ทำความรู้จัก น้ำตาลและสารให้ความหวาน พร้อมแนะการอ่านฉลากอย่างฉลาด

น้ำตาลและสารให้ความหวาน

โรคเบาหวานเกิดจากพฤติกรรมการรับประทาน อาหารที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการรับประทานน้ำตาลที่มากเกินความจำเป็นจากอาหารท่ีไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น น้ำอัดลม ชา กาแฟ และขนมหวาน เป็นต้น วันนี้เราจึงชวนผู้อ่านมาทำความรู้จักกับ น้ำตาลและสารให้ความหวาน กันให้มากขึ้น

เมื่อป่วยเบาหวาน

สาหรับผู้เป็นเบาหวานหรือผู้ต้องการควบคุมน้ำหนัก ท่ีต้องการควบคุมการบริโภคนา้ ตาลและต้องการเพิ่มรสชาติ ของอาหาร ในปัจจุบันสามารถเลือกใช้สารให้ความหวาน ทดแทนได้ เนื่องจากมีพลังงานน้อยมากและไม่ทาให้ระดับ น้ำตาลในเลือดเพิ่มข้ึน แต่ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ ประเภทอาหารและใช้ในปริมาณที่เ หมาะสมเท่าน้ัน

ประเภทของสารใหค้วามหวาน

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • สารให้ความหวานท่ีให้พลังงาน (Calorie sweeteners) ได้แก่ น้ำตาลและน้ำตาลแอลกอฮอล์ต่างๆเช่น-น้ำตาลซูโครสหรือน้ำตาลทราย
    • น้ำตาลฟรุกโตส
    • น้ำตาลแอลกอฮอล์ ได้แก่ ซอร์บิทอล ไซลิทอล หรือแมนนิทอล เป็นต้น

 

  • สารให้ความหวานท่ีไม่ให้พลังงาน (Non – calorie sweet- eners) สารให้ความหวานในกล่มุนี้สามารถใช้ได้ในปริมาณที่เหมาะสม ได้แก่- แอสพาร์แทม, แซคคาริน, ซูคราโลส, อะซีซัลเฟม โพแทสเซียม
    • สตีเวียหรือหญ้าหวาน

น้ำตาลและสารให้ความหวาน

น้ำตาลและสารให้ความหวาน

สตีเวียหรือหญ้าหวาน(Stevia)

ใบจากต้นสตีเวีย ประกอบด้วยสารให้ความหวานหลัก คือ สตีวิออลไกลโคไซด์ (Steviol glycoside) โดยมีสารประกอบท่ีมากท่ีสุดคือ สตีวิโอไซด์ (Stevioside) ซึ่งมี ความหวานเท่ากับ 300 เท่าของน้ำตาลทราย

ในประเทศไทยประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับ ท่ี 262) พ.ศ.2545 ให้มีการใช้สตีวิโอไซด์ (Stevioside) เป็นสารให้ความหวานได้ ไม่มีพลังงาน

ใช้ในอาหารสาหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักได้ โดยต้องระบุข้อความว่า “สตีวิโอไซด์ สารสกัดจากหญ้าหวาน”

ใช้ในอาหารร้อนและเครื่องดืมได้ (ทนความร้อนได้ดี) ไม่ควรได้รับในปริมาณที่มากเกินไป

น้ำผึ่ง (Honey)

น้ำผึ้ง เป็นสารผสมของน้ำตาลกับสารประกอบอื่น โดยน้ำผึ้งส่วนใหญ่เป็นฟรุกโทส (ประมาณ 38.5%) และกลูโคส (ประมาณ 31.0%) น้ำผึ้งเป็นน้ำตาลจากธรรมชาติ มีความหวานและพลังงานเท่ากับน้ำตาลทราย

ปริมาณที่แนะนำเท่ากับน้ำตาลทราย ไม่แนะนำให้รับประทานในปริมาณมาก เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้

ผู้บริโภคต้องรู้

คำกล่าวอ้างทางโภชนาการท่ีเก่ียวข้องกับน้ำตาลตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับท่ี182 (พ.ศ.2541) ดังน้ี

  1. ปราศจากน้ำตาลหรือไม่มีน้ำตาล หมายถึง มีน้ำตาลน้อยกว่า 0.5 กรัม ต่อหน่ึงหน่วยบริโภคที่แสดงบนฉลาก
  2. ไม่ปรับความหวานเพิ่มหรือไม่เติมวัตถุด้วยความหวาน หมายถึง ใช้กับอาหารที่มีน้ำตาลสูงอยู่แล้วโดยธรรมชาติ เช่น น้ำผลไม้ (ห้ามใช้ปราศจากน้ำตาล)
  3. ลดปริมาณน้ำตาลลงน้อยกว่า(อาหารอ้างอิง) หมายถึง ลดปริมาณน้ำตาลลงต้ังแต่ 25% ข้ึนไป
  4. ไม่เติมน้ำตาลหรือไม่ใส่น้ำตาล(อาหารอ้างอิง) หมายถึง ไม่เติมน้ำตาลระหว่างการผลิต ส่วนประกอบจะต้องไม่มีอาหารท่ีมีการเติมน้าตาล เช่น แยม น้ำผลไม้เข้มข้น ต้องไม่มีน้ำตาลเกิดข้ึนระหว่างกระบวนการผลิต ถ้ามีต้องได้ตาม เงื่อนไข “ปราศจากหรือไม่มี” และอาหารอ้างอิงมีการเติมน้ำตาลแต่อาหารนี้ไม่มีการเติม

ข้อมูลโดย

น.ส.ศรีวรรณ ทองแพง นักวิชาการโภชนาการ ศูนย์เบาหวานศิริราช Siriraj Diabetes Center; SiDC

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.