คุณภาพอากาศโลกปี2561

กรีนพีช จัดงานแถลงข่าวรายงานการจัดอันดับคุณภาพอากาศโลก ปี 2561 

กรีนพีชจัดงานแถลงข่าว ” รายงานการจัดอันดับ คุณภาพอากาศโลก ปี2561 เผยเมืองที่มีปัญหามลพิษ PM2.5 และเมืองที่มีคุณภาพอากาศดีที่สุดของทั่วโลกและในแต่ละภูมิภาค “

คุณภาพอากาศโลกปี2561
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นำเสนอรายงานสถานการณ์ คุณภาพอากาศโลกปี พ.ศ. 2561

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 ทางกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานประเทศไทย ได้จัดงานแถลงข่าว  รายงานการจัดอันดับ คุณภาพอากาศโลก ปี2561 ” เพื่อชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงสถานการณ์ คุณภาพอากาศโลก ในปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งมีข้อเรียกร้องเรื่องการจัดการ คุณภาพอากาศโลก ต่อรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลก 

จากรายงานสถานการณ์ คุณภาพอากาศโลก ปี2561 คาดการณ์ว่ามลพิษทางอากาศเป็นส่วนหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 7 ล้านคนในปี 2562 นอกจากนี้ข้อมูลล่าสุดที่รวบรวมในรายงานสถานการณ์ คุณภาพอากาศโลก ปี2561 (IQAir Airvisual 2018 World Air Quality Report) และการจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษสูงสุดในโลกเชิงปฎิสัมพันธ์ (interactiveที่จัดทำขึ้นโดย IQAir AirVisua ซึ่งเผยแพร่ข้อมูลโดยกรีนพีช เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในปี 2561 ที่กระจายตัวอย่างกว้างขวางในปริมาณที่ไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่ และประชาชนยังถูกจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล 

อันดับมลพิษทางอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากรายงานคุณภาพอากศปี2561
อันดับมลพิษทางอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในปีพ.ศ.2561 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 23 ของโลก ในฐานะประเทศที่มีความเข้มข้นเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 มากที่สุด หากเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยติดอยู่ในการจัดอันดับ 15 เมืองที่มีมลพิษ PM2.5 สูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

นอกจากนี้ในรายงาน คุณภาพอากาศโลก ปี2561 ยังแสดงข้อมูลของทวีปต่าง ๆ ไว้ดังนี้

ข้อมูลมลพิษทางอากาศทั่วโลก และ คุณภาพอากาศโลก ปี2561
ข้อมูลมลพิษทางอากาศทั่วโลก และ คุณภาพอากาศโลก ปี2561
  • ในเอเชียใต้: ใน 20 เมืองที่มีมลพิษทางอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก มี 18 เมือง อยู่ในอินเดีย ปากีสถานและบังคลาเทศ ซึ่งรวมถึงข้อมูลมลพิษทางอากาศในปากีสถานที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้มาจากเครือข่ายสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ดำเนินการโดยชุมชนในหลายพื้นที่ของประเทศ 
  • ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: จาการ์ตา และฮานอย เป็นเมืองที่มีมลพิษPM2.5 มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเมืองที่รายล้อมด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นจำนวนมากที่สุดในภูมิภาค ในขณะที่กรุงปักกิ่งมีคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นจึงส่งผลให้จาการ์ตามีความเสี่ยงที่จะมีมลพิษทางอากาศสูงแทนเมืองหลวงของจีนในไม่ช้า 
  • ในประเทศจีน: ความเข้มข้นเฉลี่ยของมลพิษทางอากาศในเมืองต่าง ๆ ในจีนลดลงร้อยละ 12 จากปีพ.ศ. 2560-2561 ในขณะที่กรุงปักกิ่งถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 122 ของเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลกในปี 2561 
  • ในแถบคาบสมุทรบอลข่านตะวันตกและตุรกี:  มี 10 เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในแถบคาบสมุทรบอลข่านตะวันตก คือ บอสเนีย เฮอร์เซโกวีนา มาซิโดเนียและโคโซโว และอีก 4 แห่งในตุรกีมีระดับมลพิษ PM 2.5 มากกว่า 3 เท่าของคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก 8 เมืองในบอลข่านเป็นเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลกคิดเป็นร้อยละ 10 ของเมืองทั้งหมดที่มีข้อมูล 
  • ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา: แม้ว่าคุณภาพอากาศโดยเฉลี่ยจะดีเมื่อเปรียบเทียบกับทั่วโลก ประวัติการเกิดไฟป่ามีผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพอากาศ 5 ใน 10 เมืองที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุดในโลกช่วงเดือนสิงหาคมอยู่ในอเมริกาเหนือ 
  • ปัญหาสำคัญ คือ ประชาการส่วนมากรวมถึงประชากรในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ยังไม่สามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานการวัดคุณภาพอากาศที่เพียงพอ 

อ่านต่อหน้าถัดไป 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.