บทสวดปฏิจจสมุปบาท

บทสวดปฏิจจสมุปบาท คาถาขับไล่อวิชชา

บทสวดปฏิจจสมุปบาท คาถาขับไล่อวิชชา

ปฏิจจสมุปบาทเป็นคำสอนที่สำคัญคำสอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ทำให้เราได้ทราบถึงจุดเริ่มของวัฏฏะว่ามาจาก “อวิชชา” (ความไม่รู้) สิ่งที่จะทำให้วัฏฏะหยุดคือการมี “วิชชา” (รู้) บทสวดปฏิจจสมุปบาท บทนี้ เมื่อสวดหรือภาวนาแล้วจะทำให้เกิดความเข้าใจถึงเหตุที่ทำให้ต้องเวียนว่าย ช่วยทำให้จิตเป็นกุศล และได้บุญจากการบรรยายธรรมของพระพุทธเจ้าให้ตนเองและเทวดาฟังอีกด้วย

 

(นำ) หันทะ มะยัง ปะฏิจจะสะมุปปาทะธัมมะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ

 

(รับ) อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก ปะฏิจจะสะมุปปาทัญเญวะ สาธุกัง โยนิโส มะนะสิกะโรติ

– ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมกระทำไว้ในใจ โดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า

 

อิมัส๎มิง สะติ อิทัง โหติ

– เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี

 

อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ

– เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

 

อิมัส๎มิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ

– เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี

0

อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ

– เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป

 

ยะทิทัง

– ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ

 

อะวิชชาปัจจะยา สังขารา

– เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย

 

สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง

– เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

 

วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง

– เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

 

นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง

– เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

 

สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส

– เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

 

ผัสสะปัจจะยา เวทะนา

– เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

 

เวทะนาปัจจะยา ตัณหา

– เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

 

ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง

– เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

 

อุปาทานะปัจจะยา ภะโว

– เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

 

ภะวะปัจจะยา ชาติ

– เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

 

ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ

– เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน

 

เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะสะมุทะโย โหติ

– ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

0

อะวิชชายะเต๎ววะ อะเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ

– เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร

0

สังขาระนิโรธา วิญญาณะนิโรโธ

– เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ

0

วิญญาณะนิโรธา นามะรูปะนิโรโธ

– เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป

0

นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ

– เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ

 

สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ

– เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ

 

ผัสสะนิโรธา เวทะนานิโรโธ

– เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา

 

เวทะนานิโรธา ตัณหานิโรโธ

– เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา

 

ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ

– เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน

อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ

– เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ

 

ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ

– เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ

 

ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ

– เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น

 

เอวะเม ตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหตีติ

– ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้

 

ที่มา : www.watpamahachai.net

ภาพ : https://pixabay.com


บทความน่าสนใจ

ประโยชน์ของการสวดมนต์ 6 ประการ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี

Dhamma Daily : สวดมนต์อย่างไรให้ได้ผล

ผู้มีราตรีเดียวอันเจริญ ความหมายที่แท้จริงของบทสวด ภัทเทกรัตตคาถา

คาถาเดินทางไกล บทสวดมนต์ก่อนเดินทาง แคล้วคลาดปลอดภัย

คาถามหาเมตตาใหญ่ แผ่เมตตาให้ไพศาลทั่วทั้ง 10 ทิศ

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.