มโนห์ราบัลเล่ต์

ความพิเศษของ มโนห์ราบัลเล่ต์ กับ พระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ที่คุณอาจไม่เคยรู้

เมื่อพูดถึงบัลเล่ต์ หลายคนคงจะมี ภาพจำอยู่ในหัวเป็น สาวน้อยสวมชุดรัดรูป และกระโปรงฟูฟ่อง เต้นรำอยู่บนปลายเท้า และภาพจำนั้น คงจะห่างไกลกับความเป็นไทยเหลือเกิน แต่จริงๆ แล้ว ยังมีบัลเล่ต์สัญชาติไทย เพียงหนึ่งเดียว ที่ชื่อว่า มโนห์ราบัลเล่ต์ อยู่ อีกทั้งการแสดงชุดนี้ ยังถือกำเนิดมาจาก พระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ของในหลวงรัชกาลที่ 9 อัครศิลปิน ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งบทเพลง และบทละคร ให้กับการแสดงชุดนี้ อีกด้วย

 

ความเป็นมาจากสากลบัลเล่ต์ สู่ความเป็นไทยที่ผสมผสานได้อย่างลงตัว

ด้วยพระอัจฉริยภาพของ ในหลวงรัชกาลที่ 9

มโนราห์บัลเล่ต์

Timeline

  • บัลเล่ต์สากล คือการแสดงเต้นรำบนปลายเท้า ที่เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศตะวันตก กำเนิดช่วงศตวรรษที่ 15 ในประเทศฝรั่งเศส
  • ปีพ.ศ.2481 การแสดงบัลเล่ต์เป็นที่รู้จักในประเทศไทยโดยมีมาดามสวัสดิ์ ธนบาล ชาวต่างชาติเป็นผู้ทำการสอนในวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร
  • ปีพ.ศ.2502 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทอดพระเนตรการแสดงโนห์ราของคณะ พุ่ม เทวา และสนพระทัยในละครพื้นบ้านชุด สุธนชาตชาดก
  • ปีพ.ศ.2504 ทรงพระราชนิพนธ์ บทเพลง กินรีสวีท (Kinari Suite) ขึ้น เพื่อใช้เล่นประกอบ บัลเล่ต์มโนราห์ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นพร้อมกัน
  • ปีพ.ศ.2505 มโนห์ราบัลเล่ต์เปิดแสดง ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพรหลังเดิม และกลายเป็นที่เลื่องลือในชั่วข้ามคืน ด้วยทำนองสากลอันไพเราะ สอดประสานกับเนื้อหาและชุดแต่งกายที่ออกแบบได้อย่างคงไว้ซึ่งความเป็นไทย
  • มโนห์ราบัลเล่ต์ได้ถูกนำมาจัดแสดง เพื่อถวายการต้อนรับ พระราชอาคันตุกะ อีกหลายต่อหลายครั้ง
  • วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2560 บัลเล่ต์ชุดนี้ เป็นหนึ่งในการแสดงที่ถูกจัดไว้ใน มหรสพสมโภช ซึ่งเป็นการออกพระเมรุ หรือออกทุกข์
  • วันที่ 19 – 20 ตุลาคม พ.ศ.2561 ได้มีการจัดแสดงบัลเล่ต์มโนห์ราอีกครั้ง ที่ศูนย์วัฒนธรรม เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย

 

 

เกร็ดน่ารู้ที่แฝงอยู่ใน มโนห์ราบัลเล่ต์

 

1.) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นผู้พระราชนิพนธ์เพลง บทละคร เรียบเรียงเสียงประสาน และอำนวยการแสดงละครและดนตรีด้วยพระองค์เอง

ยังมีบัลเล่ต์สัญชาติไทย เพียงหนึ่งเดียว ที่ชื่อว่า มโนห์ราบัลเล่ต์ แถมการแสดงชุดนี้ ยังถือกำเนิดมาจาก พระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ของในหลวงรัชกาลที่ 9

 

2.) ในปี พ.ศ.2505 ที่มีการเปิดแสดงที่เวทีลีลาศนั้น บัลเล่ต์ชุดนี้ได้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้รำเบิกไหว้ครู

มโนห์ราบัลเล่ต์

@bagindesign

 

3.) ชุดของตัวละคร ในอดีตซึ่งเป็นตัวเอก คือ พระสุธน นางมโนราห์ นกยูง และงู ออกแบบโดย ปิแอร์ บัลแมง ดีไซเนอร์ระดับโลก

มโนราห์บัลเล่ต์

 

4.) ชุดเวอชั่นปัจจุบัน ออกแบบโดย Tube Gallery แบรนด์ดีไซเนอร์ไทย ซึ่งมีการปรับประยุกต์ให้เคลื่อนไหวคล่องตัว และออกท่าเต้นได้งดงามขึ้น

มโนห์ราบัลเล่ต์

 

5.) ชุดนกยูงซึ่งออกแบบโดย Tube Gallery มีการปรับให้ส่วนหางให้รำแพนได้กว้าง และพริ้วขึ้น

มโนห์ราบัลเล่ต์

 

6.) มีการตีความ บ่วงบาศนาคราช ใหม่ โดยใช้คนเเสดงเป็น บ่วงนาคราช เพื่อล้อมจับกินรี

มโนห์ราบัลเล่ต์

 

7.) ในฉากป่าหิมพานต์ ได้เพิ่ม ตัวละคร ดอกดาวเรือง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ลงไป

มโนราห์บัลเล่ต์

 

8.) ในส่วนของเนื้อเรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปรับให้สั้นกระชับลงด้วยการตัดฉาก บูชายัญกินรี ออกไป เหลือ 35 นาที

มโนราห์บัลเล่ต์

 

9.) การเคลื่อนไหวของ สายน้ำ ที่กระเพื่อมไหวอยู่ด้านหลัง เป็นอีกหนึ่งความงดงามที่จับความสนใจของผู้ชมได้อย่างดี

มโนราห์บัลเล่ต์

 

 

บัลเล่ต์มโนห์ราได้ถูกนำกลับมาจัดเเสดงอีกครั้ง ที่ศูนย์วัฒธรรมเเห่งประเทศไทย ในวันที่ 19 – 20 ตุลาคมนี้ เป็นอีกครั้งที่พวกเราจะได้ รับชมการเเสดงซึ่งมาจากพระราชดำริ ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตั้งพระทัยมอบเป็นความสุขแด่ปวงชนชาวไทย

 

สำหรับผู้ที่สนใจชมการแสดงสามารถซื้อบัตรได้ที่ :

  • ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ โทร. ๐๒ ๒๖๒ ๓๔๕๖
  • www.thaiticketmajor.com

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก การแสดงดุริยนาฏนวมินทร์

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก   mrigadayavan  bagindesign

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 หนังรักที่แตกต่าง แม้จะต่างกันแค่ไหน แต่ใจอยากจะรัก ก็รักได้ !

One day trip : พาเที่ยว ล้ง1919 และ อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

10 หนังพลิกมุมมองชีวิต ที่น่าลองหยิบมาดูสักครั้งในชีวิต

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.