วิธีการจำ

แบบทดสอบวัดวิธีการจำ…คุณถนัดการจดจำแบบไหนกันแน่?

แบบทดสอบวัด วิธีการจำ…คุณถนัดการจดจำแบบไหนกันแน่?

ดอกเตอร์บรูเนอร์ ฟอร์สต์ (Bruno Forst, Ph.D.) อธิบาย วิธีการจำ ของมนุษย์ไว้ในหนังสือเรื่อง Stop Forgetting  ว่า  คนเรามีวิธีจำ 3 แบบ คือ  การจำด้วยการมองเห็น (eye-minded)  การจำด้วยการได้ยิน (ear-minded) และการจำด้วยการสัมผัส (motor-minded)  แต่ละคนมีวิธีจำทั้งสามแบบอยู่ในตัว แต่จะถนัดเพียงวิธีใดวิธีหนึ่งราวร้อยละ 60 – 80 การรู้ว่าเราเป็นคนจดจำแบบไหนจะทำเราให้สามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้นและจำได้ดีขึ้น

ตอบคำถาม: หลังดูภาพยนตร์จบคุณจะ…

ก.จำสีหน้าท่าทางและการแต่งตัวของตัวละครได้ดีมาก แต่จำคำพูดของตัวละครไม่ค่อยได้

ข.จำไดอะล็อกของตัวละครได้แม่นแต่อาจอธิบายไม่ได้ว่ามีลักษณะท่าทาง สีหน้า หรือแต่งตัวอย่างไร

ค.จำฉากที่ประทับใจจริงๆ ได้ครบถ้วนทว่าคนกลุ่มนี้จะมีจำนวนน้อยกว่าสองกลุ่มแรก

 

เฉลย

ก. คุณจำได้ดีที่สุดจากการมองเห็น การอ่านหนังสือ สามารถจำรูปประโยค หรือวรรคทองต่างๆ ได้ดี

ข.คุณจำได้ดีที่สุดจากการได้ยิน การฟัง สามารถแยกแยะเสียงหรือสำเนียงได้ดี และจับความหมายที่แทรกอยู่ในน้ำเสียงได้

ค.คุณจำได้ดีที่สุดจากการสัมผัส การลิ้มรส และการดมกลิ่น ซึ่งทั้งหมดนี้จะดึงความทรงจำเก่าๆ ให้กลับมาได้ง่ายที่สุด

 

Tips ช่วยจำสำหรับคนที่มีความจำแต่ละแบบ

ก. ควรทบทวนเอกสารสำคัญด้วยการอ่านซ้ำทุกครั้ง หรือหากต้องการท่องจำตำราเรียน ควรวาดภาพประกอบความเข้าใจ

ข. ในการประชุมหรือพูดคุยเรื่องงานที่สำคัญ แนะนำให้คุณอัดเสียงเก็บไว้ฟังภายหลัง ส่วนคนที่อยู่ในวัยเรียน ควรอ่านหนังสืออัดเทปและเปิดฟังเพื่อทบทวนบทเรียนช่วงใกล้สอบ

ค.ในการเรียนหรือการประชุม ควรจดไปด้วย หรือหาลูกบอลบีบไปด้วยขณะฟังบรรยายหรืออาจกระตุ้นความจำด้วยการจุดเทียนหอมระหว่างอ่านหนังสือ

คลิกเลข 2 ด้านล่าง เพื่ออ่านเทคนิคจำเก่ง

อยากจำเก่งมาทางนี้

1.ฝึกนิวโรบิก (Neurobic) เราสามารถออกกำลังสมองด้วยการทำสิ่งง่ายๆ ที่ไม่เคยทำ เช่น หลับตาสระผม เปลี่ยนเส้นทางไปทำงาน หรือหัดเขียนชื่อตัวเองด้วยมือซ้าย ข้อมูลใหม่ๆ เหล่านี้จะช่วยฝึกสมองให้จำได้ดีขึ้น

2. ทำแผนที่ความคิด (Mind Map) ฝึกทำแผนที่ความคิดเพื่อจัดเรียงความคิดให้เป็นระบบ ได้ทั้งทบทวนตัวเองและวางแผนชีวิตไปพร้อมกัน

3. คิดเป็นภาพ สมองเก็บข้อมูลที่เป็นภาพได้ดีกว่าที่เป็นตัวหนังสือ และเก็บข้อมูลที่มีเรื่องราวได้ดีกว่าข้อมูลเดี่ยวๆ หากต้องการจำสิ่งใด ลองสร้างจินตนาการให้เป็นภาพ

4. ตั้งสติ เลิกหงุดหงิดใจกับการลืมเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่ว่าจะเป็นกุญแจบ้าน ร่ม กระเป๋า ฯลฯ ด้วยการบอกตัวเองในใจ 3 ครั้งว่า “วางกุญแจ…วางกุญแจ…วางกุญแจ” เพียงเท่านี้สมองจะรู้ว่าคุณตั้งใจทำ ตั้งใจวาง และไม่ลืมง่ายๆ

5. บริหารดวงตา เพื่อฝึกสมองให้จำสิ่งที่เห็นได้เร็วขึ้น ให้จัดท่านั่งสบายๆ ถือดินสอยื่นแขนไปข้างหน้าในระดับจมูก จากนั้นค่อยๆ เลื่อนดินสอมาที่จมูกโดยไม่ละสายตา เมื่อดินสอมาถึงจมูกแล้วให้เลื่อนดินสอออกไปจนสุดแขน นับเป็น 1 ชุด ทำซ้ำอย่างน้อยครั้งละ 5 ชุด

6. นอนให้พอ เวลานอนหลับคือช่วงเวลาที่สมองจะจัดเรียงความทรงจำให้เป็นระเบียบ ช่วยให้เราสามารถเรียกความทรงจำแต่เก่าก่อนกลับมาใช้ได้เมื่อต้องการ

Posted in MIND
BACK
TO TOP
A Cuisine
Writer

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.