เที่ยวรอบเมืองด้วย รถราง ชิมอาหารท้องถิ่น และทำความรู้จักกับต้นดาวอินคา ณ ชุมชนบ้านถิ่น จ.แพร่

นั่ง รถราง แบบชิลๆ เที่ยวเมืองแพร่

 

1

2

3

นั่ง รถราง สัมผัสวิถีชีวิตที่น่าชื่นใจกับเมืองน่ารัก น่าอยู่และเต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามหลายแห่ง ที่จังหวัดแพร่ นอกจากจะได้ใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์แล้ว เราจะยังได้ชิมอาหารขึ้นชื่อที่ถือว่าเป็นอาหารท้องถิ่นของชาวแพร่อีกด้วย นอกจากนี้เรายังจะได้ทำความรู้จักกับพืชน้องใหม่ และเยี่ยมชมสวนแก้วมังกรของเกษตรกรชาวบ้านถิ่นที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือเลยก็ว่าได้ แถมยังจะได้เยี่ยมชมการหลอมเครื่องเงินด้วยวิธีแบบโบราณอีกด้วย เห็นไหมคะว่าที่จังหวัดแพร่แห่งนี้มีเรื่องดีๆ ให้เราได้ชื่นใจกับเพียบเลย

4

5

เริ่มต้นด้วยกิจกรรมสโลว์ไลฟ์นั่งรถรางชมเมืองกันก่อนเลยจุดบริการรถรางสถานีหลักจะเริ่มต้นที่คุ้มเจ้าหลวง ซึ่งจะพานักท่องเที่ยวกินลมชมวิว ผ่านสถานที่สำคัญรอบตัวเมืองเก่าทั้งหมด 19 จุด โดยรถรางแต่ละเที่ยวจะมีมัคคุเทศก์คอยให้คำแนะนำประจำรถและบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ที่รถรางแล่นผ่าน โดยวันจันทร์ – ศุกร์ วิ่ง 1 รอบ / เสาร์ – อาทิตย์ วิ่ง 2 รอบ และไม่เก็บค่าใช้จ่ายค่ะ

6

หนึ่งจุดที่รถรรางจะแวะให้เที่ยวและเยี่ยมชมคือวัดหลวง เป็นวัดเก่าแก่ที่ก่อสร้างมาพร้อมกับเมืองแพร่ (.. 1372) จึงเป็นแหล่งรวบรวมประวัติศาสตร์และศิลปะวัฒนธรรมของเมือง

7

และอีกหนึ่งที่คือคุ้มวิชัยราชา เรือนไม้สักโบราณ (.. 2434) โดยมีประวัติความเป็นมาว่าพระวิชัยราชาได้ให้เป็นที่พักกับคนไทยเพื่อซ่อนตัวบนเพดานบ้าน จนรอดพ้นจากผู้ก่อการร้าย ใครที่ชอบวิถีการท่องเที่ยวชมเมืองแบบสโลว์ไลฟ์ก็อย่าลืมแวะเวียนมานั่งรถรางชมเมืองกันที่จังหวัดแพร่ด้วยนะคะ

8

หลังจากเที่ยวตัวเมืองกันแล้วก็ถึงเวลาไปสถานที่ชื่นใจของเรากันบ้าง การเดินทางไปชุมชนบ้านถิ่นไม่ยากเลยค่ะ จากจุดขึ้นลงรถรางที่คุ้มเจ้าหลวง ตรงมาตามถนนเจริญเมือง เมื่อถึงแยกสถานกีฬาให้เลี้ยวซ้ายเพื่อเข้าสู่ถนนทุ่งโฮ้งร้องกวาง และเมื่องตรงมาเรื่อยๆ เจอสามแยกให้เลี้ยวขวาจากนั้นก็ตรงมาอีกจนผ่านสี่แยกร่องฟอง และขับตามป้ายบอกทางไปทางพระธาตุช่อแฮ ใช้เวลาไม่นานก็จะถึงชุมชนบ้านถิ่นแล้วค่ะ

9

10

สิ่งแรกที่เราจะพาไปชื่นใจคือการชิมอาหารท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแพร่ที่ถ้าไม่ได้กินถือว่ามาไม่ถึง นั่นก็คือขนมจีนน้ำย้อย ที่ร้านขนมเส้นน้ำย้อย By อินดี้ โดยขนมจีนน้ำย้อยจะแตกต่างจากขนมจีนทั่วไปคือใช้เส้นที่บีบกันสดๆ แล้วก็เสิร์ฟกันสดๆ และยังต่างจากขนมจีนอื่นๆ ตรงที่ไม่มีน้ำยาแต่จะใช้น้ำซุปแทน เสิร์ฟคู่กับน้ำพริกที่มีส่วนผสมของกากหมู หอมเจียว และกินแกล้มกับผักค่ะ

11

12

13

อีกหนึ่งของดีที่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนานของชุมชนชุมบ้านถิ่นอย่างเครื่องเงิน ที่เราจะเห็นวางจำหน่ายอยู่ทั่วในชุมชน มีทั้งเครื่องเงินที่ทำขึ้นมาใหม่สำหรับการค้าขาย และยังมีเครื่องเงินที่สะสมมาเป็นเวลานานอย่างพวกเหรียญเงิน ข้าวของเครื่องใช้สมัยโบราณ นอกจากจะเก็บไว้ดูเองแล้วยังเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ย่อมๆ ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเยี่ยมชมอีกด้วยค่ะ

14

15

16

อย่างร้านกำไรทอง นอกจากหน้าบ้านจะเปิดขายเครื่องเงินแล้ว หลังบ้านของคุณลุงเจ้าของร้านยังคงหลอมเงินบริสุทธิ์ด้วยเทคนิคแบบโบราณด้วย โดยจะนำเครื่องประดับเงินที่ชำรุดเสียหายมาแปรสภาพให้เป็นเงินแท้อีกครั้งโดยผ่านกระบวนการแยกแร่เงินด้วยน้ำกรด ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการต่างๆ แล้วก็จะได้ออกมาเป็นผงเงินบริสุทธิ์ หลอมจนก้อนเงินแห้งๆ เริ่มละลายกลายเป็นน้ำ

17

18

19

ส่วนวิธีการที่จะทำให้เงินแข็งตัวอีกครั้งจะใช้การเทลงในน้ำที่มีอุณหภูมิปกติ จากนั้นก็จะถูกนำไปหลอม แกะ และตีให้หลายเป็นรวดลายจนกลายเป็นเครื่องเงินที่จำหน่ายอยู่ในชุมชนค่ะ

20

21

จากร้านขายเครื่องเงินเรามากันที่วัดถิ่นในกันบ้าง วัดแห่งนี้มีศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับชาวไทลื้อ ซึ่งถือว่าเป็นเชื้อสายดั้งเดิมของชาวบ้านถิ่นอีกด้วย โดยบ้านแบบไทลื้อจะมีลานโล่งกลางบ้าน ห้องนอนก็จะปูนอนกับพื้นธรรมดา และสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เปรียบเสมือนหิ้งที่ใช้บูชาผีบ้านผีเรือนตั้งอยู่ที่มุมห้อง

22

23

24

หน้าต่างของบ้านไทลื้อก็จะแตกต่างจากบ้านทั่วไปคือจะไม่มีบานหน้าต่างแต่จะใช้วิธีการเปิดปิดด้วยการสไลด์ด้านข้าง ส่วนครัวของชาวไทลื้อก็จะอยู่บนบ้านมุมใดมุมหนึ่ง และที่สะดุดตาสุดๆ เห็นทีจะเป็นแผ่นไม้ยาวๆ ที่ขาวงเอาไว้กลางบ้านที่เรียกว่าไม้ “ต้อง” หรือไม้ต้องห้าม มีไว้สำหรับบ้านที่มีลูกสาว ด้านหนึ่งจะไว้สำหรับสาวๆ นั่งปั่นฝ้ายกัน และฝ่ายชายจะอยู่อีกฝั่งหนึ่ง ถ้าฝ่ายชายล้ำเส้นมาก็จะถือว่าผิดผี ชายผู้นั้นก็จะต้องแต่งงานกับสาวบ้านนั้นตามความเชื่อของชาวไทลื้อ

25

26

อีกมุมหนึ่งของบ้านจะมีสาวๆ ชาวไทลื้อมาโชว์งานฝีมือให้เราได้เห็น ซึ่งจุดนี้เป็นกิจกรรมที่เปิดให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมนั่นก็คือการทดลองทำดอกไม้มะกรูดใบเตยค่ะ

27

28

ภายในศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้นอกจากจะมีบ้านไทลื้อให้เราได้ชมแล้ว ยังมีการร่วมกลุ่มกันภายใต้ชื่อกลุ่ม “ทอผ้าไทลื้อ” ซึ่งจะนำผ้าทอที่มีรวดลายและสีสันแบบชาวไทลื้อมาผลิตเป็นของที่ระลึกสำหรับจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวอีกด้วย

29

30

หลังจากนั้นก็มาสักการะพระธาตุถิ่นหลวงซึ่งเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทลื้อ องค์พระธาตุจะมีสีขาวทั้งองค์ และมีรูปปั้นช้างอยู่โดยรอบ ซึ่งถือว่าที่นี่เป็นที่เคารพนับถือและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทลื้ออีกด้วย

31

32

จากนั้นเรามาชมสวนเกษตร ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกพืชน้องใหม่มาแรงที่มีชื่อว่าดาวดินคา มีทั้งประโยชน์มากมายและยังสามารถรับประทานได้ทุกส่วน ยอดอ่อนสามารถนำมารับประทานได้ทั้งแบบสด หรือว่าจะนำไปทำอาหารประเภทผัด ลวก หรือว่าแกงจืด และที่สำคัญยังสามารถรับประทานได้ในรูปแบบแห้งนั่นก็คือชาใบดาวอินคานั่นเองค่ะ

33

34

หลังจากที่เก็บใบของดาวอินคามาแล้วเราก็มาทำชากันแบบสดๆ ส่วนเปลือกของดาวอินคานั้นจะช่วยลดไขมัน คลอเลสเตอรอล และเบาหวานได้ดี นอกจากใบและเปลือกจะมีประโยชน์แล้ว เมล็ดด้านในของดาวอินคายังมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงสมองอีกด้วยค่ะ

35

นอกจากนี้เรายังได้ทราบมาอีกว่าชาวบ้านชุมชนบ้านถิ่นกว่า 80 ครัวเรือน ปลูกแก้วมังกรเป็นหลักและด้วยพื้นที่ปลูกกว่า 600 ไร่ ทำให้ที่ชุมชนบ้านถิ่นแห่งนี้ถือว่าเป็นแหล่งปลูกแก้วมังกรที่ใหญ่ที่สุดทางภาคเหนือเลยค่ะ

36

37

ซึ่งเดิมชาวบ้านนั้นประสบปัญหาในเรื่องของการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ไม่ได้ผล แต่เมื่อหันมาทดลองปลูกแก้วมังกรก็พบว่าแก้วมังกรชอบดินลูกรัง แถมรสชาติยังออกมาหวานอร่อยเป็นที่ต้องการของตลาด เรียกได้ว่าออกมาเท่าไหร่ก็ขายหมด และเมื่อปลูกกันเยอะขึ้นชาวบ้านจึงมีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนสำหรับเกษตรกรที่ปลูกแก้วมังกรอีกด้วย

38

39

ผลผลิตแก้วมังกรจากสวนต่างๆ จะถูกนำมารวบรวมและขายให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนซึ่งจะทำหน้าที่คัดแยกขนาด ตรวจสอบมาตราฐานและจำหน่ายออกสู่ตลาด แก้วมังกรจะถูกคัดแยกทีละเจ้าไม่มีการปะปนกัน ซึ่งแก้วมังกรเหล่านี้จะถูกนำมาเข้าเครื่องคัดแยกตามน้ำหนักของแก้วมังกรแต่ละลูก ลูกไหนหนักมากกว่า 300 กรัม ก็จะได้เบอร์ 00 ถือว่าเป็นไซส์ใหญ่จัมโบ้ แต่ละเบอร์ก็จะมีน้ำหนักลดหลั่นกันลงมา ส่วนลูกไหนที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 100 กรัม ขอบอกเลยว่าแก้วมังกรลูกนั้นไม่ได้ไปต่อ ส่วนแก้วมังกรที่ถูกแบ่งเป็นเบอร์ต่างๆ แล้วจะถูกนำมาช่างน้ำหนักของแต่ละเบอร์เพื่อเป็นการคำนวนรายได้ของเจ้าของสวนที่จะได้รับจากการขายแก้วมังกรแต่ละครั้ง และขั้นตอนสุดท้ายแก้วมังกรจะถูกบรรจุลงลังกระดาษ จากนั้นก็เขียนเบอร์กำกับไว้เพื่อส่งขายต่อไป

40

41

42

จากนั้นเรามากันที่โรงอบแก้วมังกรกันบ้าง ซึ่งวันนี้เป็นครั้งแรกที่ชาวบ้านจะทำการอบแก้วมังกร ขั้นตอนนั้นก็ไม่ยากค่ะ แก้วมังกรที่ปลอกเปลือกและหั่นเป็นแผ่นๆ แล้วจะถูกนำมาเข้าเครื่องไล่ความชื่นประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นก็นำไปเข้าเครื่องอบอีก 5 ชั่วโมง

43

ทางทีมงานชื่นใจไทยแลนด์จึงจับมือกับเจ้าของแบรนด์ Mazmoizella ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ และ Designer จากแบรนด์ Zhowcase ร่วมกันออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับใส่แก้วมังกรอบแห้งที่นอกจากจะอร่อยแล้ว ยังมีบรรจุภัณฑ์เก๋ๆ ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และยังสามารถซื้อติดไม้ติดมือไปฝากคนที่บ้านได้อีกด้วย

1

การมาเที่ยวจังหวัดแพร่ในครั้งนี้ทำให้เราได้สำผัสกับการท่องเที่ยวที่แตกต่างไปจากเดิมไม่ว่าจะเป็นการนั่งรถรางชมบรรยากาศเมืองแสนน่ารัก อบอุ่น ครั้งแรกที่ได้รู้จักกับถั่วดาวอินคา และได้รู้จักกับวิถีชีวิตของเกษตรกรสวนแก้วมังกร ที่สำคัญยังได้รับความรักความอบอุ่นจากพี่น้องในชุมชนบ้านถิ่น เรียกได้ว่าตกหลุมรักจังหวัดแพร่ แต๊ แต๊ เลยเจ้า

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากอมรินทร์ทีวี ร่วมกับโครงการพลังประชารัฐและไทยเบฟเวอเรจ
ขอบคุณภาพสวยๆ จากรายการชื่นใจไทยแลนด์ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา  21:30 น. ช่อง 34 อมรินทร์ทีวี

 

ติดต่อเยี่ยมชมชุมชน
กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านถิ่น ต.บ้านถิ่น โทร. 080-497-0600
วิสาหกินชุมชนกลุ่มแก้วมังกร ต.บ้านถิ่น โทร. 080-034-2329

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.