คนผอมก็หนักใจ! เพราะ “กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน” อาจไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป
คนที่ผอมและมีความสุขกับการกิน เพราะ “กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน” ฟังดูแล้วเหมือนจะเป็นเรื่องดีและเป็นเรื่องที่หลายคนอิจฉา แต่ความจริงนั้นเป็นอาจปัญหาและกลายเป็นข้อเสียมากกว่าข้อดี เพราะลักษณะแบบนี้เป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่าง
สำหรับสาเหตุของคนที่กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน อย่างเช่น ร่างกายมีระบบเผาผลาญดี ไม่ว่าจะเป็นการย่อยอาหาร การดูดซึมสารอาหาร และการนำพลังงานไปใช้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบางอย่าง นั่นก็คือรูปแบบการใช้ชีวิตที่ต้องใช้พลังงานปริมาณมากอยู่เสมอ ทำให้พลังงานที่กินเข้าไปนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
ส่วนที่บอกว่า “กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน” อาจเป็นปัญหานั้น เพราะว่ามีโรคภัยไข้เจ็บบางอย่างที่สอดคล้องกับลักษณะนี้ นั่นก็คือ
- ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
หากต่อมไทรอยด์ทำงานหนักและหลั่งฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานหนักตามไปด้วย ส่งผลให้ประสบปัญหากินแล้วไม่อ้วน น้ำหนักขึ้นยาก น้ำหนักตัวลดโดยไม่มีสาเหตุ เพราะว่าต่อมไทรอยด์นั้นทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมฮอร์โมนไทร็อกซิน ที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ - ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้
หากระบบทางเดินอาหารและลำไส้เกิดความผิดปกติ ก็อาจส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหารที่จะนำไปเป็นพลังงานของร่างกาย จึงไม่แปลกถ้าใครเป็นเกี่ยวกับลำไส้แล้วจะพบปัญหากินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนหรือปัญหาการเพิ่มน้ำหนัก - โรคเรื้อรัง
โรคเรื้อรังหลายโรคสามารถส่งผลให้สุขภาพร่างกายทรุดโทรมจนอาจเป็นเหตุให้น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน หรือประสบปัญหาการเพิ่มน้ำหนัก เช่น มะเร็ง เอชไอวี วัณโรค และปอดอุดกั้นเรื้อรัง
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม
-
- โหมงานหนัก พักผ่อนน้อย สุดท้ายแล้วอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย
- รู้หรือไม่? แม้ไม่ได้กินเค็ม แต่ร่างกายก็มีสิทธิ์ได้รับโซเดียม
- การพักผ่อนให้ถูกต้องไม่ใช่เพียงแค่นอน อะไรคือการพักผ่อนที่แท้จริง
- เคล็ดลับดีๆให้นอนหลับสนิทตลอดคืน พร้อมตื่นมาอย่างสดชื่น ให้คุณเป็นคนใหม่ได้ในทุกๆวัน
- 4 เคล็ดลับรับมืออาการ ‘เครียดแล้วชอบกิน’ จะได้ไม่เครียดเพราะน้ำหนักขึ้น
- 10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ โรคไมเกรน อาการปวดหัวที่คอยกวนใจคนวัยทำงาน
- วิธีคลายเครียด หลังเลิกงาน เคล็ดลับของคนวัยทำงานตามแบบฉบับญี่ปุ่น