โกหกบ่อยๆ เสี่ยงภาวะสมองเสื่อม
บางครั้งเราก็มีเหตุให้ต้องโกหก ไม่ว่าต้องการถนอมน้ำใจฝ่ายตรงข้าม หรือไม่อยากให้เกิดเรื่องยุ่งยากตามมา แต่หลายคนก็ชอบพูด โกหกบ่อยๆ จนติดเป็นนิสัย ข้อมูลจากหนังสือฝึกให้ไม่คิด สำนักพิมพ์อมรินทร์ บอกว่าเมื่อพูดสิ่งที่ผิดไปจากข้อมูลดั้งเดิม ภายในใจของตัวเองก็จะเขียนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องทับลงบนข้อมูลที่ถูกต้อง
เนื่องจากความจริงและข้อมูลตรงข้ามกับคำโกหกได้ติดแน่นอยู่ในใจ จึงทำให้ความสามารถในการจัดการข้อมูลสับสน ในระยะยาวจะทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลที่จัดเก็บไว้รวนได้
เมื่อพูดโกหกถึงเครื่องประดับที่จริงๆ แล้วตัวเองเป็นคนซื้อเองว่า “เป็นของที่คนอื่นซื้อให้” เมื่อทำเช่นนี้การเชื่อมโยงข้อมูลที่เก็บไว้ก็รวน ข้อมูลอันถูกต้องที่ว่า “ซื้อจากร้านโน้น” ถูกเขียนทับด้วยข้อมูลที่ไม่ถูกต้องว่า “เขาซื้อให้เป็นของขวัญ”
พลังงานที่ทำให้การเชื่อมโยงทำงานผิดปกติคือความหลง (ความไม่รู้)
ทำให้การไหลของความคิดจึงคดเคี้ยว ไม่ตรง และเนื่องจากการสั่นสะเทือนของระบบเชื่อมโยงที่ผิดปกติ ทำให้เสียงรบกวนความคิดวิ่งมาได้ง่าย และความคิดที่ไม่ถูกก็โลดแล่นไปได้ง่ายด้วย
การแกล้งชื่นชมว่า เสื้อผ้าของเพื่อนร่วมงานนั้นสวยจังเลยนะ ทั้งๆ ที่ไม่ได้คิดว่าเสื้อผ้าของอีกฝ่ายดูดี หมายถึงทั้งๆ ที่ “ไม่ได้คิดว่าดี” แต่ “ทำเหมือนคิดว่าดี”
ความสับสนนั้นทำให้ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลและความชัดเจนเสื่อมลง ผลสุดท้ายก็กลายเป็นไม่รู้ว่าที่จริงตัวเองคิดอย่างไร
สรุปได้ว่าเวลาที่เราพูดโกหก เราจะเริ่มต้นด้วยการคิดเป็นภาพที่ไม่จริงขึ้นในใจก่อน จากนั้นจึงพูดออกไปตามภาพที่เราคิด การพูดเรื่องไม่จริงบ่อยๆ จะทำให้ภาพความจริงกับภาพความคิดปะปนกัน ก่อให้เกิดอาการสับสนจนบางครั้งผู้พูดก็ไม่สามารถแยกได้ว่า เรื่องไหนเป็นเรื่องจริง เรื่องไหนเป็นเรื่องโกหก ทำให้มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่าคนที่พูดความจริงอยู่เสมอ เพราะคนที่พูดแต่ความจริงจะเห็นภาพความจริงเพียงภาพเดียวอย่างชัดเจน ความจำจึงชัดเจนและแม่นยำ
รู้อย่างนี้แล้วพูดความจริงดีกว่าเยอะเลย
บทความที่น่าสนใจ
6 เคล็ดลับ ชื่นชมอย่างจริงใจ พูดอย่างไรไม่กลายเป็นคนเฟค!
ตกอยู่ในภาวะรู้ว่าบาป แต่ก็ต้องทำต่อไปทำอย่างไรดี ท่าน ว. วชิรเมธี มีคำแนะนำ