การใช้นำมันหอมระเหย

การใช้น้ำมันหอมระเหย (AROMATHERAPY) ลดเครียด ลดอ้วน

พูดถึงกลิ่นหอม ใคร ๆ ก็ชอบ แล้วถ้าเป็นกลิ่นหอมที่มาพร้อมประโยชน์ ต่อสุขภาพอีกก็ยิ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ชีวจิต จะพาไปสำรวจคุณสมบัติ ของ “การใช้น้ำมันหอมระเหย” ที่มีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะช่วยลดความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล นอกจากร่างกายจะเจ็บป่วยแล้ว ยังทำให้เสี่ยงเป็น โรคอ้วน

ย้อนดูประวัติ การใช้น้ำมันหอมระเหย (อโรมาเทอราปี)

ในวัฒนธรรมสำคัญ ๆ ทั่วโลก เช่น อียิปต์ จีน และอินเดีย ล้วนมี ประวัติการใช้น้ำมันหอมระเหย เพื่อการดูแลสุขภาพมายาวนาน

อียิปต์ – มีหลักฐาน พบว่า ชาวอียิปต์โบราณ ประมาณ 4,500 ปีก่อน คริสตกาล ใช้น้ำมันหอมเหย เมอร์ ยี่หร่า เฟนเนล สนชีดาร์ เมล็ดผักชี และจูนิเปอร์ ในการรักษา สภาพศพ สมานแผล นวดตัว และใช้ทำน้ำหอม บำรุงผิว

จีน – ปรากฎในคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง ซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อ 2,300 ปีก่อน คริสตกาล ระบุว่า  สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ด ช่วยบำรุงปอด กระตุ้นการไหลเวียน ชี่ หรือ “ลมปราณ” ให้กระจายตัวออกสู่ภายนอก ส่งเสริมกาทำงานของระบบปอดในการระบายของเสียออกมาทางผิวหนัง เป็น “เหงื่อ” จนมีคำว่ากล่าวว่า “ฤดูหนาวกินหัวไชเท้า ฤดูร้อนกินขิงสด ไม่ต้องกินยาหรือหาหมอ” และมีการให้น้ำมันหอมระเหยจากไม้จันทน์ รักษาอหิวาตกโรค

อินเดีย – ในตำราอายุรเวท ที่จัดทำขึ้นราว 5,000 ปี ที่แล้ว ระบุถึงการนำพืชสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มาใช้ในการรักษาโรคไว้มากว่า 700 ชนิด เช่น ขมิ้น กะเพรา ไม้จันทน์ กระเทียม สะระแหน่ อบเชย พริกไทย ตะไคร้หอม ยี่หร่า

CAUTION ข้อควรระวังในการใช้

เนื่องจาก น้ำมันหอมระเหย 1 ชนิด อาจมีส่วนประกอบมากกว่า 100 ตัว ซึ่งรวมกันทำให้มีกลิ่น และประโยชน์เฉพาะด้าน ควรใช้น้ำมันหอมระเหยในขนาดที่เหมาะสม ถ้าใช้มากเกินไป จะก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง  ปวดศีรษะ วิงเวียน จึงควรนำมาใช้อย่างระมัดระวัง โดยมีข้อห้าม ดังนี้ 

  • สตรีตั้งครรภ์ ใช้น้ำมันหอมระเหย ครึ่งหนึ่ง ของปกติ
  • เด็กเล็ก ห้ามกินน้ำมันหอมระเหยโดยตรง ห้ามใช้น้ำมันหอมระเหยกับผิวหนังในสภาพที่ยังไม่ได้เจือจาง อาจมีกรณียกเว้นเมื่อใช้ปริมาณน้อย เช่น ลาเวนเดอร์  และทีทรี กรณีการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ห้ามให้โดยตรงกับตา ถ้าเกิดอุบัติเหตุกับตา ให้ล้างด้วยน้ำที่สะอาด 5 นาที ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 15 นาทีให้รีบไปส่งแพทย์
  • ผู้ป่วยโรคลมชัก ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหอมระเหย เฟนเนล ที่มีกลิ่นคล้ายยี่หร่า และฮิลชอป (Hyssop)
  • ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง งดใช้อะนิสฮิลชอป (Anise Hyssop) ที่มีกลิ่นคล้าย มินต์ นิยมใช้เป็น เครื่องเทศ
  • ระหว่างดื่มแอลกอฮอร์ งดใช้เสจ
  • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ห้ามใช้ โรสแมรี่ ฮอปส์ และ ไธม์
  • ผู้ป่วยหอมหืด ห้ามสูดดม น้ำมันหอมระเหย ที่หยดในน้ำร้อน เพราะ อาจจะทำให้หายใจลำบาก

เรื่อง ศิรกร โพธิจักร ภาพจาก Pixabay

ชีวจิต 533 – ฉบับพิเศษ 100 วิธี กิน อยู่ หยุดอ้วนถาวร

นิตยาสารรายปักษ์ ปีที่ 23 : 16 ธันวาคม 2563

– – –  – – – – –  – – – – –  – – – –  – – – –  – – –  – – –  – – –  – – –  – –  – –

บทความน่าสนใจอื่นๆ

CHECK กันก่อน เพราะ IF อาจไม่เหมาะสมกับทุกคน

รู้จักการกินแบบ IF (GET TO KNOW INTERMITTENT FASTING)

WEIGHT-LOSS STORY แพทย์แผนไทย ลดน้ำหนัก ได้อย่างไร?

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.