อนุรักษ์ช้างไทย

กิฟฟารีน ตอบแทนคุณแผ่นดินสร้างองค์กรต้นแบบ ชวนคนไทยร่วมอนุรักษ์ช้างไทย

ตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้งบริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด “หมอต้อย-พ.ญ.นลินี ไพบูลย์” ก็ตั้งปณิธานไว้อย่างแน่วแน่แล้วว่า วันใดที่บริษัทฯ เติบโตมีผลกำไรและมีความมั่นคง “กิฟฟารีน” จะคืนกำไรตอบแทนกลับสู่สังคมอย่างเต็มพิกัด

กิฟฟารีน

นอกเหนือจากการก่อตั้ง “กองทุนมงคลปิยะสุพรรณกัลยา” มอบทุนการศึกษาแบบให้เปล่า แก่เด็กหญิงกำพร้า ให้ได้เล่าเรียนสูงสุดตามความสามารถ จนถึงปัจจุบัน รวมเป็นเงินกว่า 35.5 ล้านบาท การสนับสนุนโครงการ “พ่อ-แม่ อุปถัมภ์” ช่วยเหลือเด็กผู้ประสบภัยธรณีพิบัติสึนามิ จัดโดยสภาสตรีแห่งชาติ ร่วมรณรงค์ให้ผู้ใหญ่ที่มีรายได้บริจาครายได้ 1 ชั่วโมง ใน 1 ปี เข้ากองทุนเพื่อพัฒนาเด็ก โดยสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์ฯ ตลอดจนสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ของหน่วยงานต่างๆ ผู้บริหารหญิงวิสัยทัศน์ไกลแห่งกิฟฟารีน ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของ “การอนุรักษ์พันธุ์ช้างไทย” ซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน โดยปัจจุบันจำนวนช้างลดลงเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน ก็มีต้นทุนการเลี้ยงดูค่อนข้างสูง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องช่วยกันคนละไม้ละมือเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ช้างไทย โดยกิฟฟารีนได้มอบทุนค่าอาหารช้างให้แก่ “สถาบันคชบาลแห่งชาติ จังหวัดลำปาง” มาอย่างต่อเนื่อง เป็นจำนวน 80,000 บาทต่อเดือน จนถึงปัจจุบันได้มอบเงินไปแล้วทั้งสิ้น 24 ปี 24 ล้านบาท นับเป็นแบบอย่างขององค์กรเอกชนไทย ที่เมื่อประสบความสำเร็จแล้ว ก็ยังไม่ลืมตอบแทนคืนสู่สังคม

กิฟฟารีน

          “กิฟฟารีนเป็นบริษัทสัญชาติไทย และเป็นธุรกิจขายตรง ที่เกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมาก มีคนไทยหลายแสนคนที่เข้ามาร่วมเป็นนักธุรกิจ และรวมถึงพนักงานอีกหลายพันคน การดูแลคนและสร้างทัศนคติที่ดีในการใช้ชีวิตจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยธรรมชาติคนไทยเป็นคนโอบอ้อมอารีอยู่แล้ว เกิดอะไรขึ้นในสังคมก็จะช่วยกัน และอยากจะตอบแทนสังคมกันอยู่แล้ว เมื่อเรามีกำลัง มีรายได้ที่ดี ต้องมีหัวใจที่รู้จักให้ด้วย เป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญและอยากปลูกฝังให้คนของกิฟฟารีนเป็นแบบนั้น  ฉะนั้นส่วนหนึ่งที่ช่วยเด็กกำพร้าเรียนหนังสือ หรือมาช่วยศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย คิดว่าในมุมกลับเป็นการสอนให้นักธุรกิจกิฟฟารีนรู้ว่า เมื่อเรามีรายได้ที่ดี มีความแข็งแรงแล้ว เราควรตอบแทนคืนกลับสู่สังคม และคืนกลับสู่ผู้ด้อยโอกาสด้วย ตอนนั้นเปิดกิฟฟารีนได้ไม่ถึงปี มีโอกาสได้พาลูกมาเที่ยวเชียงใหม่และลำปาง ได้ดูการแสดงช้าง ก็มีช้างแสดงอะไรน่ารักๆ เยอะแยะเลย ตอนนั้นมีช้างอยู่ 38 เชือก พอดีได้มีโอกาสเจอกับเจ้าหน้าที่ดูแลสถาบันคชบาลแห่งชาติในช่วงนั้น ชื่อคุณสวัสดิ์ ประโยคที่มันรู้สึกในใจคือทำไมช้างผอมจัง เลยถามคุณสวัสดิ์ว่า ช้างเล่นเก่งแสดงเก่ง ทำไมช้างถึงผอม คุณสวัสดิ์บอกว่างบประมาณเรามีจำกัด แล้วช้างแต่ละเชือกกินเยอะมากเลยนะครับคุณหมอ เราก็อาจจะมีเงินไม่ค่อยพอ ต้องไปซื้อหญ้าซื้ออ้อยจากชาวบ้านมาแบ่งๆกัน เลยถามเค้าว่าแล้วงบประมาณเท่าไหร่คุณสวัสดิ์ถึงคิดว่าจะพอ คุณสวัสดิ์บอกว่าถ้าได้ประมาณเดือนละ 80,000 บาท คิดว่าช้างคงจะอิ่มได้ ตอนนั้นเปิดกิฟฟารีนไม่ถึงปี แต่เรามีผลกำไรตั้งแต่เดือนแรกๆ เลยมีความรู้สึกว่าอยากจะช่วย ไม่ได้คิดถึง CSR ยังไม่รู้ด้วยว่า CSR คืออะไร แบรนด์ก็เพิ่งสร้างนะคะ แต่มีความรู้สึกว่าสงสารช้าง แล้วอยากช่วยช้าง ดังนั้นมันมาจากความรู้สึกส่วนตัว และมาจากใจจริงๆ”…หมอต้อยบอกเล่าถึงแรงบันดาลใจที่อยู่เบื้องหลังการช่วยช้างมาตลอด 24 ปี

อนุรักษ์ช้างไทย

หนึ่งในช้างเชือกดังที่มีโอกาสรับความเมตตาจาก “หมอต้อย” จนเป็นที่โด่งดังก็คือ “น้องรุ่งเรือง” และ “น้องก้านกล้วย” คุณหมอเล่าย้อนความทรงจำ…“น้องรุ่งเรืองไปขอทาน แล้วไปเจอผักบุ้งไฟแดงไฟลุกขึ้นมา รุ่งเรืองเค้ากลัวมากเลย เค้าตกใจตื่น ก็วิ่งผ่านรถไปนะคะ วิ่งปุเล็งๆหายลับตาไป มาได้ข่าวตอนเช้าจากไทยรัฐว่าเค้าไปอยู่ที่อุรุพงษ์ แล้วคุณหมอสัตวแพทย์ต้องฉีดยาสลบให้เค้าสลบ ก็เลยได้รู้ว่าเจ้าของเค้าอยู่สุรินทร์ และเอาช้างมาขอทาน เพราะเค้าไม่มีสตางค์ เค้าประกาศในไทยรัฐว่าใครอยากซื้อก็มาซื้อ เพราะเค้าเลี้ยงไม่ไหวแล้ว ถ้าไม่ให้เค้าเอามาในกรุงเทพฯ เค้าก็เลี้ยงไม่ได้ เลยกลายเป็นที่มาที่เราเดินทางไปถึงสุรินทร์ไปขอซื้อเค้ามา 180,000 บาท” 

อนุรักษ์ช้างไทย

“ส่วนน้องก้านกล้วยมีสตอรี่น่าสนใจมากกว่า น่าสงสารมากๆ เลยนะคะ น้องก้านกล้วยยังเป็นลูกช้างเล็กๆ หลังจากที่ได้มาเยี่ยมศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยปีละหนสองหน วันหนึ่งคุณกิฟท์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ ก็เข้ามากอดแล้วร้องไห้บอกว่าคุณหมอมาพอดีเลย คุณหมอช่วยด้วยได้มั้ย มีน้องเชือกนึงอายุ 5-6 ขวบ กำลังนอนป่วย คือตำรวจจับได้ว่าเป็นช้างที่ลักลอบขน แล้วก็นอนป่วยอยู่ในรถสิบล้อ ช้างล้มแล้ว ถ้าล้มแปลว่านอนสี่ขาแล้วนะคะ และอาการแย่มาก คือช้างติดเชื้อในกระแสเลือด เพราะว่าที่ก้นเค้ามีแผลเป็นพันๆแผลเลย มีหนองเต็มก้นเลย โดนเจ้าของหรือควาญเอาเหล็กแหลมแทงก้นให้เค้าเดินไปข้างหน้า เมื่อช้างหมดสติอยู่ตำรวจก็เลยพามาที่นี่ มารักษาที่โรงพยาบาลช้างที่นี่ รักษากันอยู่หลายเดือน กระทั่งจากที่ปางตายช้างหายดี พอช้างหายดีปรากฏว่าเจ้าของจะขอรับกลับ ที่ประเทศไทยในช่วงนั้นไม่มีกฎหมายเรื่องทารุณสัตว์ชัดเจน คนเป็นเจ้าของก็เป็นเจ้าของ ต่อให้เกือบจะทำช้างตายเค้าก็เป็นเจ้าของอยู่ดี เจ้าของท้าว่า ถ้าอยากได้ก็ซื้อสิ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยเค้าไม่มีสตางค์ ตอนนั้นปรากฏว่ามีพนักงานโตโยต้ากลุ่มหนึ่งมาเที่ยว ประมาณ 20 กว่าคน ช่วยกันเรี่ยไรเงินแต่ก็ได้ไม่พอ จะขาย 180,000 บาทเหมือนกัน ตอนนั้นจำได้ว่าเป็นเดือนมกราคม กำลังอยากซื้อของขวัญให้ตัวเองเป็นแหวนสักวงหนึ่ง เลยคิดว่าไม่เป็นไรไม่เอาแหวนก็ได้ ช่วยช้างเชือกหนึ่งดีกว่า ก็เลยได้ซื้อน้องมา เชื่อไหมเค้าร้องไห้ทุกครั้งที่มาหา พอเห็นเค้าร้องไห้ก็จะถามพี่ควาญว่าอันนี้ตาแฉะหรือเค้าร้องไห้ พี่ควาญบอกว่าไม่ได้ตาแฉะ นี่ช้างร้องไห้ เค้าร้องไห้จริงๆ ที่ได้เจอเราเค้าดีใจ ก็ต้องขอบคุณสถาบันคชบาลแห่งชาติ ที่ดูแลน้องทั้งสองเชือกที่ได้ฝากไว้เป็นอย่างดี และหวังว่าช้างทุกเชือกที่อยู่ที่นี่จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีด้วย”

กิฟฟารีน

 24 ปี 24 ล้านบาท ของการช่วยช้าง สร้างประโยชน์ให้กับสถาบันคชบาลแห่งชาติ และการอนุรักษ์พันธุ์ช้างไทยอย่างอเนกอนันต์ โดยคุณหมอบอกเล่าว่า วันนั้นน้องเค้าบวกมาให้ทางบัญชีเดือนละ 80,000 บาท ก็ไม่ได้เพิ่มและไม่ได้ลดเลยมาตลอด 20 กว่าปีนี้ รวมเป็นเงินประมาณ 24 ล้านบาท แต่เค้าจะขออนุญาตว่าเงินที่คุณหมอให้จะไปทำอะไรบ้าง ก็แล้วแต่ผู้อำนวยการสถาบันคชบาลแห่งชาติในช่วงนั้นๆ บางท่านก็ไปทำเป็นสวนไร่อ้อย ที่นี่มีพื้นที่เยอะ ปลูกอ้อยปลูกหญ้าเอาไว้ให้ช้าง บางผู้อำนวยการท่านก็ไม่ได้ทำ แต่ขออนุมัติว่าจะขอไปช่วยตรงนั้นช่วยตรงนี้ ตอนนี้ยังมีเงินในกองทุนของกิฟฟารีนอยู่ประมาณ 6,000,000 บาท เลยบอกท่านผู้อำนวยการท่านปัจจุบันว่าก็เอาไปใช้เถอะ เอาไปช่วยโรงพยาบาลช้างบ้างก็ได้ ถ้าต้องการจะซื้อยา ซื้อนม ซื้อแคลเซียมให้กับลูกช้าง ก็เอาไปใช้ได้

นอกจากจะอิ่มบุญและสุขใจแล้ว อานิสงส์จากการช่วยช้างที่ยิ่งใหญ่ยิ่งกว่าคือ การสร้างองค์กรต้นแบบคุณธรรมให้กับสังคมไทย โดยคุณหมอย้ำว่า สิ่งหนึ่งที่เราต้องคิดคือเราทำธุรกิจขายตรง หมายความว่าเราต้องสอนให้นักขายเข้ามาแล้วขายแบบมีจรรยาบรรณ ซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค การทำให้คนมีตังค์กับการทำให้คนเป็นคนดี บางครั้งก็มีบางอย่างย้อนแย้ง และมันค้านกัน คนที่อยากรวยกับคนที่อยากเป็นคนดี บางครั้งมันยากมากๆ ที่จะตีคู่กันไป อันนี้พูดเรื่องจริงและเรื่องตรง เพราะถ้าบอกว่าคุณจะรวยๆ ขณะเดียวกัน คุณจะต้องเป็นคนดีและเสียสละด้วย มันเป็นเรื่องที่เราต้องสอน และมันเป็นเรื่องที่คนยอมรับได้ยาก ฉะนั้นส่วนหนึ่งที่ช่วยเด็กกำพร้าเรียนหนังสือ หรือมาช่วยศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย คิดว่าในมุมกลับมันเป็นอะไรสักอย่างที่สอนให้นักขายรู้ว่าเมื่อเรามีเงินแล้ว แข็งแรงแล้ว เราควรตอบแทนคืนกลับสู่สังคม และคืนกลับสู่ผู้ด้อยโอกาสด้วย

กิฟฟารีน

สำหรับผู้มีใจบุญที่อยากจะช่วยช้าง และร่วมกันอนุรักษ์พันธุ์ช้างไทย คุณหมอฝากว่า สถาบันคชบาลแห่งชาติเป็นหน่วยงานของภาครัฐ ซึ่งได้งบประมาณที่จำกัด ท่านผู้ใจบุญที่อยากจะช่วยง่ายๆ ไม่ได้มีกำลังทรัพย์มากก็คือมาเที่ยว มาเที่ยวที่นี่ก็เป็นการสร้างรายได้ แล้วก็มีของที่ระลึกน่ารักๆให้เราซื้อกลับไป ส่วนท่านที่ซื้อช้างที่ถูกทารุณมา แล้วมาฝากที่นี่เลี้ยงไว้ ก็ไม่อยากให้ฝากแล้วจากไปนะคะ ถ้ามีกำลังก็อยากให้เอาเงินมาช่วยส่งเสียเลี้ยงดูเค้าบ้าง อย่างน้อยปีละเท่าไหร่ๆตามที่ท่านจะมีกำลัง ถ้าจะช่วยใครก็อยากให้ช่วยอย่างถึงที่สุด มันก็อาจจะไปสอดคล้องกับธรรมะของพระพุทธองค์นะคะ ว่าการให้ทานมันจะทอนความโลภ ทอนความเห็นแก่ตัวลงไป นี่คือความจริง ที่เราได้พบตลอดมาจนถึงวันนี้ ตอนนี้พนักงานของกิฟฟารีนเองก็รักสัตว์มากทีเดียว มีประชากรสุนัขและแมวอยู่ที่สำนักงานมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่ากันก็ดูแลกันไป นักธุรกิจกิฟฟารีนเป็นคนน่ารักและใจดี ทุกคนมีความสุขที่ได้เห็นว่ารายได้ส่วนหนึ่งที่เป็นผลกำไรของบริษัทจากน้ำพักน้ำแรงของพวกเขาได้กลับมาช่วยสังคมและกลับมาช่วยเด็กกำพร้าให้ได้เรียนหนังสือ ได้กลับมาช่วยสัตว์ และได้กลับมาช่วยองค์กรที่ดูแลคนด้อยโอกาส

            ทั้งนี้ “สถาบันคชบาลแห่งชาติ” ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์ของภาคเหนือ นอกจากจะมีการแสดงของช้างน่ารักๆ ที่ฝึกไว้อย่างดี ทุกคนที่มาเยือนจะได้สัมผัสว่าช้างเป็นสัตว์ที่มีความสุขเพียงใด เวลาวาดรูปก็วาดรูปอย่างมีความสุข จับหางกันแล้วก็วิ่ง หน้าตาช้างก็ดูมีความสุข เปิดให้เยี่ยมชมช้างได้ทุกวิถีชีวิต เช่น ช้างว่ายน้ำ หรือจะนั่งช้างชมวิวต่างๆ  ก็ปลอดภัย และได้ใกล้ชิดธรรมชาติ ที่สำคัญที่นี่มีโรงเรียนสอนควาญช้างให้คนที่เป็นควาญช้างกิตติมศักดิ์สอนนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการผจญภัย รับรองว่าปลอดภัยไร้อันตราย

อนุรักษ์ช้างไทย

            “ถ้าใครรู้จักช้างแล้วใกล้ชิดกับเค้าจะรู้สึกว่า ภาพที่เราคุ้นชินเห็นช้างตัวใหญ่ๆจะเดินช้าๆ หรือยืนนิ่งๆ แต่จริงๆแล้วลูกช้างตัวเล็กๆเนี่ยเค้าซนมากเลย เค้าวิ่งเร็วจี๋เลย วิ่งเร็วเหมือนลูกสุนัขซนๆ หรือลูกแมวซนๆ โดยเฉพาะตอนที่อายุไม่กี่เดือน หรือเพิ่งเกิดมา แค่ 45 หรือ 30 วัน เค้าอยากจะเล่นกับเรา บางครั้งวิ่งชนเรา หรือวิ่งจะให้เราอุ้ม วิ่งมาจะให้เรากอดเนี่ยเราเซไปเลยนะคะ เพราะว่าวิ่งเร็วมากและซุกซนมาก ลองมาชมนะคะ ลูกช้างเล็กๆน่ารักและมีพฤติกรรมที่เรานึกไม่ถึงจริงๆ ว่าจะทำได้ขนาดนั้น ตอนเจอคุณสวัสดิ์ครั้งแรก เคยบอกว่ามีช้างทั้งหมด 38 เชือก ตอนนั้นงบไม่พอสำหรับอาหารช้าง แล้ววันนี้มีช้าง 111 เชือกแล้ว มีผู้ใจบุญซื้อช้างมาฝากไว้เยอะ แต่การของบประมาณจากรัฐต้องใช้เวลานานมาก ฉะนั้นท่านผู้ใจบุญที่ตอนนี้อยากจะช่วยง่ายๆ แต่ไม่ได้มีกำลังทรัพย์มากก็คือมาเที่ยวที่นี่ มาเที่ยวที่นี่ก็เป็นการสร้างรายได้ มีของที่ระลึกน่ารักๆให้เราซื้อกลับ ของที่ระลึกเหล่านี้เป็นอะไรที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคนในนี้ และหล่อเลี้ยงชีวิตของช้างด้วย”…คุณหมอเชิญชวนทุกคนให้มาสัมผัสความน่ารักของช้างไทย และร่วมกันอนุรักษ์สัตว์คู่บ้านคู่เมืองให้เป็นมรดกของแผ่นดินสืบต่อไป.

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.