แพ้อาหาร-อาการคัน

รู้หรือไม่? “ภูมิแพ้อาหารแฝง” กับ “แพ้อาหาร” ไม่เหมือนกัน

รู้หรือไม่? “ภูมิแพ้อาหารแฝง” กับ “แพ้อาหาร” ไม่เหมือนกัน

หลายคนเข้าใจผิดว่า “ภูมิแพ้อาหารแฝง” กับ “อาการแพ้อาหาร” นั้นคืออาการเดียวกัน แต่ที่จริงแล้วทั้งสองอาการมีความแตกต่างกัน ดังนั้นวันนี้เรามาทำความเข้าใจความแตกต่างของสาเหตุและอาการกันดีกว่า เพื่อเป็นการเริ่มต้นดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม กับสาระความรู้ดี ๆ จาก ห้องปฏิบัติการ บริษัท เนชั่นแนล เฮล์ทแคร์ ซิสเท็มส์ จำกัด (N Health)

หากพูดถึงการแพ้อาหาร ส่วนใหญ่จะนึกถึงอาการที่มีผื่นคันขึ้นตามตัว หายใจไม่ออก บวมที่ใบหน้า คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อาการแบบนี้เรียกจะว่าการแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน แต่ภูมิแพ้อาหารแฝง คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบย่อยอาหารหลังจากกินอาหารที่แพ้เข้าไป โดยอาการจะไม่รุนแรงเหมือนเวลาแพ้อาหารที่เกิดขึ้นฉับพลัน แต่จะสร้างความรำคาญให้กับคนที่มีอาการ ซึ่งทั้งสองอาการมีความแตกต่างกัน

แพ้อาหารทะเล

“อาการแพ้อาหาร” เกิดจากสิ่งที่รับประทานเข้าไปนั้นได้ไปกระตุ้นระบบภูมิต้านทานชนิด IgE ให้ทำงานเกินกว่าปกติ ทำให้ร่างกายเข้าใจว่าสิ่งที่รับประทานเข้าไปเป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงแสดงอาการแพ้เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน แม้ว่าจะรับประทานเพียงเล็กน้อยก็มีผลได้

ขณะที่ “ภูมิแพ้อาหารแฝง” ร่างกายจะสร้างสารภูมิต้านทานชนิดอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ทำปฏิกริยากับอาหารที่แพ้ หากรับประทานในปริมาณเล็กน้อยก็อาจไม่ส่งผลกระทบอะไร และส่วนใหญ่ผู้มีอาการจึงมักไม่รู้ว่าตัวเองแพ้อาหารแฝงชนิดไหน นอกจากนี้ภูมิแพ้อาหารแฝงจะแสดงอาการช้ากว่าการแพ้อาหารทั่วไป อาจใช้เวลาถึง 48 ชั่วโมงกว่าจะแสดงอาการ

โดยสารภูมิต้านทานชนิดชนิด IgG ที่ร่างกายสร้างขึ้นมานั้นจะค่อยๆ ทำลายเนื้อเยื่อ หรือไปรบกวนระบบภูมิต้านทานทั้งร่างกาย ทำให้แปรปรวนจนร่างกายเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ภูมิแพ้อาหารแฝงเป็นอาการผิดปกติที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันโดยที่เราไม่รู้ตัว และเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ของตัวเอง

สำหรับอาการของภูมิแพ้อาหารแฝง ได้แก่ ท้องอืด หรือมีอาการเหมือนกรดไหลย้อน ท้องผูกสลับกับท้องเสีย ปวดท้อง ปวดไมเกรนเรื้อรัง หรือปวดหัว ไอ คลื่นไส้ มีน้ำมูก รู้สึกไม่สบาย ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย มีผื่นขึ้น เป็นลมพิษ

ภูมิแพ้อาหารแฝง

ทั้งนี้การตรวจหาภูมิแพ้อาหารแฝง สามารถทำได้โดยการตรวจจากเลือด วิธีนี้จะนำเลือดไปตรวจหาสารภูมิต้านทานชนิด อิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ต่อสารแปลกปลอม หรืออาหาร หากภูมิต้านทานตอบสนองต่อสารอาหารที่ทดสอบกว่า 200 ชนิด ก็อาจบอกได้ว่ามีภาวะแพ้อาหารแฝงชนิดใดบ้าง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงอาจไม่ได้ให้ผลแม่นยำ 100% แต่ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยหลีกเลี่ยงอาการผิดปกติของร่างกายได้ ซึ่งหลังจากทดสอบสามารถนำผลที่ได้มาปรับใช้ ในการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ลดอาหารที่ส่งเสริมอาการแพ้ ซึ่งมีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อหยุดอาหารที่ร่างกายต่อต้านไประยะหนึ่ง

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม