ลีลาศ

ออกกำลังกายด้วยลีลาศช่วยทรงตัวผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม

ออกกำลังกายด้วยลีลาศช่วยทรงตัวผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม

การล้มเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการบาดเจ็บและการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้สูงวัย และคิดเป็นร้อยละ 20-40 ของสาเหตุการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในกลุ่มคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป คนกลุ่มนี้ล้มอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการล้มในผู้สูงวัยส่วนมากไม่รุนแรง อย่างไรก็ตาม พบว่าร้อยละ 20-30 ของการล้มเป็น สาเหตุการบาดเจ็บที่รุนแรง เช่น กระดูกหัก หรือการบาดเจ็บของศีรษะและสมอง และยังส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดความบกพร่องด้านการทรงตัวและการเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้ระดับการทำกิจกรรมและความสามารถในการใช้ชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นลดลง อีกทั้งยังเสียความมั่นใจในการเดินหรือทำกิจกรรมเนื่องจากกลัวล้ม

นอกจากนี้พบว่าการล้มเป็นสาเหตุหลักของอาการกระดูกหักในผู้สูงวัย โดยเฉพาะกระดูกสะโพก และยังเป็น สาเหตุสำาคัญที่ทำให้ผู้สูงวัยต้องย้ายจากบ้านและชุมชนไปอยู่ในสถานพักฟื้นคนชราการจัดการปัญหาการล้มในผู้สูงวัยที่ดีที่สุดคือการตรวจประเมินเพื่อจัดการความเสี่ยง และการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการล้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

อีกหนึ่งในปัจจัยที่เสี่ยงคือภาวะกระดูกพรุน ที่เสี่ยงต่อการหักเมื่อล้ม ทำให้สูญเสียการเคลื่อนไหว ไม่มั่นใจ กระทบต่อความสามารถในการทรงท่า ทั้งขณะอยู่นิ่งและขณะเคลื่อนไหว ในกิจกรรมที่แตกต่างในการดำรงชีวิตประจำวัน เมื่อทรงท่าได้ไม่ดี จะทำให้เสี่ยงต่อการล้ม ซึ่งอาจจะทำให้กระดูกหัก ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง

เต้นลีลาศ

การป้องกันการหกล้มโดยการฝึกฝนให้มีการทรงตัวที่ดีเป็นสิ่งที่พึงกระทำในวัยสูงอายุ แต่พบว่าผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มที่คำนึงถึงปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น การสวมรองเท้าที่กระชับ การมีแสงสว่างเพียงพอบริเวณทางเดิน การระวังพื้นลื่นมากกว่าคำนึงถึงปัจจัยภายใน เช่น การตรวจวัดสายตา การออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกาย

ยังมีผู้สูงอายุส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่าวัยสูงอายุควรจะเป็นวัยที่มีการพักผ่อ น ไม่ควรออกกำลังกายกายเหมือนวัยเด็กหรือวัยหนุ่มสาว ซึ่งความคิดความเชื่อที่แตกต่างกันไปจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหรือสถานการณ์ปัญหาสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง

การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความยือหยุ่นของกล้ามเนื้อขาและข้อเท้าช่วยพัฒนาการทรงตัวและระบบการเคลื่อนไหวและลดการหกล้มของผู้สูงอายุได้โดยการออกกำลังกายสามารถลดความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ร้อยละ 12 และลดจำนวนครั้งในการหกล้มได้ถึงร้อยละ19

การทรงตัว

การออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการทรงตัวที่ดีนั้นผู้สูงอายุควรใช้หลักการออกกำลังกายเช่นเดียวกับการออกกำลังกายทั่วๆ ไป คือไม่รุนแรงหรือหนักเกินไป ซึ่งการออกกำลงกายที่เหมาะสมในผู้สูงอายุควรเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคแรงกระแทกต่ำ มีการอบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกายและผ่อนคลายหลังการออกกำลังกาย และใช้เวลาช่วงออกกำลังกายไม่น้อยกว่า 20 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง จึงจะทำให้การออกกำลังกายนั้นมีประสิทธิภาพ

การเคลื่อนไหวตามจังหวะดนตรี เช่น การเต้นรำหรือลีลาศ เป็นโปรแกรมการออกกำลังกายที่ฝึกการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวหรือความมั่นคงทางทิศทางง และเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ใช้แรงกระแทกต่ำซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมในผู้สูงอายุ เป็นการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ เนื่องจากลีลาศเป็นทั้งกีฬาและศิลปะที่ถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็นลักษณะท่าทางที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายในทุกๆ ส่วน ทำให้มีการพัฒนาระบบการทรงตัวทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบรับความรู้สึก และระบบโครงร่าง และกล้ามเนื้อ ผู้สูงอายุที่ได้เรียนรู้ฝึกฝนการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องในแต่ละทิศทาง และเป็นการเคลื่อนไหวซึ่งอยู่ในชีวิตประจำวันนั้น มีผลต่อการพัฒนาการรับรู้ความเสี่ยงของการหกล้ม เนื่องจากผู้สูงอายุมีความมั่นใจในการเคลื่อนไหวมากขึ้น

นอกจากนี้ลีลาศยังส่งผลต่อความแข็งแรง ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว พลังกล้ามเนื้อหลัง พลังกล้ามเนื้อขา และปฏิกิริยาตอบสนองของมือและเท้าที่มีต่อแสงและเสียงของกลุ่มที่เต้นรำมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอีกด้วย

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สูงวัยต้องรู้ไว้ อุบัติเหตุเกิดขึ้นง่าย แม้อยู่ในบ้านของคุณเอง!

เรื่องนี้เพื่อวัยเก๋า…ใช้ชีวิตในห้องน้ำอย่างไรให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ!

เรียนรู้เรื่อง “การล้ม” ปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพบบ่อยในผู้สูงอายุ !

 

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.