อาการกรดไหลย้อน
อาการกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease – GERD) รู้จักกันทั่วไปว่าอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ (Heartburn) เกิดจากเอนไซม์และกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนผ่านหูรูดส่วนกลางของหลอดอาหาร ซึ่งกล้ามเนื้อส่วนนี้จะทำงานโดยการบีบตัวหรือคลายตัวป้องกันไม่ให้เกิด อาการกรดไหลย้อน
หากกล้ามเนื้อส่วนนี้คลายตัวผิดเวลาก็จะทำให้สิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนออกมา ทำให้ผนังหลอดอาหารอักเสบเป็นแผล หากเกิดขึ้นเป็นเวลานาน กรดจะทำลายเนื้อเยื่อส่วนของหูรูดและผนังหลอดอาหารอย่างถาวร และอาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งในที่สุด
กรดไหลย้อนเกิดขึ้นเมื่อหูรูดระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหารอ่อนแอ ความดันระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหารไม่สม่ำเสมอ เมื่อความดันในกระเพาะอาหารสูงเกินไป หรือความดันในหลอดอาหารต่ำเกินไป หูรูดจะคลายตัว กระในกระเพาะอาหารจะไหลย้อนคืนหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาหารระคายเคืองจากกระเพาะอาหารสู่ลำคอ จึงรู้สึกเปรี้ยวในคอและขมในปาก นอกจากนี้สิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารจะถูกดันขึ้นสู่หลอดอาหารและหลอดลม อาจทำให้เกิดอาการหอบหืดไอเรื้อรัง ไซนัสบวม ปวดบวม แน่นหน้าอก เสียงแหบ และหายใจขัด
สาเหตุของอาการกรดไหลย้อน
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด โรคอ้วน ตั้งท้อง วัยหมดประจำเดือน กรรมพันธุ์ ไลฟ์สไตล์ที่ไม่ดี สูบบุหรี่ ร่างกายอ่อนแอ ทำให้ความดันในช่องท้องสูงขึ้น ดันอาหารย้อนกลับผ่านหูรูด ทำให้หลอดอาหารถูกทำลายและอักเสบ
- เอนหลังนอนหลังอาหารทันที
- การซื้อยาลดกรดกินเองทำให้อาการแย่ลงได้ ส่งผลให้ระบบย่อยทำงานลดลง นอกจากนี้สารโลหะหนักที่มีอยู่ในยาบางชนิดอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบประสาทได้
- กินอาหารมื้อใหญ่และบ่อยเกินไป คนเป็นจำนวนมากมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับกรดไหลย้อนว่า ถ้าดื่มนมก่อนนอนจะบรรเทาอาอาการกรดไหลย้อน แต่บ่อยครั้งกลับทำให้เกิดอาการระหว่างที่หลับ หากกินอาหารเย็นมากไป ทำให้กระเพาะอาหารต้องหลั่งกรดออกมามาก การดื่มนมอาจช่วยป้องกันกรดไหลย้อนในช่วงเวลานั้นๆ แต่นมจะมีผลทำให้กระเพาะหลั่งกรดมากขึ้นในเวลาต่อมา และทำให้เกิดอาการได้ หากกินอาหารก่อนนอนควรเป็นอาหารว่างปริมาณน้อยๆ
ป้องกันอาการกรดไหลย้อน
- ลดน้ำหนักถ้ามีภาวะอ้วน
- งดกินอาหารไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงก่อนนอน ควรพยายามกินอาหารเย็นเร็วขึ้นและไม่กินมากเกินไป
- เลี่ยงหมากฝรั่งและลูกอม เพราะจะทำให้กลืนลมเข้าไปมากขึ้น ทำให้เรอและเกิดการกรดไหลย้อนของอาหารได้
- นอนดึกเกินไป นอนไม่พอ หรือนอนมากไป เวลาที่นอนกรดจะไหลย้อนคืนสู่หลอดอาหารได้ง่าย
- หยุดสูบหรี่ เพราะนิโคตินทำให้กล้ามเนื้อหลอดอาหารช่วงล่างอ่อนแอ
- ไม่ใส่เสื้อผ้าคับรัดมากเกินไป
- กินอาหารมื้อเล็กๆ วันละหลายมื้อและหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เค็มจัด อาหารทอด อาหารไขมันสูง ขนมหวาน อาหารที่ใส่เปปเปอร์มินต์ นมไขมันเต็ม ช็อกโกแลต อาหารที่มีครีม อาหารฟาสต์ฟู้ด รวมถึง ชา กาแฟ น้ำอัดลด ส้ม น้ำส้ม สับปะรด มะเขือเทศ ให้เลี่ยงเป็นวิตามินซีเม็ดแทน เพราะอาจระคายเคืองกับหลอดอาหารส่วนล่าง
- ก่อนนอนฝึกการหายใจเข้าออกลึกๆ จะทำให้ระบบประสาททำงานดีขึ้น และช่วยป้องกันกรดไหลย้อน
- เวลานอนยกศีรษะสูงขึ้น 6-8 นิ้ว เพื่อป้องกันอาการกรดไหลย้อน
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทำให้หูรูดหลอดอาหารคลายตัว เกิดกรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้น ถ้าจำเป็นต้องดื่ม ไม่ควรดื่มก่อนเข้านอนน้อยกว่า 3 ชั่วโมง และไม่ควรนอนราบ
อาหารบรรเทาอาการกรดไหลย้อน
- นมไขมันต่ำ โยเกิร์ตไขมันต่ำ
- ผักสีเขียว ยกเว้นมะเขือเทศ และผักไม่ควรนำไปทอด หรือชุบแป้งทอด
- แอปเปิ้ล กล้วย เมล่อน เว้น ส้มและสัปปะรด
- ขนมปังไม่ขัดสี ธัญพืช
- เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไก่ ปลา เว้น เนื้อสัตว์แปรรูปพวกไส้กรอก กุนเชียง
- ชาสมุนไพรไม่ใส่มินต์ น้ำเปล่า เครื่องดื่มที่ไม่มีกาเฟอีน น้ำผลไม้ เว้นน้ำส้ม
ข้อมูลจากหนังสือกินป้องกันโรค เขียนโดย ศัลยา คงสมบูรณ์เวช ผู้เชี่ยวชาญ