SIGNS OF HEART ATTACK
สังเกตอาการผิดปกติก่อนกู้ชีพ เทคโนโลยีกู้ชีพผู้ป่วยหัวใจวาย
คุณหมอไชยพรแนะนำว่า ก่อนที่ผู้ป่วยจะหมดสติด้วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมักมีอาการนำดังนี้
- เจ็บหน้าอก ใจสั่น เหงื่อออก โดยมีลักษณะเจ็บแน่นใต้หน้าอก อาจเจ็บร้าวไปที่แขน ไหล่ คอ หรือกราม
- ก่อนเกิดอาการเจ็บหน้าอก มักถูกกระตุ้นด้วยการออกแรง เช่น วิ่ง หรือเกิดภาวะเครียด
- หน้ามืด เป็นลมหมดสติ
- หัวใจเต้นผิดปกติ อาจเป็นได้ทั้งหัวใจเต้นผิดจังหวะและหัวใจหยุดเต้น
FOR MORE INFORMATION
ฝึกทำซีพีอาร์และใช้เครื่องเออีดี
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการกู้ชีพและเข้ารับการฝึกอบรมการทำซีพีอาร์และใช้เครื่องเออีดีอย่างถูกต้อง สามารถติดต่อได้ที่หน่วยงานต่อไปนี้
- ศูนย์การศึกษาฝึกอบรมและการให้ประกาศนียบัตรผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ชั้น 3 ซอยสาธารณสุข 3 ถนนติวานนท์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี โทร. 0-2872-1600 และ 09-6648-9388
- โครงการปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิต อาคารศูนย์อุบัติเหตุและเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ชั้น 3 คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีโทร. 0-2201-2305 – 6
- เพจ RAMAMEDIC จัดอบรมซีพีอาร์ให้หน่วยงานต่าง ๆโดยภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ http://www.facebook.com/Ramamedics
EXPERT RECOMMEND
ข้อเสนอแนะจากแพทย์ฉุกเฉิน
คุณหมอไชยพรอธิบายว่า “กรณีของประเทศไทยนั้นขอเพียงแจ้งเหตุให้ทันกาล ถ้าคุณพบผู้ป่วยและตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าหมดสติ ให้โทร.แจ้ง 1669 ทันที หากทำซีพีอาร์ไม่เป็นก็ไม่ต้องกังวลครับ เพราะเจ้าหน้าที่ของศูนย์รับแจ้งเหตุจะบอกขั้นตอนให้ทำตามได้เลย
“ถ้าจะแก้ปัญหาให้ถูกทาง เราต้องให้ข้อมูลเรื่องนี้กับเด็ก ๆ ตัวอย่างเช่น ในประเทศญี่ปุ่นมีการสอนปฐมพยาบาลซึ่งมีวิธีทำซีพีอาร์และวิธีใช้เครื่องเออีดีให้เด็กประถมโดยบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษาของเขาเลยถ้าขึ้นไปถึงระดับมัธยม เด็กของเขาจะใช้เครื่องเออีดีเป็นแล้ว ถ้ามีเหตุฉุกเฉินที่บ้าน เช่น แม่หมดสติเด็ก ๆ ของเขาสามารถโทร.แจ้งเหตุและทำซีพีอาร์ในระหว่างที่รอการช่วยเหลือได้
“ส่วนการสอนทำซีพีอาร์ เทคโนโลยีกู้ชีพผู้ป่วยหัวใจวาย ถ้าไปสอนให้กลุ่มที่มีผู้ป่วยโรคหัวใจในครอบครัว แบบนี้เขาจะตั้งใจเรียนมากกว่า”คุณหมอไชยพรกล่าวทิ้งท้ายว่า ทางที่ง่ายและเร็วที่สุดคือ โทร.แจ้ง 1669 จากนั้นให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
อ่านเพิ่มเติิม
ชวน เพิ่มไขมันดี ไล่ไขมันร้าย เสริมสร้างสุขภาพ ต้านโรคหลอดเลือดและหัวใจ
ป้องกันโรคเบาหวาน ความดัน หัวใจ และมะเร็ง ด้วยการสร้างสมดุลการกิน
สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท
ที่มา : เรื่อง ศิริกร โพธิจักร คอลัมน์ TRENDY HEALTH นิตยสารชีวจิต