ช็อปปิ้ง, นักช็อป, โรค, หูเสื่อม, ไข้หวัดใหญ่, วัณโรค

5 โรคเสี่ยง ของสาวนัก ช็อปปิ้ง

อเสื่อม เอ็นเสื่อม นิ้วล็อก

นอกจากการให้คำแนะนำเรื่องอาการป่วยของฉันแล้ว เมื่อคุณหมอหันมาเห็นกระเป๋าสะพายใบใหญ่และรองเท้าส้นสูงสุดเปรี้ยวของฉันที่ใส่มาในวันนี้ ก็อดเตือนต่อไปไม่ได้ว่า

“ถ้าเดินช็อปปิ้งเป็นประจำต้องระวังอย่าเดินนานเกินไป รองเท้าส้นสูงแบบนี้ไม่เหมาะ กระเป๋าที่หนักเกินไปก็ไม่เหมาะ เพราะนอกจากจะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าแล้ว การที่น้ำหนักต้องทิ้งลงไปตามแรงโน้มถ่วงของโลกยังกระทบต่อกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะข้อเข่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ทำให้เกิดปัญหาข้อเสื่อม

“นอกจากนี้การหิ้วถุงช็อปปิ้งใส่ของที่มีน้ำหนักมากเป็นเวลานานๆ เสี่ยงต่อการเกิด พังผืดที่ข้อมือ ทำให้เอ็นที่บริเวณมือเสื่อม และอาจทำให้นิ้วล็อกได้ด้วย”

  • พฤติกรรมช็อปเสี่ยงป่วย : เดินช็อปปิ้งต่อเนื่องมากกว่า 3 ชั่วโมง และสวมรองเท้าที่สูงเกินไป ไม่เหมาะกับสรีระเท้า หรือไม่สามารถรองรับน้ำหนักตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะพายกระเป๋าหรือหิ้วถุงสินค้าซึ่งมีน้ำหนักมาก ทำให้การรับน้ำหนักของร่างกายด้านซ้ายและด้านขวาไม่สมดุล
  • ทางออก : ควรหาเวลานั่งพักทุกชั่วโมง โดยเหยียดขา กระดกข้อเท้าขึ้น – ลงสลับกัน เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย หรือเปลี่ยนรองเท้า ให้เป็นแบบที่เดินสบาย เปลี่ยนข้างสะพายกระเป๋าบ้าง เพื่อทำให้น้ำหนักสมดุล ถ้าใช้เป็นเป้สะพายหลังหรือกระเป๋าลากจะดีกว่าหิ้ว
ไข้หวัดใหญ่, ช็อปปิ้ง, โรคไข้หวัดใหญ่, ไข้หวัด, สุขภาพอนามัย
ไข้หวัดใหญ่ ส่วนใหญ่จะเกิดการติดเชื้อจากการสัมผัสมากกว่าการหายใจ

ไขหวัดใหญ่

คุณหมอสุวินัยยังบอกต่อ อีกว่ายังมีโรคในระบบทางเดินหายใจอีกโรคหนึ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

“อีกโรคหนึ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับนักช็อปคือ ไข้หวัดใหญ่ รวมถึงไข้หวัดต่างๆ ด้วย เพราะเชื้อไวรัสเป็นเชื้อที่ติดต่อได้ง่าย สำหรับที่ที่มีคนแออัดเยอะๆ อาจเป็นไปได้ที่มีผู้ที่มีเชื้ออยู่มาก เชื้อโรคก็มากตามไปด้วยทำให้เปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงในการติดเชื้อก็ง่ายขึ้นด้วย เชื้อหวัดแม้ว่า เมื่อออกมาสัมผัสกับอากาศจะอยู่ได้ไม่นาน แต่เมื่ออยู่ในที่อับ ที่ชื้น เช่น ห้องน้ำ ก็จะอยู่นานขึ้น

“ส่วนใหญ่จะเกิดการติดเชื้อจากการสัมผัสมากกว่าการหายใจ อย่างถ้ามือเราไปสัมผัสโดนน้ำมูกของผู้ป่วยที่เขามาสัมผัสบริเวณต่างๆ ไว้ก็เสี่ยงติดโรคได้”

ข้อมูลจากคุณหมอสอดรับกับหนังสือ Why We Buy ที่ฉันเคยอ่าน ซึ่งกล่าวถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคว่าก่อ่นตัดสินใจซื้อ ใครๆ ก็อยากสัมผัสสินค้าด้วยกันทั้งนั้น เพราะอยากรู้ว่าสินค้าที่จะซื้อนั้นมีคุณภาพอย่างไร และให้ความรู้สึกอย่างไร

แล้วคุณหมอสุวินัยก็อธิบายในสิ่งที่ฉันกำลังคิดถึงอยู่พอดีว่า

“เชื้อหวัดมักจะเข้าสู่ร่างกายได้จากการสัมผัส ดังนั้นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือการลองเสื้อผ้า เพราะถ้ามีคนลองก่อนเราแล้วทิ้งเชื้อหวัดติดไว้ที่เสื้อผ้า แล้วเราไปลองต่อ เมื่อลองเสร็จ หากไม่ได้ล้างมือแล้วมาหยิบขนมกินหรือ มาจับหน้าจับตา เราเองมีโอกาสติดโรคได้ ร้ายกว่านั้น เชื้อโรคในกลุ่มหวัดยังมีโอกาสที่จะติดอยู่ตามโต๊ะ – เก้าอี้ก็ได้”

  • พฤติกรรมช็อปเสี่ยงป่วย : การลองสินค้า โดยเฉพาะเสื้อผ้า เครื่องสำอางต่างๆ เช่น ลิปสติก แป้ง ที่จะต้องมาสัมผัสบริเวณผิวหน้าที่ใกล้กับระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ
  • ทางออก : ในช่วงที่มีการระบาดควรสวมหน้ากากอนามัยเมื่อไปช็อปปิ้ง ควรพกเจลล้างมือเพื่อใช้ทำความสะอาดมือทันทีที่ไปสัมผัสสิ่งของใดๆ หลังจากลองเสื้อผ้า ต้องดูด้วยความระมัดระวังว่ามีคราบเลอะเทอะหรือไม่ และเมื่อลองเสร็จต้องล้างมือทุกครั้ง และสุดท้าย ต้องใส่ใจเรื่องความสะอาดของห้องน้ำในสถานที่ที่ไปช็อปปิ้งด้วย

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.