ประจำเดือนมาผิดปกติ ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือน โรคผู้หญิง

วัยก่อนหมดประจำเดือน ประจำเดือนมาผิดปกติ เสี่ยงโรครุมเร้า

ประจำเดือนมาผิดปกติ ในวันก่อนหมดประจำเดือน

สำหรับปัญหา ประจำเดือนมาผิดปกติ ของผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน คือช่วงอายุ 35-45 ปี แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข สูตินรีแพทย์ และคอลัมนิสต์ประจำนิตยสารชีวจิตให้ข้อมูลดังนี้

ประจำเดือนมามาก

“ผู้หญิงก่อนหมดประจำเดือน อายุ 35-45 ปี วัยนี้เริ่มมีโรคแล้ว คนที่มีความเสี่ยงเป็นโรค หนึ่ง มีกรรมพันธุ์ แม่เป็น สองคือ เป็นสาวโสด ไม่แต่งงาน หรือแต่งงานแล้วไม่มีลูก ตัวโรคทำให้มีปัญหาประจำเดือนมาผิดปกติคือมาก ประจำเดือนที่ว่ามามากคือ ประจำเดือนมากจนต้องใช้ผ้าอนามัยขนาดธรรมดาเกินเดือนละ 16 แผ่น จะเสียเลือดเกิน 30 ซีซีต่อหนึ่งรอบเดือน และมานานคือ นานเกิน 1 สัปดาห์ คุณผู้หญิงบางท่านโดยเฉพาะวัยใกล้หมดประจำเดือนคิดว่าการที่ประจำเดือนมามากเป็นเรื่องธรรมดาซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดถนัด

“ด้วยประจำเดือนที่มามากนี้ นอกจากทำให้ซีดหรือมีภาวะโลหิตจางแล้ว ยังเป็นภาวะที่อันตรายถึงแก่ชีวิต ควรไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาจตกเลือดจนเกิดความดันโลหิตตกมาก หัวใจหยุดเต้น หรือที่เรียกว่าช็อก และสาเหตุที่ทำให้เกิดประจำเดือนมามากก็อาจเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต”

โรคที่เป็นสาเหตุให้ประจำเดือนมามาก เช่น ฮอร์โมนผิดปกติอย่างรุนแรง โพรงมดลูกอักเสบอย่างรุนแรง เนื้องอกปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก เนื้องอกเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

ความเครียด ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนมาผิดปกติ
 

ดูแลแบบธรรมชาติ

ถ้ามีอาการประจำเดือนมามากผิดปกติ คุณหมอชัญวลีแนะนำให้พบแพทย์อย่างเร่งด่วน นอกจากนี้เรายังสามารถกินอาหารบำรุงเลือดที่สูญเสียไปจากประจำเดือน

อาหารชีวจิตบำรุงเลือด

อาจารย์สาทิสแน่ะนำอาหารบำรุงเลือดตามแนวทางชีวจิตไว้ ดังนี้

“อาหารชีวจิตนั้นป้องกันโรคโลหิตจางหลายโรคหลายแบบได้ เลือดหรือเม็ดเลือดของเรานั้นเป็นโปรตีน ฉะนั้นอาหารที่ช่วยบำรุงเลือดก็ต้องเป็นอาหารหนักไปทางโปรตีน ซึ่งโปรตีนบำรุงเลือดนั้นจะเป็นโปรตีนจากเนื้อสัตว์ จึงแนะนำให้กินปลาทะเลและอาหารทะเลเป็นครั้งคราว

“นอกจากนั้นยังต้องให้ความสำคัญต่อเฮโมโกลบินซึ่งมีองค์ประกอบเป็นโปรตีนและธาตุเหล็ก ร่างกายต้องรักษาให้มีสัดส่วนพอเหมาะ หากมีน้อยเกินไปเลือดจะจาง อาหารสูตรชีวจิตสำหรับคนเป็นโลหิตจางคือ สูตรให้ลดข้าว เพิ่มผักและเพิ่มโปรตีนให้มากขึ้น โดยลดข้าวให้เหลือ 30 เปอร์เซ็นต์ ผักเพิ่มเป็น 35 เปอร์เซ็นต์ โปรตีนเพิ่มเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ และกินปลาสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ส่วนเบ็ดเตล็ดพวกผลไม้ ซุป ถั่วกินเล่น คงเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ตามเดิม

“ในขณะเดียวกันอาจเลือกเน้นอาหารที่มีธาตุโฟลิกแอชิดและวิตามินบี 12 ได้แก่ หอย ปลา ถั่วต่างๆ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโอ๊ต แครอต แคนตาลูป ฟักทอง อะโวคาโด ผลไม้แห้ง ลูกพีช อินทผลัม กล้วยตาก จมูกข้าวสาลี”

วิตามินบำรุงเลือด

นอกจากนี้อาจารย์สาทิสยังแนะนำกลุ่มวิตามินที่ช่วยบำรุงเลือด ได้แก่

กรดโฟลิก วันละ 400 ไมโครกรัม
วิตามินบี ขนาด 100 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด
วิตามินบี 12 ขนาด 500 ไมโครกรัม วันละ 1 เม็ด
วิตามินบี 6 วันละอย่างน้อย 100 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม ขนาด 100 – 200 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด
แคลเซียม ขนาด 200 – 300 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด

การกินวิตามินควรกินจนรู้สึกว่าอาการทุกอย่างดีขึ้น ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4 – 6 สัปดาห์

(ที่มา : คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 502)


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

มีประจำเดือนเร็ว ใครบอกไม่อันตราย ต้องเข้าใจและดูแลตนเองให้พร้อม

เช็กสัญญาณอันตรายจาก ประจำเดือนผิดปกติ ก่อโรคร้าย อันตรายถึงชีวิต

ปวดท้องประจำเดือน อย่าละเลย! อาจเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คิด

© COPYRIGHT 2023 Amarin Corporations Public Company Limited.