ถั่วพู เป็นพืชผักสวนครัวที่คนไทยรับประทานมายาวนาน มักปลูกไว้บริเวณบ้านเรือน มักลวกจิ้มกับน้ำพริก นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณและประโยชน์ดีๆอีกมากมายมาดูกันเลย
ทำไมคนคนไทยถึงเรียก…ถั่วพู
ที่มาของคำว่า “พู” นั้นถูกเรียกมาแต่โบราณ เป็นชื่อเรียกของสิ่งที่มีลักษณะนูนออกมา เช่น พูทุเรียน” จากความหมายดังกล่าวแสดงว่าคนไทยมองฝักถั่วพูว่ามีพู จึงนำมาตั้งเป็นชื่อของถั่วชนิดนี้ แต่สำหรับชาวต่างชาติจะมองว่ามันมีลักษณะเป็นปีก จึงเป็นที่มาของชื่อ “Winged bean” นั่นเอง
ประโยชน์ของถั่วพู
- การกินถั่วพู มีกากใยอาหารสูง ช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ ทำให้ท้องไม่ผูก ขับถ่ายคร่อง
- ช่วยบำรุงกำลัง สำหรับคนที่มีอาการอ่อนเพลียหรืออ่อนล้า การรับประทานฝักอ่อนหรือจะนำเมล็ดแก่ไปตากแห้งมาบดแล้วชงกับน้ำร้อนเพื่อดื่มก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ช่วยให้สดชื่นขึ้น เป็นการเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นได้
- มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณสูง ช่วยให้ฟันแข็งแรงขึ้น และดีต่อการบำรุงกระดูก
- มีวิตามินซี ซึ่งช่วยลดไข้ แก้ร้อนใน อีกทั้งยังเป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็น จะช่วยคลายอาการครั่นเนื้อครั่นตัว และยังสามารถแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียนได้ดี
- เป็นยอดอาหาร ที่มีความเหนือกว่าพี่น้องตระกูลถั่วทั้งหลาย มีประโยชน์มาก และยังเป็นพืชเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถนำมารับประทานได้แทบทุกส่วนของต้น
- มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคมะเร็ง มีคุณสมบัติช่วยลดการแบ่งเซลล์ของมะเร็ง และป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง
- มีใยอาหารสูง หากนำมารับประทานไม่ว่าจะเป็นแบบดิบ ช่วยให้การขับถ่ายสะดวก
- ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม หากรับประทานถั่วพูเป็นประจำจะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมเพื่อนำไปใช้ได้มากถึง 40-50% เพราะในถั่วพูมีสารขัดขวางกระบวนการดูดซึมที่ต่ำนั่นเอง ซึ่งนอกจากการดูดซึมแคลเซียมที่ทำได้ดีแล้ว ย่อมส่งผลทำให้กระบวนการดูดซึมสารอาหารชนิดอื่นๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีกด้วย
สรรพคุณทางยาโบราณ
- ตำรายาโบราณ ว่าให้นำเมล็ดถั่วพลูมาต้มโดยคัดเอาเฉพาะเมล็ดแก่สีน้ำตาลเข้มจะรับประทานเมล็ดที่ต้มสุกเลยก็ได้ หรือนำเมล็ดที่ต้มสุกมาบดให้ละเอียดผสมน้ำสุกดื่มก่อนอาหาร 3 เวลา จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงเพิ่มกำลังวังชา
- ราก แก้โรคลมพิษกำเริบ ดีฟุ่ง ทำให้คลั่งเพ้อ ปวดท้อง ถั่วพูใช้รักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด
- หัว นำไปเผา หรือนึ่งกิน ช่วยบำรุงกำลังสำหรับคนป่วยหนัก หรือผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลีย และยังแก้ร้อนใน กระหายน้ำได้อีกด้วย
- เมล็ดแก่ นำไปตากแห้ง บดเป็นผงละเอียดละลายน้ำรับประทาน ดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 เวลา ช่วยในการบำรุงร่างกาย
- ใบ ช่วยแก้อาการอาเจียน
- ฝัก ลดอาการตัวร้อน เป็นไข้ในเด็ก ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย
คุณค่าทางโภชนาการของฝักอ่อน ต่อ 100 กรัม
ประกอบไปด้วย พลังงาน 19 กิโลแคลอรี, คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม, ไขมัน 0.1 กรัม, เส้นใย 1.2 กรัม, โปรตีน 2.1 กรัม, น้ำ 93.8 กรัม, วิตามินบี 1 0.35 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.14 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 0.8 มิลลิกรัม, วิตามินซี 32 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 5 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม, และธาตุฟอสฟอรัส 43 มิลลิกรัม
ข้อควรระวังในการรับประทาน
ในถั่วพูมีสารชนิดหนึ่งมีมีฤทธิ์ยับยั้ง เอนไซม์ทริปซิน ทำให้โปรตีนไม่ย่อยหรือย่อยได้น้อยลง จึงส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายนั่นเอง ดังนั้นหากจะรับประทานถั่วพูให้ได้โปรตีนมาก ดังนั้น…ควรทำถั่วพูให้สุกก่อนรับประทาน จะได้ประโยชน์ที่ครบถ้วน
ช่วยบำรุงกำลัง สำหรับคนที่มีอาการอ่อนเพลียหรืออ่อนล้า การรับประทานฝักอ่อนหรือจะนำเมล็ดแก่ไปตากแห้งมาบดแล้วชงกับน้ำร้อนเพื่อดื่มก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ช่วยให้สดชื่นขึ้น เป็นการเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นได้
วิธีเลือกซื้อและการเก็บรักษาอย่างถูกต้อง…
วิธีเลือก
- เลือกฝักที่มีสีเขียวสด
- ไม่ช้ำ ไม่มีตำหนิ หรือเชื้อราเกาะอยู่
- อาจมีรอยดำเล็กน้อย
- ไม่เหี่ยวหรือส่งกลิ่นเหม็น
เก็บรักษา
- ไม่ควรเก็บถั่วพลูไว้นอกตู้เย็น เพราะจะเปลี่ยนสีเป็นเหลือง เหี่ยว ได้ง่ายมาก
- ก่อนนำแช่ตู้เย็น ควรเลือกฝีกที่เน่าหรือเสียทิ้งไปก่อน เพราะอาจทำให้มีเชื้อรามไปฝักอื่นๆได้ง่าย จากนั้นห่อด้วยกระดาษ แล้วถึงนำไปแช่ตู้เย็นในช่องแช่ผัก
- แนะนำว่าก่อนรับประทานควรนำถั่วพูไปแช่น้ำแข็งก่อน จะทำให้ถ่วพูกรอบอร่อยน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก
#Amarincuisine #ACuisine #เอคูซีน #รู้หรือไม่ #TamTip
👉 กดติดตาม Instagram ได้ที่ @ amarincuisine Follow มาเยอะๆ นะคะ 😘
ง่าย สนุก สุข อร่อย อยากกิน..อยากฟิน..อยากทำ.. อย่าลืมติดตาม #Acuisine นะจ๊ะ