที่เส้นประสาท บริเวณที่ฉีดได้ แม้จะฉีดอย่างถูกต้องก็ตาม อาจเป็นไปได้ว่าตัวยาไปส่งผลกับเส้นประสาท

สำหรับแนวทางการออกมาตรการในระยะนี้ นายแพทย์พิสนธิ์ ให้คำเเนะนำว่า

สื่อสารกับประชาชนให้เข้าใจว่า ไม่ควรขอให้หมอฉีดยา ถอนยานี้ออกจากทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพราะหากฉีดไปแล้วเกิดปัญหาใดๆขึ้นมา หากเป็นหมอยังพอรับได้ แต่ถ้าพยาบาลเป็นคนฉีด อาจเกิดการฟ้องร้องขึ้นได้ หากเกิดความเสียหาย เพราะในทางกฏหมายพยาบาลไม่สามารถฉีดยาตัวนี้ให้คนไข้ได้โดยไม่มีคำสั่งเเพทย์ ซึ่งในทางปฏิบัติยังทำกันอยู่

ถ้าเชื่อว่ายาไดโคลฟีเเนค มีผลทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จริง ทางเลือกที่มีคือต้องเปลี่ยนยาฉีดชนิดอื่น ที่สามารถใช้ทดแทนกันได้ เช่น ยาคีโตโรเเลค (Ketorolac) ซึ่งเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ

เเต่อย่างไรก็ตาม การสื่อสารกับประชานให้เข้าใจเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก คุณหมอได้ให้ความคิดเห็นที่น่าสนใจ ใจความระบุว่า

“เพระในมุมประชาน การเรียกร้องให้หมอฉีดยาให้เป็นเรื่องไม่จำเป็น เพราะบางคนมาหาหมอ มีวัตถุประสงค์เพื่อมาฉีดยา เป็นหวัด เจ็บคอ ปวดเมื่อย ปวดไหล่ ก็ขอฉีดยา เเต่ในทางตรงกันข้ามการขอฉีดยา มีความเสี่ยเสมอ เช่น อาจโดนเส้นประสาท เสี่ยงต่อการติดเชื้อหากฉีดผิดวิธี ดังนั้น ไม่ควรขอให้หมอฉีดยา ให้เป็นการตัดสินใจทางการแพทย์ หมอเป็นคนสั่งยาเอง ไม่ใช่คนไข้มาสั่ง”

ถ้าไม่อยากเจออาการไม่พึ่งประสงค์จากการฉีดไดโคลฟีเเนค เปลี่ยนมาบรรเทาอาการปวดด้วยวิธีแบบธรรมชาติสิ

อ่านเพิ่มเติม

10 วิธีแก้ปวด ทำง่ายๆ ด้วยวิธีธรรมชาติ

ปวดคอ เมื่อยคอ แก้ได้ด้วยวิธีง่ายๆ จากสมุนไพรใกล้ตัว

แก้ปวดเมื่อย ด้วยท่าบิดตัวง่ายๆ ก่อนเข้านอน

 

เอกสารอ้างอิง

  1. www.fda.moph.go.th
  2. www.hfocus.org

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.