ไบโพลาร์ โรคที่ควรเข้าใจ ก่อนหงุดหงิด อารมณ์เสียใส่ผู้ป่วย
ไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว คือโรคที่มีความผิดปกติของอารมณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ที่ผิดปกติจะแบ่งได้เป็น 2 ขั้ว ได้แก่ ช่วงที่อารมณ์ดีหรือก้าวร้าว และอารมณ์ซึมเศร้า โดยในช่วงที่มีอารมณ์ผิดปกติมักจะคงอยู่นานแทบทั้งวัน และมีอาการติดต่อกันเป็นเวลานานเป็นวันหรือเป็นสัปดาห์ ข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายว่า ดังนี้
อาการของโรคมี 2 ช่วง คือ
1. ช่วงอารมณ์ดีหรือก้าวร้าว
ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ดีมากขึ้นหรือครึกครื้นกว่าปกติ หรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ ร่วมกับความรู้สึกว่ามีพลังงานล้นเหลือหรือมีกิจกรรมในแต่ละวันมากขึ้นผิดสังเกต ร่วมกับอาการอื่นๆ ได้แก่
1) เชื่อมั่นในตนเองมากหรือ รู้สึกว่าตนมีความสำคัญหรือมีความสามารถมาก
2) ไม่ต้องการการนอนหลับพักผ่อน
3) พูดมากกว่าปกติหรือหยุดพูดไม่ได้
4) ความคิดแล่นเร็ว
5) ว่อกแว่กง่าย ไม่มีสมาธิ
6) มีกิจกรรมที่มีจุดหมายเพิ่มขึ้นมาก (ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมด้านสังคม การเรียนการทำงาน หรือเรื่องเพศ) หรือกระสับกระส่ายมาก
7) หมกมุ่นกับกิจกรรมที่ทำให้เพลิดเพลินแต่มีโอกาสสูงที่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากตามมา (เช่น ฟุ่มเฟือย สำส่อนทางเพศ หรือลงทุนทำธุรกิจโดยไม่ยั้งคิด)
2. ช่วงอารมณ์ซึมเศร้า
ผู้ป่วยจะมีอารมณ์เศร้า หรือไม่มีความสุขหรือหมดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบทำ ร่วมกับอาการอื่นๆ ได้แก่
1) มีความต้องการอาหารมากขึ้นหรือลดลง หรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงผิดปกติ
2) นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป
3) กระสับกระส่ายหรือเชื่องช้ามากขึ้น
4) อ่อนเพลียหรือไร้เรี่ยวแรง
5) รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือมีความรู้สึกผิดที่มากผิดปกติ
6) สมาธิแย่ลง หรือตัดสินใจอะไรได้ยากขึ้น
7) คิดถึงเรื่องการตายหรือคิดฆ่าตัวตาย
บทความอื่นที่น่าสนใจ
เช็คด่วน! เป็นไบโพลาร์ หรือเเค่อาการผีเข้าผีออก
รู้ทันโรคซึมเศร้า ฉบับครอบครัว
Before & After เคล็ดลับบอกลาโรค ซึมเศร้า