เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์

Dhamma Daily : โดนพ่อแม่บังคับให้บวชเพราะเชือเรื่อง เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์

Dhamma Daily : โดนพ่อแม่บังคับให้บวชเพราะเชือเรื่อง เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์

เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์ เป็นความเชื่อในสังคมไทยในประเพณีบวชมานาน พ่อแม่หวังให้ลูกชายบวช เพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์ ปัญหาธรรมจากสมาชิกท่านหนึ่งส่งมาถามในเรื่องนี้ ซึ่งก็เป็นปัญหาธรรมที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย

ถาม

โดนพ่อแม่บังคับให้บวชด้วยเหตุผลว่าท่านจะได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์ แต่ตัวคนบวชไม่ศรัทธา ควรทำอย่างไรดี

 

เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์

 

ตอบ

การถูกพ่อแม่บังคับให้บวช หากไม่ศรัทธาก็ควรบวชให้ท่านเถิด ถึงไม่ศรัทธาแต่ขอให้คิดว่านี่คือการทำความดี บุญที่เกิดจากการทำดีด้วยการบวชตอบแทนพระคุณจะเกิดขึ้นกับตัวเราและพ่อแม่ การที่พ่อแม่บังคับให้ทำดี ถ้าทำได้นั้นดีแน่การขัดเกลาให้เกิดการระลึกถึงบุญคุณของบิดามารดานั้นเริ่มตั้งแต่การเป็นนาค ซึ่งจะมีการเทศน์สอนนาคก่อนบวชและเมื่อบวชไปแล้วก็จะได้รับการอบรมสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ ทำให้เกิดศรัทธาที่ดีขึ้นได้ ดังเช่นเคยมีพ่อแม่ที่บังคับลูกชายคนเดียวให้บวช แต่เมื่อลูกชายได้ก้าวเข้ามาบวชเรียนแล้วกลับไม่ยอมสึก ทั้ง ๆ ที่ก่อนบวชไม่ศรัทธาเห็นไหมว่าศรัทธาอาจมาทีหลังการทำความดีก็ได้

 

พระครูธรรมธร ดร.สาคร  สุวฑฺฒโน พระอาจารย์ผู้ไขปัญหาธรรม

หากผู้อ่านมีปัญหาหนักใจ ต้องการคำแนะนำแฝงด้วยแนวคิดทางธรรม สามารถส่งคำถามมาได้ที่

Secret Magazine (Thailand)

 

อานิสงส์ของการบวช

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึงอานิสงส์ของการบวชไว้ สรุปได้ดังนี้…
1. ได้ทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน เมื่อเราเข้ามาบวช เราก็ได้ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยตัวเอง โดยการเล่าเรียน จดจำ รู้ เข้าใจ และประพฤติปฏิบัติ เมื่อไรที่พระพุทธศาสนาเข้ามาในชีวิตของเราโดยการประพฤติปฏิบัติ ก็เท่ากับว่าเราเอาตัวของเรารักษาพระพุทธศาสนาไว้ ตราบใดที่ชีวิตของเราอยู่ พุทธศาสนาก็จะอยู่ด้วย ถือเป็นการทำหน้าที่ของพุทธบริษัทที่สืบทอดพุทธศาสนา เป็นการทำบุญกุศลไปด้วย
2. ได้ทำหน้าที่ของกุลบุตรชาวไทย เราถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นสมบัติของชาติไทย พระพุทธศาสนาเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมไทยของเรา ทั้งภาษาที่ใช้สื่อสาร ภาษาพระ ภาษาบาลี แล้วออกมาทางวัฒนธรรมทางวัตถุ เช่นศิลปกรรมต่าง ๆ อีกมากมาย ประเทศของเรามีอารยธรรมของชาติที่เราต้องรักษาไว้ การบวชเป็นการทำหน้าที่อีกอย่างหนึ่งด้วย คือเป็นการรักษาสมบัติของชาติไว้
3. ถือเป็นการตอบแทนบิดามารดา พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถึงลูกจะเอาพ่อแม่ขึ้นบ่าประคบประหงมเลี้ยงดูตลอดชีวิตอย่างดีที่สุด ก็ยังไม่ถือว่าตอบแทนพระคุณของท่าน แต่ลูกคนใดทำให้พ่อแม่ซึ่งไม่มีศรัทธาหันมาศรัทธา มีศีล มีจาคะ รู้จักบำเพ็ญประโยชน์ได้ เกื้อหนุนให้พ่อแม่มีปัญญาได้ ถือว่าเป็นวิธีตอบแทนพระคุณอย่างสูง

นอกจากนี้ การที่ลูกบวชเท่ากับโน้มนำใจของพ่อแม่ให้เข้ามาใกล้ชิดพระศาสนา แต่ก่อนนี้พ่อแม่เคยมีภารกิจวุ่นวายมากมาย ไม่มีเวลาไปวัด แต่พอลูกบวช ใจก็ตามลูกไปอยู่ที่วัด อยู่กับพระด้วย พอใจมาอยู่ที่วัด ก็น้อมมาอยู่กับธรรมะ ตัวเองก็ได้ใส่บาตร ถวายภัตตาหาร ได้ฟังธรรม เกิดการความสนใจใฝ่ธรรมะ ลูกเลยเป็นสื่อกลางที่ช่วยโน้มนำพ่อแม่เข้ามาหาธรรมะ ดังนั้น เวลาที่บวชต้องคิดว่าจะทำให้ดีที่สุดให้โยมพ่อ แม่ ญาติพี่น้องได้บุญมากที่สุด ถ้าตั้งใจอย่างนี้ก็จะเป็นบุญเป็นกุศล

4. ได้ศึกษาเล่าเรียน ฝึกตนในพระธรรมวินัย การบวชถือเป็นการให้เวลากับตัวเองได้ฝึกศีล สมาธิ ปัญญา ได้เรียนรู้คำสอนของพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาและปฏิบัติ ถือเป็นเวลาที่ดีที่สุดที่จะฝึกตนให้เป็นคนดีต่อไป

บทความน่าสนใจ

ศรีราชกุมาร บาโดเล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมอินเดีย บินมาบวชที่เมืองไทย

บวชเพื่อเรียนรู้โลกและธรรม พร้อมทำงานเพื่อรับใช้ผู้คน 4 พุทธสาวิกาแห่ง เสถียรธรรมสถาน

ภิกษุณีนิรามิสา ภิกษุณีชาวไทย รูปแรกที่บวชกับ หลวงปู่ติช นัท ฮันห์

ม.ล.สราลี กิติยากร ตั้งใจบวชเนกขัมมนารี น้อมถวายเป็นพระกุศลแด่พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ

เจ้าหญิงเชนตา บวชเพราะหนีภัย

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.