การดูจิต ในการปฏิบัติธรรมคืออะไร หลายคนยังเกิดความสงสัยและยังไม่เข้าใจถึงหลักปฎิบัติ
อาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า การดูจิต คือ การตามสังเกตความคิดของเราไปเรื่อยๆ ว่าแต่ละขณะจิตกำลังคิดอะไร เมื่อตามดูเช่นนี้ไปจนถึงที่สุดแล้วจะพบว่า ไม่ว่าจิตจะคิดเรื่องอะไรก็ตาม ในที่สุดความคิดเหล่านั้นจะดับหรืออนัตตาไป
การดูจิต คือหนึ่งในสี่วิธีพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามหลัก สติปัฏฐานสี่ อันได้แก่ การตามดู กาย เวทนา จิต และ ธรรม
กาย คือการตามสังเกตความเป็นไปในสภาวะของร่างกาย เวทนา คือการตามสังเกตความเป็นไปในความสุข ความทุกข์ และความไม่สุขไม่ทุกข์ จิต คือการตามสังเกตจิตที่รับกระทบแล้วว่า เมื่อรับกระทบดี อารมณ์จะดี และเมื่อกระทบไม่ดี อารมณ์ก็จะไม่ดี และ ธรรม คือการตามสังเกตว่าธรรมข้อใดกำลังปรากฏขึ้น จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง เป็นสิ่งไม่เที่ยง ทุกขัง แปรเปลี่ยน
เนื่องจากมีเกิด – ดับ และ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน เมื่อตามสังเกตกาย เวทนา จิต ธรรม จนเห็นว่าดำเนินไปตามนี้แล้ว ปัญญาเห็นแจ้งจะเกิดขึ้น
เหตุที่พุทธศาสนาสอนให้ตามดูสิ่งต่างๆ อย่างนี้ก็เพราะกาย เวทนา จิต ธรรม คือสิ่งที่เราจะสามารถตามสังเกตได้ชัดเจนที่สุด
แล้วใน การดูจิต เราต้องตามสังเกตไหมคะว่าขณะนี้จิตกำลังทำหน้าที่ใดอยู่ ระหว่างเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ไม่ต้อง เพียงแต่ใช้จิตที่ตั้งมั่นตามดูอารมณ์ของจิตในทุกๆ อิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถใหญ่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน หรืออิริยาบถย่อย คือ กิน ดื่ม พูด ฟัง ว่าในทุกๆ อิริยาบถ อารมณ์ของจิตเป็นอย่างไร เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น หากเราตามดูไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเห็นมันดับไปแล้ว จะเห็นว่าอารมณ์ไม่ใช่ตัวตน จิตจึงปล่อยวางได้ ปัญญาเห็นแจ้งในเรื่องนั้นๆ จึงเกิดขึ้น
ที่สำคัญก็คือ ผู้ที่ยังไม่ชำนาญต้องใช้จิตที่ตั้งมั่นระดับจวนแน่วแน่ เป็นอุปจารสมาธิเท่านั้น จึงจะดูเห็นความเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ ถ้าตั้งมั่นในระดับที่ต่ำกว่านี้คือขณิกสมาธิจะดูไม่เห็น หรือสูงกว่านี้คือเป็นอัปปนาสมาธิ ก็ดูไม่ได้ เพราะจิตไม่รับกระทบสิ่งภายนอก อารมณ์จึงไม่เกิด
แล้วในชีวิตประจำวันที่เราไม่ได้มี จิตตั้งมั่นระดับอุปจารสมาธิ เราจะตามดูจิตได้อย่างไร
การดูจิต ต้องมีสติสัมปชัญญะระลึกรู้เท่าทันความคิด รู้ว่าสิ่งไหนดีแล้วทำและรู้ว่าสิ่งไหนไม่ดีแล้วไม่ทำ แต่คนส่วนใหญ่มักจะตกเป็นทาสของความคิด เนื่องจากจิตไม่ค่อยมีสติสัมปชัญญะ จึงเสี่ยงต่อการไปเกิดเป็นสัตว์อยู่ในอบายภูมิ เพราะความคิดที่ไม่ดีจะกลายเป็นบาปสั่งสมอยู่ในจิต นักวิจัยในต่างประเทศเขาทำการวิจัยออกมาแล้วว่า คนส่วนมากมีสติเพียงร้อยละเจ็ดเท่านั้น ด้วยเหตุนี้การฝึกจิตให้มีสติจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก
หมายความว่าความคิดต่างๆ เกิดขึ้นก็เพราะเราขาดสติ
ถูกต้องเลย อารมณ์เกิดขึ้นเมื่อไร ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ดี หรืออารมณ์ไม่ดี แปลว่าขณะนั้นเราไม่มีสติ เพราะถ้ามีสติ จิตจะเห็นอารมณเ์ป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ ความคิดจะเกิดขึ้นแล้วดับทันที ผู้มีสติมากจึงดูเหมือนว่าจิตจะปราศจากความคิดเพราะจิตจะปล่อยวางความคิดอยู่ทุกขณะตื่น
ถ้าจิตว่างแล้วเราจะทำงานได้อย่างไร
ต้องทำจิตว่างเฉพาะเวลาที่ไม่มีการงานภายนอกให้ทำ ไม่มีหน้าที่ คิด พูด ทำอะไร และไม่ต้องเข้ามาร่วมกับสังคมเท่านั้น แต่ถ้าต้องทำงานให้สังคมเมื่อไร จิตต้องไม่ว่าง จึงจะทำงานได้ และในขณะเดียวกันต้องใช้สติสัมปชัญญะระวังไม่ให้คิดไปในทางที่เป็นอกุศลด้วย
งานของมนุษย์มีอยู่สองเรื่อง คือ หนึ่ง งานภายนอกที่ทำให้แก่สังคม และสอง งานภายในคือการพัฒนาจิตของตนเองให้ว่างด้วยการใช้ปัญญาเห็นแจ้งตามดูผัสสะตามกฎไตรลักษณ์
แล้วต้องทำอย่างไรจึงจะไม่คิดและทำจิตให้ว่าง
คำตอบคือ ต้องไปฝึกจิตให้มีสติตลอดทุกขณะตื่นนั่นเอง
หากผู้อ่านมีปัญหาหนักใจ ต้องการคำแนะนำแฝงด้วยแนวคิดทาง
บทความน่าสนใจ
ปลายปีนี้ (ธันวาคม 2559) ไปปฏิบัติธรรม ที่ไหนกันดีนะ
พักกาย ผ่อนใจ ที่สวนธรรมเรือนธรรม จ.นครราชสีมา
Q : มีอาการจิตตกทุกครั้งที่ลูกดื้อ ทำอย่างไรดี