จอกคิน อาร์ปูธรรม

จอกคิน อาร์ปูธรรม บุรุษผู้เป็น “ลมหายใจและความหวัง” ของผู้ยากไร้

จอกคิน อาร์ปูธรรม บุรุษผู้เป็น “ลมหายใจและความหวัง” ของผู้ยากไร้

จอกคิน อาร์ปูธรรม ชายผู้นี้ทำไมถึงเป็นลมหายใจและความหวังของผู้ยากไร้ บทความนี้คงไขความและให้คำตอบเราได้
0
แม้ “อินเดีย” จะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและวิทยาการเบอร์ต้น ๆ ของโลก แต่ขณะเดียวกันในหลืบลึกของสังคมแดนภารตะ ก็ยังคงเต็มไปด้วย “ผู้ด้อยโอกาสนับล้าน” ที่ยังคงใช้ชีวิตแบบไร้ความหวัง…รอแค่วันหมดลมหายใจ
0
ราว 64 ปีก่อน เด็กชาย จอกคิน อาร์ปูธรรม (Jockin Arputham) ถือกําเนิดขึ้นในครอบครัวระดับเศรษฐีของอินเดีย แต่เมื่อผู้เป็นพ่อติดสุราอย่างหนัก ฐานะของครอบครัวจึงพลอยตกต่ําลง…ถึงขั้น
ย่ําแย่
0
หลังเจอมรสุมชีวิตที่ไม่คาดคิดจอกคินในวัย 16 ปีตัดสินใจออกจากโรงเรียน ใช้ชีวิตเร่ร่อนไปจนถึงชุมชนแออัดแห่งหนึ่งในเมืองมุมไบ แม้จะพยายามหาเลี้ยงตัวเองด้วยการเป็นช่างไม้ แต่สภาพความเป็นอยู่โดยรวมก็จัดว่าลําบากอยู่มาก ในที่สุดความเครียดก็บีบคั้นให้จอกคินตัดสินใจกินยาพิษฆ่าตัวตาย แต่โชคดีที่ในเสี้ยววินาทีสุดท้ายเขาเกิดเปลี่ยนใจและพยายามอาเจียนออกมาได้ทันจึงรอดตายอย่างหวุดหวิด
0
หลังได้ชีวิตกลับคืนมาจอกคินเหมือนกลายเป็นคนใหม่ เขาเริ่มมองไปรอบ ๆ ตัวพร้อมกับบอกตัวเองว่า “ชีวิตคนจนต้อง ‘ดี’ กว่าที่เป็นอยู่” เขาเรียกร้องให้เทศบาล ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาไม่เคยไยดีในเรื่องสุขอนามัยของชุมชนหันมาจัดเก็บขยะในพื้นที่ ด้วยการวางแผนให้เด็กนับร้อย ๆ คนนําขยะไปกองรวมกันไว้หน้าเทศบาล วิธีการนี้แม้จะทําให้เจ้าหน้าที่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก แต่ก็ได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างที่ตั้งใจ…แถมยังทําให้ชีวิตจอกคิน “เปลี่ยน” ไปตลอดกาลอีกด้วย
0
จอกคินเริ่มมีบทบาทในชุมชนมากขึ้น เขารับหน้าที่เรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ให้ชุมชน เป็นแกนนําต่อต้านความไม่เป็นธรรมจากรัฐบาล คัดค้านการเวนคืนที่ดิน แม้ว่าเรื่องนี้จะทําให้จอกคินต้องถูกรัฐจับกุมหลายสิบครั้ง แต่เขาก็ไม่เคยล้มเลิกความตั้งใจ ถึงแม้ท้ายที่สุดเขาจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ และชาวบ้านหลายหมื่นคนต้องย้ายออกจากพื้นที่ทั้งหมด…จอกคินก็ยังไม่หมดหวังกับเส้นทางสายนี้แถมยังประกาศด้วยความมั่นใจว่า
0
“ผมจะทํางานเพื่อชาวชุมชนแออัดต่อไป เพื่อให้รัฐเห็นว่า แม้คนจนจะไม่มีความรู้ แต่คนจนก็มีความคิดและมีทักษะที่จะดูแลชีวิตตนเองได้ ไม่ใช่ว่าต้องยอมรับการดําเนินการ (ที่ไร้เหตุผล) ทุกอย่างของรัฐเสมอไป”
0
จอกคินตระหนักดีว่าการจะยกระดับคุณภาพชีวิตของคนจนให้ได้จริง ๆ นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องเริ่มจากการรวมพลังมวลชนให้เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็งเสียก่อน เขาจึงเดินทางไปพบปะผู้นําชุมชนแออัด นักรณรงค์ด้านที่อยู่อาศัย และองค์กรเอกชนตามเมืองต่าง ๆ ทั่วอินเดีย เพื่อหาแนวร่วมที่มีอุดมการณ์เดียวกัน และเมื่อทุกอย่างลงตัว จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง “สมาพันธ์ชาวชุมชนแออัดแห่งชาติ” ขึ้นเป็นครั้งแรก
0
ไม่เพียงดูแลชุมชนแออัดในอินเดียให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น การจัดสรรที่อยู่อาศัย การมีห้องน้ําสาธารณะที่ถูกสุขลักษณะ การเปิดโอกาสทางการศึกษา แม้กระทั่งการสรรหาช่องทางทํางานเท่านั้น แต่สมาพันธ์ยังประสานงานร่วมกับผู้นําชุมชนแออัดในประเทศอื่น ๆ อีก 34 ประเทศเพื่อให้ความร่วมมือระหว่างกันอีกด้วย ตามแนวคิดที่จอกคินเชื่อมั่นเสมอมาว่า
0
“คนจนต้องเรียนรู้จาก ‘ประสบการณ์ชีวิต’ ของคนจนด้วยกัน”
0
หลายคนอาจสงสัยว่า “จอกคินทําไปเพื่ออะไร” เพราะนับตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทํางานจนวันนี้กว่าสี่สิบปีแล้วที่จอกคินไม่เคยมีวันหยุดไม่มีเงินเดือน ไม่มีสมบัติติดตัว…และไม่มีแม้กระทั่งสมุดบัญชีธนาคารสักเล่ม
0
หากบุรุษชื่อ “จอกคิน อาร์ปูธรรม” มาอยู่ตรงนี้ เขาคงจะตอบสั้น ๆ เพียงว่า เขาไม่ได้อยากได้อะไรนอกจากขอแค่ได้เห็น ความหวัง ในดวงตาคนจนด้วยกันและได้เห็นรอยยิ้ม ที่มาจากความสุขภายในใจอย่างแท้จริง
0
เพียงเท่านั้นกระมังที่เขาต้องการ
0
ที่มา : นิตยสาร Secret ปี 2555 ฉบับที่ 88 หน้า 71
คอลัมน์ : Inspiration
ผู้เขียน/แต่ง : ปาปิรัส
0

0
บทความน่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.