กระเทียม วัตถุดิบคู่ครัวไทย
วันนี้แอดขอนำเกร็ดความรู้ของ กระเทียม ประโยชน์และสรรพคุณทางยา ที่คุณอาจไม่เคยรู้ มาฝากกันครับ หลายคนคงรู้จักกับวัตถุดิบช
มารู้จักกับเจ้ากระเทียมกันเสียก่อน…
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Allium sativum L. ชื่อสามัญ Garlic ชื่อวงศ์ Alliaceae
เป็นไม้ล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน ความสูงของต้นประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร มีใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะแคบและยาว ปลายใบแหลม มีสีเขียวแก่ ออกดอกเป็นช่อ มีสีขาวหรือสีชมพู(แล้วแต่สายพันธุ์) เป็นพืชที่ชอบอากาศหนาว ขยายพันธุ์ด้วยหัว โดยนำกลีบกระเทียม ไปแช่ในน้ำแล้วนำไปปลูกต่อ
🌸 “กระเทียม” สำหรับคนไทยแล้ว ถูกใช้มายาวนานตั่งแต่สมัยโบราณ ปลูกตามบ้านเรือน นิยมนำไปประกอบอาหาร ใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี หรือรับประทานกันสดๆ หรือเสิร์ฟเป็นเครื่องเคียง…
🍀 ในกระเทียมมีสารที่ทำให้ส่งกลิ่นแรง นั่นคือ “สารอัลลิซิน” และ “สารสคอร์ดินิน” เจ้าสาร 2 ชนิดนี้แหละครับที่มีสรรพคุณช่วยป้องกันเลือดแข็งตัวเป็นก้อน ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด และป้องกันไม่ให้ไขมันจับตัวในเส้นเลือด จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นสมุนไพรไทยที่มากสรรพคุณทางยานั่นเอง…
สรรพคุณทางยาโบราณ
- ใบของกระเทียมมาต้มกับน้ำ มีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ไล่ลมในกระเพาะ ลดอาการแน่นท้อง และอาการจุกเสียดท้องได้
- หัวกระเทียม กินสดๆ หรือนำมาประกอบอาหาร มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หากนำมาทุบให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อย ใช้ล้างแผลสดได้ มีสรรพคุณป้องกันแผลอักเสบเป็นหนอง
- นำหัวกระเทียมสดมาทุบแล้วคั้นเฉพาะน้ำ ใช้ดื่มช่วยขับลมในกระเพาะ ขับพยาธิ แก้ท้องอืดได้ดี
- ถอนพิษจากแมลงกัดต่อย โดยนำมาทุบให้ละเอียด จากนั้นนำมาประคบบริเวณที่ถูกกัดต่อย หรือใช้ทาผิวหนังรักษากลากเกลื้อน
คุณค่าทางอาหารของกระเทียม
กระเทียมมีสารอาหารหลากหลายชนิด มีวิตามินบีรวมที่ช่วยบำรุงระบบประสาท บำรุงกล้ามเนื้อ บำรุงเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ มีวิตามินเอ ที่ช่วยบำรุงสายตา วิตามินซีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ผิวกระชับเต่งตึง อีกทั้งยังรักษาอาการเลือดออกตามไรฟันได้ดีอีกด้วย
ในกระเทียมมีแร่ธาตุมากมายที่จำเป็นต่อร่างกาย อาทิ ธาตุเหล็กช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต มีแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ซีลีเนียมช่วยในการบำรุงเซลล์ส่วนต่างๆตามอวัยวะภายในร่างกาย มีแมกนีเซียมที่ช่วยในเรื่องระบบเผาผลาญของร่างกาย ลดกรดในกระเพาะอาหาร และรักษาสมดุลการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน
ประโยชน์และสรรพคุณทางยาโบราณ
1.นำใบของกระเทียมมาต้มกับน้ำ มีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ไล่ลมในกระเพาะ ลดอาการแน่นท้อง และอาการจุกเสียดท้องได้
2.หัวกระเทียม กินสดๆ หรือนำมาประกอบอาหาร มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หากนำมาทุบให้ละเอียดผสมน้ำ
3.นำหัวกระเทียมสดมาทุบแล้วคั้นเฉพาะน้ำ ใช้ดื่มช่วยขับลมในกระเพาะ ขับพยาธิ แก้ท้องอืดได้ดี
4.ถอนพิษจากแมลงกัดต่อย โดยนำมาทุบให้ละเอียด จากนั้นนำมาประคบบ
ข้อควรระวังในการรับประทาน
ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร การรับประทานกระเทียมในช่วงการตั้งครรภ์ค่อนข้างปลอดภัยหากรับประทานเป็นอาหารหรือในปริมาณที่เหมาะสม แต่อาจไม่ปลอดภัยหากรับประทานกระเทียมเป็นยารักษาโรค อีกทั้งยังไม่มีช้อมูลที่น่าเชื่อถือเพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการทากระเทียมที่บริเวณผิวหนังในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
เด็ก การรับประทานกระเทียมในปริมาณที่เหมาะสมและในระยะสั้น ๆ อาจปลอดภัยสำหรับเด็ก แต่การใช้กระเทียมทาบริเวณผิวหนังอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนและระคายเคือง
ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือการย่อยอาหาร อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ทางเดินอาหารได้
ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ การรับประทานกระเทียมอาจทำให้ระดับความดันโลหิตลดต่ำลงมากกว่าปกติ
ผู้ที่วางแผนเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานกระเทียมก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์เพราะอาจทำให้เลือดออกมากและส่งผลต่อความดันโลหิตในระหว่างการผ่าตัด และผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติไม่ควรรับประทานกระเทียม โดยเฉพาะกระเทียมสด เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น
ผู้ที่อยู่ในระหว่างการรับประทานยารักษาโรค เช่น ไอโซไนอะซิด เพราะกระเทียมอาจลดการดูดซึมของยาในร่างกายและส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของยา รวมถึงไม่ควรรับประทานกระเทียมในระหว่างใช้ยาดังต่อไปนี้
- ยารักษาการติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์
- ยาคุมกำเนิด
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- ยาต้านเกล็ดเลือด
ขอบคุณข้อมูลจาก