12 สัญญาณเตือน ฮอร์โมนไม่สมดุล
หากคุณกำลังมีอาการบวม ระคายเคือง ไม่สบายตัว สัญนิษฐานได้ว่าอาจจะมาจากการที่ฮอร์โมนไม่สมดุล เพราะฮอร์โมนก็เป็ยเสมือนสารเคมีที่ส่งไปยังเซลล์และอวัยวะต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานอย่างปกติและสมดุล
- รอบเดือนผิดปกติ >> เกิดจากการที่ฮอร์โมนเอสโตรเจน รวมไปถึงฮอร์โมนโปรเจสโตรโรน ที่เป็นตัวควบคุมการมาของประจำเดือนมาก หรือน้อยเกินไป
- ปัญหาการนอนหลับ>> ฮอร์โมนเมลาโทนิน และฮอร์โมนโปรเจสโตรโรนมีส่วนช่วยให้นอนหลับได้สบายขึ้น แต่หากฮอร์โมนหนึ่งในสองชนิดนี้มีปริมาณต่ำกว่าปกติ ก็จะส่งผลต่อการนอนหลับได้เช่นกัน
- เป็นสิว>> หากฮอร์โมนแอนโดรเจนมีปัญหาจะส่งผลให้ต่อมไร้ท่อ และต่อมไขมันที่เซลล์ของผิวหนัง และรูขุมขนทำงานผิดปกติ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดสิว
- หลงๆ ลืมๆ>> ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าการผิดปกติของเอสโตรเจนจะทำให้การควบคุมในสมอง และสารด้านสื่อประสาทอันมีผลกระทบต่อสมาธิและความจำได้
- ปวดท้อง>> ไม่ใช่อาการปวดท้องทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน แต่เป็นอาการปวดท้องบริเวณท้องน้อยที่เกิดขึ้นก่อน หรือระหว่างมีประจำเดือนของคุณผู้หญิงนั่นเอง
- เมื่อย อ่อนเพลียตลอดเวลา>> เมื่อฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์มีจำนวนน้อยลง อาจส่งผลให้ร่างกายเหนื่อยล้า โดยอาจมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนที่มาจากการทำงานของท่อมไทรอยด์เอง หรืออาจจะเป็นความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เองก็ได้
- เครียด อารมณ์แปรปรวน>> ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นกุญแจสำคัญที่ส่งผลต่อสมอง และอารมณ์
- มีน้ำหนักเพิ่ม>> เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง เราก็จะรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น ต่อมความหิวก็เริ่มทำงานมากขึ้น
- ปวดศรีษะ>> การที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำลงส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ โดยเฉพาะช่วงก่อนมีประจำเดือน
- ช่องคลอดแห้ง>> การที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีปริมาณต่ำ ทำให้ช่องคลอดขาดความสมดุลและเกิดอาการช่องคลอดแห้งได้
- สูญเสียความต้องการทางเพศ>> หากระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนน้อยเกินไป อาจส่งผลให้มีความต้องการทางเพศลดลงได้
- หน้าอกมีการเปลี่ยนแปลง>> ผู้หญิงหลายคนน่าจะเคยสังเกตตัวเองว่าช่วงที่มีประจำเดือนจะรู้สึกว่าขนาดของหน้าอกใหญ่ขึ้น เป็นเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนเพศหญิงอื่นๆ
อ้างอิง: nhealth