การป้องกันที่ทำได้ง่ายที่สุดก็คือการใส่หน้ากากอนามัย N95 โดยเฉพาะเมื่อต้องเดินทางออกไปนอกบ้าหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง เนื่องจากหน้ากากอนามัยนี้เป็นหน้ากากที่สามารถกรองฝุ่นขนาดจิ๋วได้อย่างปลอดภัยต่อสุขภาพ
ส่วนการป้องกันระยะยาวที่สามารถทำเองได้ง่ายๆ ก็คือ
1.การปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในที่พักอาศัย โดยต้องมั่นใจว่าภายในบ้านหรืออาคารมีการระบายอากาศ และการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
2.ติดตั้งอุปกรณ์ลดฝุ่นละอองภายในบ้าน ควรทำความเข้ใจหลักการของอุปกรณ์นั้นๆ เพื่อการป้องกันที่เหมาะสม รวมทั้งการบำรุงรักษาอุปกรณ์นั้นอย่างถูกต้อง เช่น การล้างแผ่นกรองตามความถี่ของการใช้อุปกรณ์
3.ปลูกต้นไม้ช่วยลดมลพิษ ต้นไม้บางชนิดมีคุณสมบัติในการดูดซับฝุ่นละออง และสารมลพิษทางอากาศ ควรหามาปลุกไว้บริเวณบ้าน โดยไม้ยืนต้นที่ช่วยดูดซับฝุ่นละออง ได้แก่ กระถิน มะขาม บุนนาค ขนุน ชาสีทอง มะม่วง มะกอกน้ำ
ส่วนไม้ยืนต้นที่ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้แก่ ราชพฤกษ์ ชงโค มะเกลือ เสม็ดแดง ข่อย หูกวาง ขนุน เสลา แคฝรั่ง มะเดือน ฝรั่ง และพญาสัตบรรณ
นอกจากนี้ยังมีไม้ประดับที่สามารถดูดสารพิษทางอากาศได้ดี ได้แก่ หมากเหลือง จั่ง พลูด่าง ไทนใบเล็ก หนวดปลาหมึก เศรษฐีเรือนใน และวาสนาอธิษฐาน เป็นต้น
4.ลดกิจกรรมนอกบ้าน อันตรายความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้จากมลพิษในอากาศจะเพิ่มขึ้นหากทำกิจกรรมนอกบ้านที่ใช้กำลังมาก ตามระยะเวลาที่อยู่กลางแจ้ง และระดับความรุนแรงของมลพิษ ดังนั้น เราสามารถลดอันตรายลงได้โดยลดระดับการใช้กำลัง (ตัวอย่างเช่น เดินแทนที่จะวิ่งเหยาะๆ) ลดเวลาอยู่กลางแจ้งลง และวางแผนเลี่ยงทำกิจกรรมในช่วงเวลาหรือในพื้นที่ที่มีมลพิษสูง อย่างเช่นถนนที่มีการจราจรติดขัดและทางหลวงที่มีผู้ใช้หนาแน่น
5.อยู่ภายในอาคารเมื่อระดับมลพิษสูง เมื่อระดับมลพิษขึ้นสูงขนาดที่เป็นอันตราย ให้พิจารณาการอยู่ภายในอาคารและย้ายไปทำกิจกรรมภายในอาคาร เช่น แทนที่จะออกกำลังบริหารร่างกายกลางแจ้ง ให้มาออกกำลังในโรงยิมแทนเพื่อใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมที่อากาศสะอาดกว่า
6.ปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคาร ปิดหน้าต่างให้หมดในช่วงมลพิษสูง ปรับเครื่องปรับอากาศให้ใช้อากาศภายในอาคารหมุนเวียนแทนที่จะดึงเอาอากาศภายนอกเข้ามา พิจารณาการใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีเครี่องกรองอนุภาคฝุ่นละอองที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งนี้เพื่อลดระดับอนุภาคภายในอาคาร แต่ควรมั่นใจว่าเครื่องฟอกอากาศนั้นมีขนาดเหมาะกับห้อง คอยดูแลให้บริเวณแวดล้อมบ้านปราศจากควัน และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งที่มีการเผาไหม้ เช่น เทียน การปิ้งย่าง หรือผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่ทำให้เกิดควัน
อนึ่ง ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 นี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น และไม่ใช่ปัญหาที่จะหมดไปง่ายๆ ตราบใดที่ยังมีการเผาผลาญเชื้อเพลิง มีการใช้พลังงานต่างๆ อย่างเกินจำเป็น แต่กระนั้นก็ใช่ว่าเราจะต้องอยู่กับสภาพอากาศที่ไม่บริสุทธิ์กันตลอดไป หากเราสามารถร่วมมือกันลดการก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อากาศดีๆ ก็คงกลับมาได้ในไม่ช้าค่ะ ยังไงก็ดูแลตัวเองกันดีๆ นะคะ ด้วยความเป็นห่วงจากใจ!
ข้อมูลประกอบจาก: จุฬาลงกรณ์มหวิทยาลัย
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ