ครูคือเพื่อน

ครูคือเพื่อน สมการแห่งความสำเร็จ

ครูคือเพื่อน สมการแห่งความสำเร็จ

ปลายปีที่ผ่านมา University of Hawai ได้สร้างแคมเปญ “Be a Hero. Be a Teacher” ต้อนรับวันครูโลก เพื่อฉายไฟไปยังอาชีพครูซึ่งเชื่อว่าเป็นอาชีพที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิตผู้คนมากมายบนโลกนี้ และเดือนมกราคมนี้ประเทศไทยของเราก็เข้าสู่วันครูแห่งชาติ

ในวันที่โลกก้าวสู่ยุคที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน แต่ความสำคัญของ “ครู” นอกจากจะคงอยู่แล้ว ยังกลับเพิ่มมากขึ้นในบทบาทที่น่าทึ่งเพราะพวกเขาไม่ใช่แค่ “ผู้ให้ความรู้หรือผู้สอน” อีกต่อไป

โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ Warwick Institute โรงเรียนเตรียมอินเตอร์จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ได้เปิดตัวโครงการ Warwick Science โรงเรียนเตรียมอินเตอร์จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ สายวิทย์ฯ พร้อมจัดงาน “Open House  – เปิดบ้านนักวิทย์พิชิตอินเตอร์” แนะแนวการเตรียมความพร้อมสู่โปรแกรมอินเตอร์ในคณะวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และแพทยศาสตร์ โดยในช่่วงหนึ่ง ดร.อนุศักดิ์ ไชยแจ่ม ​หรือครูนุ ผู้อำนวยการโครงการ Warwick Science อีกทั้งเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาเคมี ได้สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับครูยุค 2018 ว่า

“ผมเชื่อมั่นว่าการเรียนที่ทรงประสิทธิภาพจะต้องไร้กำแพงขวางกั้นระหว่างครูกับศิษย์ เมื่อเรา ทลายกำแพงออก ครูก็สามารถเป็นเพื่อนหรือพี่ที่เด็กๆ เปิดใจคุยได้ทุกเรื่อง ความไว้วางใจนั้นจะทำให้ เด็กยอมเปิดใจให้ครูก้าวเข้าไปในโลกของพวกเขา ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นโอกาสทองที่ครูสามารถช่วยเหลือและสนับสนุนให้พวกเขาพัฒนาเส้นทางแห่งการศึกษาและพัฒนาตัวเองได้ตรงกับตัวตนที่แท้จริงของเด็กๆ”

ในงาน “Open House – เปิดบ้านนักวิทย์พิชิตอินเตอร์” ยังได้มีการแชร์แนวคิดสุดล้ำของ Warwick Science ในการพัฒนาทีมครูที่เป็น expert สายวิทย์ทุกสาขา เพื่อมาร่วมกันสร้างความสำเร็จให้กับเด็กแต่ละคนแบบ Personal Coaching & Planning วางแผนการเตรียมตัวและแผนการ สอบอย่างเหมาะสม รวมทั้งจัดหลักสูตรว่าเด็กคนหนึ่งจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร โดยดูที่นักเรียนแต่ละคนเป็นหลักว่าทำอย่างไรเด็กคนหนึ่งจึงจะประสบความสำเร็จได้ รวมไปถึงแนวคิดการทลายกำแพงกั้น ระหว่างครูกับนักเรียน “ครูคือเพื่อน” สร้างชั้นเรียนที่มีความสุข มีครูเป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นที่ปรึกษา ทำให้เด็กรู้สึกมั่นใจในการก้าวสู่คณะอินเตอร์ สายแพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์  หรือ วิทยาศาสตร์ในรั้วจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มหิดล และ มศว.

Warwick มีศิษย์เก่าสอบติดคณะอินเตอร์สายวิทย์เป็นจำนวนมาก เพราะมีความโดดเด่นเรื่อง การวางแผนเตรียมความพร้อมของนักเรียน การวิเคราะห์แนวทางในการสอบที่แม่นยำ ซึ่งการเปิด Warwick Science ในครั้งนี้ เพื่อรองรับนักเรียนที่ต้องการสอบเข้าโปรแกรมอินเตอร์ทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์เท่านั้น โดยสถิติที่ผ่านมานักเรียนของ Warwick ที่สอบเข้าโปรแกรมอินเตอร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คิดเป็นจำนวนราว 25% ของ นักศึกษาในคณะ” ดร.อนุศักดิ์ กล่าว

 ด้านอาจารย์ ปณิชา เจติยานุวัตร หรือ ครูติวเตอร์ รองผู้อำนวยการ Warwick Science และเป็นอาจารย์วิชาคณิตศาสตร์ ของ Warwick Science ได้เสริมว่า “อีกหนึ่งภารกิจ สำคัญของครูยุค 2018 คือ การช่วยให้เด็กค้นพบตัวเอง อัลเบิร์ต ไอสไตน์ เคยพูดไว้ว่า “ทุกคนมี ความเป็นอัจฉริยะ แต่ถ้าตัดสินปลาจากความสามารถในการปีนต้นไม้ ปลาก็จะเชื่อว่ามันโง่ไปตลอดชีวิต” ครูจึงต้องช่วยดึงความสามารถ และจุดเด่นของนักเรียนออกมาว่าเขาเก่งอะไร แม้เด็กจะมีความ สามารถไม่เท่ากัน แต่ครูสามารถพาเด็กทุกคนไปถึงฝันได้เท่ากัน นำเด็กก้าวออกมาจากจุดที่ยืน อยู่เพื่อเดินไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า สนับสนุนให้นักเรียนมีความกล้าทำในสิ่งที่พวกเขาไม่ เคยทำได้

“เด็กไทยส่วนใหญ่ค้นหาตัวเองไม่เจอ ทำให้ขาดแรงจูงใจในการเรียน ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง เด็กนักเรียนมองหาคนที่เข้าใจ พร้อมที่จะสนับสนุน เป็นที่ปรึกษาให้กับเขา ครูควรทำตัวเป็นผู้สนับสนุน  สร้างแรงบันดาลใจ ให้กำลังใจ คอยอยู่เคียงข้างเขาทั้งยามสมหวังและผิดหวัง คอยอำนวยความ สะดวกให้กับเด็ก มากกว่าเป็นผู้ออกคำสั่ง…ถ้าย้อนกลับไปตอนเด็กติวเตอร์ก็อยากจะมีครูที่มาช่วย แนะนำให้เราได้ทำในสิ่งที่ชอบ การเป็นครูของติวเตอร์ในวันนี้จึงสะท้อนถึงวัยเด็กของตัวเองว่า…เราจะ ต้องเป็นคนๆ นั้นที่เราอยากมี”

“เคยมีนักเรียนคนหนึ่งเดินเข้ามาบอกผมว่า ผมมีความฝันที่อยากเรียนสายวิทย์ เพราะความฝันของผมอยากเป็นหมอ แต่ เมื่อเราได้สัมผัสเขาและได้มีการพูดคุย จริงๆเรารู้สึกว่าได้ว่าทุกอย่างที่เขาพูดหรือตอบคำถามที่ผมถาม ผมรู้สึกได้ว่าเขาไม่อยากเป็นหมอ และยิ่งผมสนิทกับนักเรียนคนนี้มากขึ้นเท่าไหร่ ผมจึงได้รับรู้ว่าครอบครัวของนักเรียนคนนี้พ่อแม่แยกทางกัน เขาเป็นลูกคนเดียว เด็กรู้สึกไม่มีจุดยืน เลยคิดว่าการเรียนหมอจะทำให้พ่อแม่ยอมรับ หลังจากที่ผมใช้เวลาพูดคุยกับเขา ดังนั้นผมเลย ลองให้เขาได้สำรวจตัวเองในหลายๆด้าน ในที่สุดเด็กก็ค้นพบตัวเองว่าเขาชอบวิศวะ มากกว่าและทุกวันนี้เขามีความสุขกับสิ่งที่เขาเป็นมาก รวมทั้งพ่อแม่ก็มีความสุขด้วย” ดร.อนุศักดิ์ เล่าปิดท้ายถึงหนึ่งในความรู้สึกภาคภูมิใจกับการเป็นครู

“ครูที่ดี จะต้องรู้วิธีนำสิ่งที่ดีที่สุดออกมาจากตัวนักเรียน

และพวกเขาจะสอนออกมาจากหัวใจ ไม่ใช่จากเพียงในหนังสือ”

Posted in NEWS
BACK
TO TOP
cheewajitmedia
Writer

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.