สัญญาณโรคไต, โรคไต

วิธีทำนายโรคไต ป่วยหรือไม่ใน 10 ปี

อะไรบ้าง คือสาเหตุเสี่ยงโรคไตของคนไทย

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงชาครีย์กิติยากร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายรายละเอียด ของแบบประเมินนี้ว่า

“แบบประเมินนี้ช่วยวิเคราะห์ว่า คุณมีความเสี่ยงโรคไตในอีก 10 ปีข้างหน้ามากน้อยแค่ไหน โดยจะมี 2 รูปแบบ คือ แบบไม่ใช้ผลเลือด และแบบใช้ผลเลือด แบบไม่ใช้ผลเลือดเป็น รูปแบบการวิเคราะห์เบื้องต้น ในกรณียังไม่สะดวกเข้ารับการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดและค่าไตซึ่งมีความแม่นยำ 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแบบใช้ผลเลือดต้องทราบระดับน้ำตาลในเลือดและค่าไตซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการตรวจเลือดที่โรงพยาบาล แต่จะมีความแม่นยำเพิ่มขึ้นถึง 80 เปอร์เซ็นต์”

แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคไตในคนไทยแบบไม่ใช้ผลเลือดนั้นมีข้อมูลจำเป็นที่ต้องกรอกอยู่ 5 ข้อ คือ 1. อายุ 2. เพศ 3. ค่าความดันโลหิตตัวบน 4. เป็นโรคเบาหวานหรือไม่ 5. รอบเอว (นิ้ว) ส่วนแบบประเมินที่ใช้ผลเลือดนั้น  มีข้อมูลจำเป็นอีก 2 ข้อ ที่ต้องกรอกเพิ่ม คือ 1. ค่าน้ำตาล (FBS) มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 2. ค่าไต (Creatinine) มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

สัญญาณโรคไต, โรคไต
Woman holding model human kidney halves at white body.

อาจารย์ชาครีย์อธิบายเพิ่มเติมว่า ข้อมูลเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับโรคไตดังนี้

“โดยเมื่อกรอกข้อมูลตามรูปแบบที่เลือกครบ สำหรับอายุแน่นอนว่า อายุมากขึ้นย่อมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต เพราะร่างกายมีความเสื่อมไปตามสภาพ เพศชายเสี่ยงกว่าเพศหญิง ค่าความดันโลหิตตัวบน ยิ่งความดันสูงขึ้นจะทำให้เลือดเกิดแรงดันสูงเมื่อไหลเวียนไปที่ไตจะทำให้เกิดแรงกระแทกที่เนื้อไตทำให้ไตเสื่อม

“การเป็นเบาหวานหรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้ไตเสื่อมลงเรื่อย ๆ เช่นกัน ส่วนรอบเอว ยิ่งมีรอบเอวมากขึ้น เท่ากับว่าเรามีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้เกิดแรงกดทับกับอวัยวะภายในต่าง ๆ รวมถึงไตด้วย ส่วนค่าไตนั้น ยิ่งมีสูงเท่ากับว่ามีความเสี่ยงโรคไตสูงด้วย”

อาจารย์ชาครีย์เล่าต่อว่า “เมื่อทำการกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ระบบประเมินผลความเสี่ยงของผู้กรอกข้อมูลว่ามีความเสี่ยงในระดับใด ซึ่งแบ่งเป็นระดับต่ำ ระดับปานกลาง ระดับสูง และระดับสูงมาก ซึ่งหากเป็นระดับปานกลาง สูง และสูงมาก จะแนะนำไปพบแพทย์ทันที ส่วนในความเสี่ยงระดับต่ำหรือปานกลาง จะมีคำแนะนำให้ดื่มน้ำหมั่นออกกำลังกาย ซึ่งเป็นวิธีดูแลสุขภาพที่ช่วยให้ไตแข็งแรง”

สัญญาณโรคไต, โรคไต
Woman with back or kidney pain clutching her lower back

คุณหมอปริญญ์อธิบายสรุปได้ว่า

“ผู้สนใจสามารถเข้าไปทำแบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคไตในคนไทย ผ่านทางเว็บไซต์ http://med.mahidol.ac.th/kidney_disease_rik/Thai_CKD_risk_score/Thai_CKD_risk_score.html หรือการสแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code) ในอนาคตแบบประเมินนี้จะพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นที่สามารถดาวน์โหลดไปใช้ในสมาร์ทโฟนได้ทุกระบบปฏิบัติการ และต่อยอดเป็นแบบประเมินในรูปแบบตารางคะแนนในกรณีของผู้ที่ไม่มีอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีหรืออยู่ในชุมชนห่างไกล”

นอกจากลดการกินหวาน มัน เค็ม แล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยง และ สัญญาณโรคไต อื่นๆ ที่เราต้องตระหนักรู้ ทั้งระดับความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด น้ำหนัก อายุ เพศ ดังนั้นต้องหาวิธีควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็จะช่วยให้ไตและทุกระบบในร่างกายแข็งแรงได้

อ่านเพิ่มเติม

คู่มือกินผักผลไม้ ปรับสมดุลแร่ธาตุ ฟื้นสุขภาพ ผู้ป่วยโรคไต

9 สมุนไพร ที่ผู้ป่วยโรคไตต้องระวัง

7 สัญญาณเตือน คุณเป็นโรคไตหรือเปล่า ?

 

ที่มา นิตยสารชีวจิต คอลัมน์ เรื่อง ชมนาด

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.