พริกบรรเทาภาวะเศร้าหมอง

พริกบรรเทาภาวะเศร้าหมอง

“พริก” ช่วยบรรเทา ภาวะเศร้าหมอง

สีสันคือความหลากหลาย ความมีชีวิตชีวา ที่ส่งผลกับอารมณ์ของผู้คนได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น เมื่อเราเดินเข้าไปในห้องที่มืดจะรู้สึกอึดอัดเกิด ภาวะเศร้าหมอง หายใจไม่คล่องขึ้นมาทันที และบางครั้งเราอาจเห็นคนที่เซ็ง ๆ เบื่อโลกแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่ไม่สดใส

ด้วยความที่ดิฉันเป็นแพทย์ด้านธรรมชาติบำบัด จึงต้องดูแลคนไข้แบบองค์รวมทั้งร่างกาย จิตใจ ไปจนถึงแรงบันดาลใจในชีวิต จึงมีการใช้ศิลปะบำบัดมารักษาอาการต่าง ๆ ด้วย เช่น โรคที่เกี่ยวกับการอักเสบเรื้อรัง โรคมะเร็ง ไปจนถึงโรคซึมเศร้าทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยมีวิธีการที่หลากหลายให้เหมาะกับแต่ละคน

โดยทั่วไปวัตถุดิบอาหารนั้นมีสีสันต่าง ๆ สอดแทรกอยู่แล้ว (ไม่รวมสีสังเคราะห์นะคะเพราะไม่ได้เกิดประโยชน์กับสุขภาพ หนำซ้ำยังเพิ่มภาระให้ร่างกายต้องขับออกอีก) เราสามารถหาสีธรรมชาติต่าง ๆ มาประกอบอาหารได้มากมาย เช่น สีม่วง จากกะหล่ำปลีสีม่วง อัญชันบีบมะนาว มะเขือม่วง ฯลฯ สีเขียว จากใบเตย ผักโขมบรอกโคลี และผักสีเขียวอื่น ๆ สีเหลืองส้ม ได้จาก ขมิ้น ส้ม มะละกอ แครอตฯลฯ สีแดง ได้จาก บีตรู้ต มะเขือเทศสตรอว์เบอร์รี่ พริกสีแดง ฯลฯ

สำหรับบุคคลที่มีภาวะเศร้าหมอง ขาดแรงบันดาลใจ เบื่อโลกเป็นเวลานาน ๆ นั้นไม่เป็นผลดีกับร่างกายเท่าไร เพราะอาจมีอาการอื่นเกิดตามมา เช่น นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก หมดความสนใจต่อโลกภายนอก คิดวนไปวนมาในแง่ร้าย จนสุดท้ายถึงขั้นไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป กลายเป็นโรคซึมเศร้าได้

ภาวะเศร้าหมอง
บรรเทาอาการภาวะซึมเศร้าด้วยพริก

 

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

ภาวะเศร้าหมอง
บรรเทาอาการภาวะซึมเศร้าด้วยพริก

ในทางศิลปะบำบัด การใช้สีโทนอุ่นร้อน เช่น สีส้ม แสด แดง จะช่วยรักษาบรรเทาอาการโรคซึมเศร้าได้ ดังนั้นหมอจึงนึกถึงอาหารสีอบอุ่น นั่นก็คือพริกสีแดงนั่นเอง ซึ่งหมอยังค้นพบในงานวิจัยด้วยว่าสารแคปไซซิน (capsaicin) ในพริกจะไปจับกับ TRPV1receptor ที่อยู่ในสมอง สามารถลดความปวดและภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน

หากใช้มุมมองของนักพฤกษศาสตร์สมุนไพรในการทำความเข้าใจกับคุณสมบัติของพริก เราจะพบว่า แท้จริงแล้วพริกหรือ Capsicum เป็นพืชในตระกูล Solanaceae หรือตระกูลมะเขือ ซึ่งมีพืชในสายพันธุ์จำนวนมากที่เป็นพิษ พืชตระกูลนี้จึงถูกเรียกอีกชื่อว่า Deadly Night Shade ตามหลักของ Doctrine of Signatures แล้ว พืชตระกูลมะเขือมีลักษณะของผลเป็นพวงเหมือนลูกตาสัตว์ เช่น ดอกลำโพง ต้นแมนเดรก (Mandragora) และชอบออกดอกในเวลากลางคืน เป็นลักษณะจำเพาะที่ส่งผลถึงลักษณะพิษของมันที่ทำให้เกิดอาการเพ้อ ง่วงงุน และมึนงง และอาจมีอาการหวาดผวาได้ แน่นอนว่าเมื่อจะนำมาใช้ประโยชน์ในทางยา หมอสมุนไพรจะต้องนำมาใช้เพียงเล็กน้อยในแบบของโฮมีโอพาธีจึงจะให้ผลการรักษาอาการง่วงงุน ซึมเซาได้

ทว่า พริกนั้นไม่ได้มีพิษในแบบของดอกลำโพง เพราะตามหลัก Doctrine of Signatures เราจะพบว่าผลของพริกแตกต่างจากพืชในตระกูลเดียวกับมันมาก แทนที่จะเป็นผลกลมมนหลบร่มเงาอยู่ใต้ใบ ผลของพริกกลับชี้แหลมออกมาท้าทายแสงแดดเป็นความพยายามของต้นพริกเองท่จี ะเอาชนะธรรมชาติของ Deadly Night Shade เสมือนคนที่ตื่นจากภาวะซึมเซา แล้วเปล่งสีสันสดใส ให้รสเผ็ดร้อนที่กระตุ้นให้คนที่ได้กินสดชื่นและตื่นตัวขึ้นมา จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดว่าสรรพคุณของพริกตามงานวิจัยจึงบ่งชี้ไปในทางที่ว่าพริกสามารถช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าเช่นกัน

 

โดย : แพทย์หญิงกอบกาญจน์ ไพบูลย์ศิลป แพทย์ธรรมชาติบำบัดHealthy Flavor Clinic Restaurant

เรียบเรียง : สิทธิโชค ศรีโช

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.