คำแนะนำการเก็บยา

คำแนะนำการเก็บยา แบบไหนเสื่อมสภาพเมื่อไรและไม่ควรใช้ต่อ

คำแนะนำการเก็บยา แต่ละชนิด

เชื่อว่าหลายบ้านต้องมียาสามัญประจำบ้าน รวมถึงยาประจำตัว ประจำโรคต่างๆ เก็บไว้ แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่ควรสังเกตก็คือวันสิ้นอายุของยา วันนี้เราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับ คำแนะนำการเก็บยา แต่ละชนิด ว่ามีการเสื่อมสภาพช้าเร็วอย่างไร เพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกคนค่ะ

ว่าด้วยยาหมดอายุ

วันหมดอายุ หรือวันสิ้นอายุของยา คือวันที่กำหนดอายุการใช้งานของยา เพื่อแสดงว่ายาดังกล่าวมีคุณภาพตามมาตรฐานตลอดช่วงระยะเวลาก่อนถึงวันสิ้นอายุของยา ซึ่งข้อมูลวันหมดอายุและสภาวะการจัดเก็บยาได้จากการศึกษาความคงตัวของยา ประชาชนในฐานะผู้บริโภคจึงควรทราบวิธีการสังเกตยาหมดอายุ ซึ่งเป็นวิธีการตรวจสอบคุณภาพยาอย่างง่ายที่สามารถทำได้เอง

ข้อควรรู้พื้นฐานที่ในการพิจารณาวันหมดอายุของยา เพื่อสังเกตยาเสื่อมสภาพ มีดังนี้

 

  • ยาที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ของบริษัทผู้ผลิต สังเกตได้จากวันหมดอายุที่ระบุไว้บนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ เช่น ที่แผงยา ซองยา เป็นต้น กรณีที่ระบุเฉพาะเดือนและปีที่หมดอายุ วันหมดอายุจะเป็นวันสุดท้ายของเดือน
  • ยาแบ่งบรรจุล่วงหน้า (pre-pack) จะมีอายุการใช้งาน 1 ปี นับจากวันที่แบ่งบรรจุ
  • ยาน้ำที่ยังไม่ได้เปิดใช้ มีอายุ 3 ปีนับจากวันผลิต ยาน้ำที่มีสารกันเสียทั้งชนิดรับประทานและใช้ภายนอก หากเปิดใช้แล้วมีอายุไม่เกิน 6 เดือน การเก็บรักษายาจะต่างกันไปตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด
  • ยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้ง โดยทั่วไปหลังผสมจะมีอายุได้ 7 วัน หากเก็บที่อุณหภูมิห้อง และ 14 วัน หากเก็บในตู้เย็น เนื่องจากไม่มีสารกันเสีย
  • ยาน้ำเชื่อม หลังเปิดใช้ควรเก็บไว้ไม่เกิน 1 เดือน และเก็บที่อุณหภูมิห้อง (การแช่ตู้เย็นไม่ช่วยยืดอายุยา แต่อาจทำให้ยาตกตะกอน หรือน้ำเชื่อมตกผลึก ยกเว้น azithromycin syrup ต้องเก็บในตู้เย็น)
  • ยาหยอดตา ยาป้ายตา หากเป็นชนิดที่ใส่สารต้านเชื้อ (preservative) โดยทั่วไปจะมีอายุไม่เกิน 1 เดือนหลังการเปิดใช้ หากเป็นชนิดไม่เติมสารต้านเชื้อควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน วิธีเก็บรักษาปฏิบัติตามฉลากยา

ยาจะมีคุณภาพดีจนถึงวันหมดอายุที่ระบุไว้ได้ หากอยู่ภายใต้การจัดเก็บที่เหมาะสมตามที่แนะนำโดยบริษัทผู้ผลิต แต่หากมีการจัดเก็บยาที่ไม่เหมาะสม ยาอาจเสื่อมสภาพและมีคุณภาพลดลงต่ำกว่ามาตรฐานก่อนวันหมดอายุที่ระบุไว้ ดังนั้นการสังเกตลักษณะทางกายภาพของยาร่วมด้วยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะหากยามีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม ก็อาจอนุมานได้ว่าคุณภาพของยาน่าจะเปลี่ยนแปลงและผู้บริโภคไม่ควรใช้ยานั้นต่อไป

การเสื่อมสภาพของยาเกิดขึ้นได้ใน 3 ลักษณะ คือ

 

  • การเสื่อมสภาพทางเคมี ได้แก่ การลดลงของปริมาณตัวยาสำคัญ และการเพิ่มขึ้นของสารสลายตัว
  • การเสื่อมสภาพทางกายภาพ ได้แก่ ความผิดปกติของสี กลิ่น รสชาติ ความใส หรือการเกิดตะกอน
  • การเสื่อมสภาพทางจุลชีววิทยา ได้แก่ การปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียเกินระดับปลอดภัย

ตัวอย่างลักษณะยาที่เสื่อมสภาพ

คำแนะนำการเก็บยา

ข้อมูลจาก

บทความสุขภาพ เว็บไซต์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ชวนรู้จักโซเดียม และผลเสียต่อไตที่ไม่ควรมองข้าม

ทำความรู้จัก น้ำตาลและสารให้ความหวาน พร้อมแนะการอ่านฉลากอย่างฉลาด

ไขปัญหา ผู้ป่วยเบาหวาน ห้ามกินแครอทจริงหรือไม่

น้ำส้มแอปเปิ้ลไซเดอร์ ตัวช่วยรักษาหวัดได้จริงหรือไม่ หาคำตอบกัน

 

 

Posted in Uncategorized
BACK
TO TOP
cheewajitmedia
Writer

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.