จีโนม อีดิทติ้ง

ดร.สมชาย เผยผลงานวิจัยดีพเทคโนโลยีชีวภาพ “จีโนม อีดิทติ้ง” เปิดมิติใหม่ของการรักษาโรคในระดับยีนส์

ดร.สมชาย เผยผลงานวิจัยดีพเทคโนโลยีชีวภาพ “จีโนม อีดิทติ้ง” เปิดมิติใหม่ของการรักษาโรคในระดับยีนส์

“ดร.สมชาย”บริษัทเวชสำอางเจ้าแรกในไทย เผยผลงานปรับแต่งจีโนม “จีโนม อีดิทติ้ง” สำเร็จเป็นรายแรกในประเทศ เข้าสู่ธุรกิจดีพเทคโนโลยีทางชีวภาพ โดยเป็นเอกชนที่ทำสำเร็จเป็นเจ้าแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถแข่งขันในระดับสากลได้

จีโนม อีดิทติ้ง
การแถลงผลวิจัย จีโนม อีดิทติ้ง

บริษัท เอส. เอส. แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ เวชสำอางภายใต้แบรนด์ ดร.สมชาย เผยผลสำเร็จเรื่อง จีโนม อีดิทติ้ง การใช้ดีพเทคโนโลยีชีวภาพเป็นรายแรก เพื่อเปิดมิติใหม่แห่งการรักษาโรคถึงระดับพันธุกรรม จนได้การยอมรับระดับนานาชาติ พร้อมมุ่งเข้าสู่อุตสาหกรรมดีพเทคโนโลยียุคใหม่ ตอบสนองไทยแลนด์ 4.0 ร่วมสร้างชื่อเสียงและความก้าวหน้าให้กับประเทศไทย

ดร.สุปรีชา ฉัตรทอง พญ.อรอินท์ เรืองวัฒนสุข
ดร.สุปรีชา ฉัตรทอง พญ.อรอินท์ เรืองวัฒนสุข

 

แพทย์หญิง อรอินท์ เรืองวัฒนสุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส. เอส. แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด และผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ ดร.สมชาย เปิดเผยว่า

ดร.สมชาย บริษัทเวชสำอางไทยเจ้าแรก ที่มีประวัติ  มายาวนานเกือบ 50 ปี โดยมุ่งเน้นด้านการวิจัยพัฒนาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงเสมอมา โดยได้มุ่งเข้าสู่ธุรกิจดีพเทคโนโลยีชีวภาพตั้งแต่เมื่อ 8 ปีก่อน

  • บริษัทเริ่มอีดิท ยีนส์ CCR5 เพื่อหวังผลให้ไวรัส HIV ไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ได้สำเร็จตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อน
  • สามารถอีดิท ยีนส์เบต้าโกลบิน เพื่อแก้ไขความผิดปกติของยีนส์ในโรคธาลัสซีเมียเมื่อปีที่ผ่านมา

เทคโนโลยีทั้งหมดเกิดจากการคิดค้นของทีมวิจัยในบริษัทเอง ไม่ได้เกิดจากการรับเทคโนโลยีมาจากที่อื่น นับเป็นทีมแรกในไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถทำดีพเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านนี้ได้สำเร็จ

แพทย์หญิง อรอินท์ เรืองวัฒนสุข
แพทย์หญิง อรอินท์ เรืองวัฒนสุข

รวมถึงได้นำทีม ไปแสดงผลงานในงาน BIT’s 16th Annual Congress of International Drug Discovery Science and Technology-2018 (IDDST- 2018) ที่เคมบริดจ์ บอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา อีกทั้งได้รับการทาบทามให้ไปแสดงผลงานวิจัยต่อเนื่องที่ประเทศจีน ฝรั่งเศส และสิงคโปร์

เรามีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันบริษัทและประเทศไทยให้เป็นผู้นำด้านดีพเทคโนโลยีทางชีวภาพในระดับโลก และร่วมเป็นหนึ่งในผู้ร่วมปรับเปลี่ยนการรักษาโรค ด้วยการปรับแต่งยีนส์ในอนาคตอันใกล้

 

ด้าน ดร.สุปรีชา ฉัตรทอง หัวหน้าพัฒนากลุ่มงานดีพเทคโนโลยี บริษัท เอส. เอส. แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า “การปรับแต่งจีโนม (Genome editing) เป็นวิธีการปรับแต่งยีน โดยการแก้ไข DNA ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของยีนที่ตำแหน่งเฉพาะเจาะจง โดยใช้เอนไซม์นิวคลีเอส เช่น Zinc finger nuclease (ZFN), Transcription activator-like effector-base nucleases (TALEN), CRISR/Cas system

 ดร.สุปรีชา ฉัตรทอง
ดร.สุปรีชา ฉัตรทอง

เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมในสเต็มเซลล์ชนิดมีเซนไคมอลที่ทีมเราทำนี้ ทำในมีเซนไคมอลสเต็มเซลล์ที่แยกมาจากไขกระดูก และจากเนื้อฟันในฟันคุด

เราพัฒนาวิธีการเลี้ยงเซลล์เหล่านี้ในหลอดทดลอง โดยใช้อาหารเลี้ยงเซลล์และสารจำเป็นในการเจริญเติบโต (Growth Factor) ที่ไม่มีการปนเปื้อนของโปรตีนสัตว์ สเต็มเซลล์สามารถเติบโตและเพิ่มปริมาณได้ดีและคงคุณสมบัติเดิม ด้วยการเลี้ยงนี้ทำให้มั่นใจว่าเซลล์ของเราจะไม่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่มาจากสัตว์ และมีความปลอดภัยเมื่อนำใส่กลับไปร่างกาย

ในกระบวนการแก้ไขยีน ทีมเราใช้ ZFN ซึ่งเปรียบเสมือนกรรไกรที่สามารถตัดยีนตรงตำแหน่งที่เราต้องการได้อย่างแม่นยำ เมื่อสาย DNA ถูกตัดขาด กระบวนการซ่อมแซมเราใช้เรียกว่า Homology Directed-Repair (HDR) ทีมของเราทำการออกแบบและสร้างชิ้นส่วน DNA ที่มีปลายสายทั้งสองข้างมีลำดับ DNA ที่เหมือนกับสาย DNA ตรงที่ถูกตัดด้วย ZFN ที่ตำแหน่งของยีน CCR5 และตรงกลางสายเราใส่รหัส DNA ที่เป็นรหัสหยุดการสร้าง DNA เข้าไป เมื่อสาย DNA ที่ขาด เกิดการซ่อมแซมก็จะเอาส่วนรหัสหยุดการสร้าง DNA แทรกเข้าไปอยู่ในส่วนของยีน CCR5 ทำให้ยีนนี้หยุดสร้างโปรตีน CCR5 receptor ไวรัส HIV จึงไม่สามารถเข้าสู่เซลล์นี้ได้

เช่นกันเราได้ออกแบบและสร้างชิ้นส่วน DNA ที่มีปลายสายทั้งสองข้างเหมือนกับสาย DNA ตรงที่ถูกตัดด้วย ZFN และตรงกลางสายเราใส่ยีน Beta Globin สังเคราะห์ ที่สามารถสร้างโปรตีนฮีโมโกลบินได้เข้าไป เรายังพัฒนาวิธีการเลี้ยงเซลล์ที่ไม่มีโปรตีนสัตว์ การตัดต่อยีนและการเปลี่ยนชนิดของเซลล์โดยใช้ mRNA ที่มีความปลอดภัยสูงสุด เรียกว่ากระบวนการทั้งหมดที่ทีมเราทำถูกออกแบบให้มีความปลอดภัยเพื่อรองรับการนำไปใช้ในอนาคต”

Posted in NEWS
BACK
TO TOP
cheewajitmedia
Writer

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.