เรื่องนี้เพื่อวัยเก๋า...ใช้ชีวิตในห้องน้ำอย่างไรให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ!

เรื่องนี้เพื่อวัยเก๋า…ใช้ชีวิตในห้องน้ำอย่างไรให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ!

เรื่องนี้เพื่อวัยเก๋า…ใช้ชีวิตในห้องน้ำอย่างไรให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ!

การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวันไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้สูงอายุ ซึ่งครอบคลุมถึงที่อยู่อาศัย สถานที่สาธารณะ สิ่งอำนวยความสะดวกในชุมชน เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่ตามลำพังลดโอกาสลื่นหรือป้องกันอุบัติเหตุจากหกล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความพิการหรือทุพลภาพในวัยผู้สูงอายุ

และเมื่อพูดถึงอุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นได้ง่าย และเกิดขึ้นบ่อยๆ กับผู้สูงอายุ คงไหนีไม่พ้น “ห้องน้ำ” วันนี้เราลองไปดูกันว่า สำหรับผู้สูงอายุเอง ยังมีปัจจัยอื่นๆที่เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้

การอาบน้ำนอกจากจะเป็นการทำความสะอาดร่างกายแล้วยังเป็นการกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกาย ผู้สูงอายุผนังหลอดเลือดจะแข็งตัวขึ้นตามธรรมชาติ ทำให้ภาวะแรงดันเลือดสูงขึ้น การอาบน้ำร้อนก็จะยิ่งทำเลือดสูบฉีดแรงขึ้น นั่นคือ หัวใจต้องออกแรงสูบฉีดเลือดมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าอาบน้ำหลังทานอาหารเสร็จใหม่ๆ หัวใจก็จะทำงานมากกกว่าปกติจน สุดท้ายอาจเป็นลมในห้องน้ำนั่นเอง

การอาบน้ำเย็นมากๆ ก็ต้องควรระวังโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมโทรม อาจทำให้เกิดการหนาวสั่นจน หัวใจต้องทำงานหนัก เช่นกัน สำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดในสมองนี่ก็เป็นอีกคำตอบนึงว่าทำไมเส้นเลือดในสมองแตก มักเกิดขึ้นในห้องน้ำเพราะผู้ป่วยบางคน มักเริ่มต้นการอาบน้ำด้วยการเปิดน้ำที่ผมก่อนทำให้ร่างกายต้องปรับอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว เลือดก็จะขึ้นไปที่สมองอย่างรวดเร็ว ทำให้เส้นเลือดในสมองแตกเมื่อเส้นเลือดในสมองแตก ก็จะทำให้ลื่นล้มในห้ออาบน้ำอย่างไรให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ

สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการอาบน้ำ คือ ก่อนรับประทานอาหาร 1 ชม. หลังรับประทานอาหาร อย่างน้อยครึ่งชม.เนื่องจากการอาบน้ำจะเป็นการลดอุณหภูมิในร่างกายซึ่งทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ อุณหภูมิของน้ำ ไม่ควรอุ่นเกินอุณหภูมิร่างกาย 2 องศา น้ำร้อน ควรมีอุณหภูมิประมาณ38–40 องศา ไม่ควรอาบเกิน 10–15 นาที เพื่อป้องกันผิวแห้งและหัวใจทำงานหนัก น้ำเย็นควรมีอุณหภูมิประมาณ 21–27 องศา ช่วยให้ร่างกายเย็นสบาย สดชื่น เป็นผลดีต่อระบบหายใจงน้ำงอายุมักเกิดอุบัติเหตุในห้องน้ำมากที่สุด

ในช่วงฝนตกถนนและพื้นทางเดินจะเฉอะแฉะเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่อาจเสี่ยงได้รับบาดเจ็บจากการลื่นล้ม หรือพลัดตกบนทางต่างระดับได้ง่าย เมื่อผู้สูงอายุออกไปทำกิจกรรมข้างนอกบ้าน ซึ่งอย่างไรก็ตาม เรื่องของอุบัติเหตุการพลัดหกล้มของผู้สูงวัย ในช่วงนี้ยิ่งมีความน่าเปฌนห่วง เพราะกำลังเข้าสู้ช่วงหน้าฝนแล้วด้วย จึงมีคำเตือนจากกระทรวงสาธารณสุขมาฝากดังนี้ค่ะ เนื่องจากสถิติพบว่าผู้สูงอายุไทยอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เสียชีวิตจากการลื่นล้มและพลัดตกในพื้นที่ต่างระดับสูงถึงปีละ 1,600 คน

โดยสาเหตุหลักการตายอันดับที่สองในกลุ่มของการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ รองจากการบาดเจ็บบนท้องถนน และปัญหาที่พบบ่อยของผู้สูงอายุที่ได้รับอุบัติเหตุ คือ กระดูกสะโพกแตก หัก หรืออุบัติเหตุทางสมอง ส่งผลทำให้พิการและอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง โดยในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2554-2560 พบการเสียชีวิตจากการลื่นล้มและพลัดตกในพื้นที่ต่างระดับของผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยมากกว่า 800 คน ต่อปี หรือประมาณ 3 คนต่อวัน ปัญหา คือ การทรงตัวไม่ดี มีปัญหาด้านทางสายตา และปัญหาทางการได้ยิน ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

วิธีป้องกันและดูแลความปลอดภัยผู้สูงอายุเวลาออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน บุตรหลานควรเดินทางไปพร้อมผู้สูงอายุเพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด และต้องเลือกรองเท้ากันลื่นให้กับผู้สูงอายุ เพื่อช่วยในการทรงตัว ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงพื้นที่เฉอะแฉะได้ เพราะหากเกิดการลื่นล้ม สะดุด หรือพลัดตก อาจจะไม่ใช่แค่เคล็ดขัดยอก แต่อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่ในกรณีที่อยู่ภายในบ้านไม่ควรจัดวางพรม เสื่อ ผ้ายาง หรือ ผ้าปูรองพื้นให้เกิดการลื่นล้มได้ ส่วนบันไดเป็นจุดทำให้เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยครั้ง ควรสร้างพื้นบันไดให้ไม่ลื่น และมีแสงสว่างเพียงพอในบริเวณนั้น

รวมถึงการจัดวางของที่จำเป็นให้เป็นระเบียบ ง่ายต่อการนำ ไปใช้ เพื่อป้องกันผู้สูงอายุสะดุด ลื่น หกล้มจนได้รับบาดเจ็บ สำหรับห้องน้ำซึ่งเป็นสถานที่ที่เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ภายในห้องน้ำต้องมีราวจับที่สามารถเดินได้ทั่วภายในห้องน้ำ พื้นต้องแห้งและควรมีระดับเสมอกับพื้นภายนอก มีระบบระบายน้ำได้ดี ห้องน้ำที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ไม่ควรอยู่ไกลจากห้องนอน เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุ

ที่มา: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

เรียนรู้เรื่อง “การล้ม” ปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพบบ่อยในผู้สูงอายุ !

รู้หรือไม่? จุดเสี่ยงตรงไหนของบ้าน ที่ทำผู้สูงอายุหกล้มได้ง่ายที่สุด

เทคนิคช่วยกล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันการหกล้มในผู้สูงวัย!

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.