เรื่องที่เราควรรู้ เกี่ยวกับ วิตามินซี สุดยอดสารอาหารมากสารต้านอนุมูลอิสระ
วิตามินซี คือวิตามินที่กินกับแทบทุกบ้าน เพราะเป็นสารสำคัญที่มีผลดีต่อการทำงานของร่างกาย แต่เชื่อเถอะว่า ยังมีหลายเรื่องที่คุณเข้าใจผิดเกี่ยวกับเจ้าวิตามินตัวนี้
วิตามินซีเป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ
จึงดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายและรวดเร็ว โดยร่างกายคนเราต้องการวิตามินซีเพียง 60-90 มิลลิกรัมต่อวัน หากร่างกายได้รับมากเกินไปซึ่งเกินความจำเป็นของร่างกายก็จะถูกขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะ ไม่สะสมไว้
สำคัญอย่างมากกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
เพราะมีสารต้านทานอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันหวัด โรคภูมิแพ้ โรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยชะลอริ้วรอ และส่งผลให้ผิวพรรณมีสุขภาพดี นอกจากนี้วิตามินซียังช่วยให้ความจำดีขึ้น เพราะช่วยรักษาสภาพของเซลล์ประสาท
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการกินวิตามินซีรูปแบบเม็ดคือหลังอาหารเช้า (ประมาณ 9-10 โมงเช้า)
เพราะร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ และควรกินวิตามินซีหลังอาหาร เพราะวิตามินซีต้องการตัวนำพาเข้าสู่ร่างกาย หากกินวิตามินซีตอนท้องว่าง ร่างกายจะสามารถดูดซึมได้น้อยเนื่องจากไม่มีตัวนำพา
ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวมากไม่ได้มีวิตามินซีมาก
ดูอย่าง ฝรั่ง ลูกเขียวๆ หวานๆ แต่ให้วิตามินซีสูงถึง 160 มิลลิกรัมต่อการรับประทาน 100 กรัม นั่นมากกว่าส้มที่ให้วิตามินซี 53.2 มิลลิกรัม ส่วนผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูงที่สุดคือมะขามป้อม มีวิตามินซี 276 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
ผักบางชนิดที่ให้วิตามินซีสูง
เช่น ผักคะน้ามีวิตามินซี 147 มิลลิกรัม ต่อการรับประทาน 100 กรัม ขณะที่ผักปวยเล้งมีวิตามินซี 120 มิลลิกรัม บร็อกโคลีมี 89.2 มิลลิกรัม และพริกหวานมี 80.4 มิลลิกรัม
รับวิตามินซีมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย
ทางการแพทย์ไม่แนะนำให้รับประทานวิตามินซีเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะแม้ร่างกายจะขับวิตามินซีส่วนที่เกินออกมาทางปัสสาวะ แต่หากมีการขับส่วนเกินทิ้งทุกวัน ก็มีโอกาสเกิดการตกตะกอนของผลึกวิตามินซี ทำให้กลายเป็นนิ่วในไต หรือในทางเดินปัสสาวะได้
แสง ออกซิเจน และความร้อน คือตัวทำลายวิตามินซีในธรรมชาติ
ดังนั้นเมื่อปอกผลไม้แล้วให้รับประทานให้หมดทันที เพราะเมื่อวางทิ้งไว้จะทำให้วิตามินซีสูญหายไป ขณะที่การสูบบุหรี่และความเครียดเป็นตัวเผาผลาญวิตามินซีในร่างกายไปมากที่สุด
ข้อมูลจาก : Bodylogicmd
บทความอื่นที่น่าสนใจ
สายฟิตต้องรู้ ออกกำลังกายวันละ 30 นาที ไม่ได้ดีสำหรับทุกคน
รู้หรือไม่ ฮอร์โมนไม่สมดุล ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
เคลียร์ให้ชัดกับเรื่อง “ฝังเข็ม” ที่ควรรู้