“มะเร็ง” เป็นโรคร้ายที่ได้ชื่อว่าคร่าชี วิตคนไทยเป็นจำนวนมาก และเป็นสาเหตุการตายสูงสุดอันดั บ 1 ของคนไทยต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา
โรคร้ายดังกล่าวไม่เพียงสร้างคว ามเจ็บปวดให้กับผู้ป่วย ยังนำความทุกข์ทรมานใจมาสู่คนรอ บข้างอีกด้วย สำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศควรตรวจสุข ภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงการเกิดโ รคมะเร็ง และเพื่อทำการรักษาได้ทันท่วงที
วันนี้เราหยิบยกโรคมะเร็งที่สาม ารถพบได้ในกลุ่มคนวัยทำงาน ได้แก่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ที่พบได้บ่อยในเพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งสาเหตุหนึ่งเป็นผลมาจากการสู บบุหรี่ และมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุ ด โดยเฉพาะกลุ่มสาววัยทำงานยุคใหม่ ที่นิยมใช้ชีวิตโสด จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจเป็น มะเร็งชนิดนี้ พร้อมนำวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ทำให้การรักษาโรคมะเร็งมีประสิท ธิภาพมากขึ้นมาเล่าสู่กันฟัง
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นมะเร็งที่มักพบในผู้ที่มีอา ยุราว 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะพบในผู้ ที่มีอายุน้อยลง และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ปัจจัยเสี่ยงหนึ่งเกิดจากบุหรี่ ทั้งผู้สูบบุหรี่ และผู้ที่ได้รับควันพิษจากการอยู่ ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่ และผู้ที่เคยมีประวัติสูบบุหรี่ แม้จะเลิกสูบแล้วก็ตาม รวมถึงการสัมผัสสารเคมีบางชนิดต่ อเนื่องเป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรร มสิ่งทอ ยาง หนัง สี และการพิมพ์ เป็นต้น
โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากการที่เซลล์เยื่อบุผนังด้ านในของกระเพาะปัสสาวะแบ่งตัวเพิ่ มมากขึ้นอย่างผิดปกติจนกลายเป็ นเนื้องอกและมะเร็งในที่สุด ในกรณีที่มีการลุกลาม เซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายลึกเข้า ไปยังผนังกระเพาะปัสสาวะชั้นอื่ น และอาจลุกลามออกไปยังเนื้อเยื่อ และอวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ปอด และตับ
การตรวจเบื้องต้น ได้แก่ การตรวจปัสสาวะ เพื่อหาว่ามีเม็ดเลือดแดงในปัสส าวะมากผิดปกติหรือไม่ รวมทั้งหาเซลล์มะเร็งที่อาจปนออ กมากับปัสสาวะ (Urine Cytology) การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy) โดยแพทย์จะส่องกล้องผ่านท่อปัสส าวะเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะ เพื่อตรวจหาตำแหน่ง ขนาด จำนวนและรูปร่างของเนื้องอก และตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิ วิทยา การตรวจทางรังสีวิทยา อาทิ การตรวจอัลตราซาวนด์ไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ (Ultrasound KUB) การตรวจไตและทางเดินปัสสาวะโดยก ารฉีดสี (Intravenous Pyelogram) และการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) บริเวณช่องท้องทั้งหมด
วิธีการรักษามะเร็งกระเพาะปัสสา วะทำได้โดยการผ่าตัดด้วยการส่ องกล้องผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปตั ดเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ (Transurethral Resection of Bladder Tumor หรือ TURBT) เพื่อตัดหรือทำลายก้อนมะเร็งและ นำเนื้อเยื่อมาตรวจว่าเป็นมะเร็ งชนิดใด และลุกลามลึกถึงชั้นไหนของกระเพ าะปัสสาวะ ในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาฆ่าเซลล์ม ะเร็งร่วมด้วยเพื่อลดโอกาสการกลั บมาเป็นซ้ำ ในกรณีที่มะเร็งลุกลามเข้าสู่ชั้นกล้ามเนื้อ หรือตั้งแต่ระยะที่ 2 ขึ้นไป แพทย์อาจต้องพิจารณาผ่าตัดกระเพ าะปัสสาวะออกทั้งหมด ร่วมกับการทำเคมีบำบัด และ/หรือรังสีรักษาเพื่อลดการลุ กลามและเกิดซํ้าของมะเร็ง
มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมพบบ่อยในผู้หญิงทั่ วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งคุณผู้หญิงที่จัดอยู่ในกลุ่ มเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ได้แก่ กลุ่มที่มีประวัติคนในครอบครัวเ ป็นโรคนี้ ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ผู้หญิงยุคใหม่ที่ไม่เคยตั้งครร ภ์หรือมีบุตรแต่ไม่ได้เลี้ยงลู กด้วยนมตนเอง เป็นต้น ซึ่งถือว่าสาว ๆ ออฟฟิศ จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจ มะเร็งเต้านมอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการรักษามะเร็งเต้านมไ ด้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษาที่ หลากหลายและตรงจุดมากขึ้น ทั้งยังลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่ วยได้ดีกว่าเดิม
การผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมถือว่ าเป็นการรักษาหลัก ซึ่งการผ่าตัดแบบเดิมคือ ตัดเต้านมออกทั้งเต้าและเลาะต่อ มน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก แต่ปัจจุบันแพทย์สามารถเก็บเต้า นมไว้ได้โดยไม่ต้องตัดออกทั้งหม ด ในกรณีที่สภาวะของเต้านมเหมาะสม เรียกว่า การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม ซึ่งแพทย์จะตัดเฉพาะก้อนมะเร็งแ ละเนื้อเยื่อปกติบางส่วนรอบ ๆ ก้อนมะเร็งออกไป และทำการฉายแสงบริเวณเต้านมที่เ หลือเพิ่มเติมเพื่อป้องกันการกลั บมาเป็นซ้ำ
ส่วนการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลือง บริเวณรักแร้ จากเดิมที่ทำการเลาะต่อมน้ำเหลื องออกทั้งหมด ปัจจุบันผู้ป่วยมีทางเลือกเพิ่ม ขึ้นคือ ผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองออกเท่า ที่จำเป็น ช่วยลดผลข้างเคียงจากการผ่าตัด เช่น แขนบวม ยกแขนไม่ขึ้น ผู้ป่วยยังคงรักษารูปทรงของเต้า นมไว้ได้ แต่ผู้ป่วยต้องมีภาวะที่เหมาะสม เช่น ก้อนมะเร็งไม่ใหญ่เกินไป เต้านมมีขนาดใหญ่พอที่จะคงรูปลั กษณ์ไว้ได้หลังผ่าตัด เป็นต้น นอกจากการผ่าตัดแล้ว แพทย์ยังพิจารณาให้การรักษาอื่น ๆ ประกอบกันเพื่อประสิทธิภาพสูงสุ ดและลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำโดย กำจัดเซลล์มะเร็งที่อาจยังหลงเห ลืออยู่ ด้วยเคมีบำบัดหรือคีโม (Chemotherapy) การฉายรังสี (Radiation Therapy) การให้ยาต้านฮอร์โมน (Hormonal Therapy) การให้ยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจ งต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดี ขึ้น
โภชนาการต้านมะเร็ง
นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว การดูแลภาวะโภชนาการยังช่วยให้ผู้ ป่วยโรคมะเร็งสามารถทนต่อผลข้ างเคียงของการรักษาและช่วยพั ฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดี ขึ้นได้เช่นกัน
สำหรับอาหารที่ผู้ป่วยมะเร็งควร ได้รับคืออาหารที่ให้โปรตีนและพ ลังงานสูง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและช ดเชยน้ำหนักที่ลดลง แต่การรับประทานเฉพาะเนื้อสัตว์ และแป้งก็ยังไม่เพียงพอ เพราะวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ผู้ป่วยควรได้รับแต่อาหารที่มีป ระโยชน์และสมดุล คาร์โบไฮเดรตต้องเป็นชนิดที่ดี เช่น ธัญพืชไม่ขัดสีที่มีกากใยสูง ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่ควรละทิ้งไขมันเสียหม ด เพราะไขมันเป็นอาหารอีกประเภทหนึ่ งที่ให้พลังงานสูง เพียงแต่ต้องละเว้นไขมันอิ่มตัว จำพวกนมเนยทั้งหลาย และเลือกรับประทานเฉพาะชนิดที่มี กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ซึ่งเป็นไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว หรือกรดไขมันที่เรียกว่าโอเมก้า 3 ซึ่งพบได้ในปลาทะเล เพราะนอกจากจะบำรุงสมองและหัวใจ แล้ว ยังช่วยลดการอักเสบได้อีกด้วย
ที่มา : บริษัท เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ , รพ.บำรุงราษฎร์
ภาพประกอบจาก unsplash.com