รู้หรือไม่? แม้ไม่ได้กินเค็ม แต่ร่างกายก็มีสิทธิ์ได้รับโซเดียม
การดูแลตนเองให้สุขภาพดีนอกจากการออกกำลังกายแล้ว การกินอาหารก็มีผลเป็นอย่างมาก เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินประโยคที่ว่า กินอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เช่น กินเค็ม หรือได้รับปริมาณโซเดียมเข้าร่างกายมากเกินไปก็จะทำให้มีความเสี่ยงเป็น “โรคไต” ได้
คนเรานั้นต้องการปริมาณโซเดียมแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาพของร่างกายแต่ละคน แต่โดยทั่วไปแล้วแล้วสามารถบริโภคโซเดียมสูงสุดโดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอยู่ที่ 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน เทียบง่ายๆ ก็ประมาณเกลือป่นอยู่ที่ 1 ช้อนชาหรือ 6 มิลลิกรัม
อย่างไรก็ตาม โซเดียมไม่ได้มาพร้อมกับความเค็มเสมอไป แม้ว่าเราจะลดความเสี่ยงจากโรคไตด้วยการลดอาหารที่มีรสชาติเค็มแล้ว เราก็ยังมีโอกาสได้รับโซเดียมถ้าหากทานอาหารประเภทเหล่านี้
- เครื่องปรุงรส นอกจากเกลือ น้ำปลา หรือซีอิ๊ว ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้มสุกี้ ก็มีโซเดียมสูง
- อาหารแปรรูป อย่างแฮม เบคอน ขนมกรุบกรอบ ผลไม้กระป๋อง รวมถึงอาหารหมักดอง เช่น ผักกาดดอง หรือไข่เค็ม
- สารปรุงแต่งอาหาร แม้ไม่ได้มีรสชาติเค็ม แต่ก็ทำร้ายไต เช่น ผงฟู สารกันบูด หรือสารกันเชื้อราในขนมปัง
- อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม
-
- 4 ผลเสียจากการทำงานดึก อันตรายกว่าที่คิด แม้สมองแล่นก็ควรนอน
- 10 วิธีหยุดความเหนื่อยล้า หลังเลิกงาน
- การพักผ่อนให้ถูกต้องไม่ใช่เพียงแค่นอน อะไรคือการพักผ่อนที่แท้จริง
- เคล็ดลับดีๆให้นอนหลับสนิทตลอดคืน พร้อมตื่นมาอย่างสดชื่น ให้คุณเป็นคนใหม่ได้ในทุกๆวัน
- 4 เคล็ดลับรับมืออาการ ‘เครียดแล้วชอบกิน’ จะได้ไม่เครียดเพราะน้ำหนักขึ้น
- 10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ โรคไมเกรน อาการปวดหัวที่คอยกวนใจคนวัยทำงาน
- วิธีคลายเครียด หลังเลิกงาน เคล็ดลับของคนวัยทำงานตามแบบฉบับญี่ปุ่น