เสียงดัง เเค่ไหนเรียกว่า “มลพิษทางเสียง”
เสียงดัง จากกระเเสดราม่าร้อนเเรงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากการตีระฆังเสียงดัง ของวัดไทร ทำให้ผู้ที่อาศัย (คนเดียว ??) อยู่ในคอนโดข้างๆ อดรนทนไม่ไหว เพราะเสียงดังมาก เสี่ยงหูหนวก น่ารำคาญ จนต้องไปฟ้องสำนักงานเขต ไม่วายต้องโร่ออกหนังสือเตือนวัดดัง จนกลายเป็นกระเเสข่าวดังอยู่ในชั่วโมงนี้
เเต่เอ๊ะ!! เสียงจะดังจนทำให้หูหนวก หูบอด สร้างความเสียหายต่อหูได้มากจริงหรอ
อาจารย์จุฬา ระบุ เสียงตีระฆัง ไม่ทำให้หูหนวก เพราะความดังไม่ถึง 100 เดซิเบล
ล่าสุด อาจารย์สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความแสดงความเห็นลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า
“หากความดังของการตีระฆัง อยู่ที่ 120 เดซิเบล ในระยะ 1 เมตร คาดว่า ระดับความดังของการตีระฆัง วัดจากหอระฆังไปยังตัวคอนโดมิเนียม ที่ห่างประมาณ 300 เมตร หรือ 800 เมตร อยู่ที่ประมาณ 62-70 เดซิเบล ที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ทั้งนี้ปัจจัยการได้ยินของแต่ละชั้น จะไม่เท่ากัน เพราะถ้ายิ่งสูง จะได้ยินเสียงตีระฆังเบาลง”
อย่างไรก็ตามมาตรฐานระดับเสียงทั่วไปตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) กำหนดให้ค่าระดับเสียงทั่วไป เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ต้องไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ และค่าระดับเสียงสูงสุด ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ ถึงจะถือว่าปลอดภัย ไม่ก่อมลภาวะทางเสียงให้น่ารำคาญแค่คนอื่น
สำหรับค่ามาตรฐานของเสียงที่บุคคลหนึ่งจะได้รับที่ไม่กระทบกับสุขภาพตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก คือ 80 เดซิเบลเอ ต่อการได้ยินตลอด 24 ชั่วโมง
เสียงในชีวิตประจำวันดังแค่ไหน
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากรมควบคุมมลพิษ ได้ยกตัวอย่างระดับเสียงในชีววิตประจำวัน ไว้เป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้
- เสียงดังจากสวนสาธารณะ มีระดับ 45 เดซิเบลเอ
- เสียงดังในที่ทำงาน มีระดับเสียง 65 เดซิเบลเอ
- เสียงจราจร เสียงรถบรรทุก ระดับเสียง 90 เดซิเบลเอ
- เสียงเครื่องเจาะถนน 115 เดซิเบลเอ
- เสียงเครื่องบินขึ้น 125 เดซิเบลเอ
ค่ามาตรฐานเสียงรบกวน กฎหมายกำหนดไว้ที่ 10 เดซิเบลเอ ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2550)
เจอ เสียงดัง เเบบนี้ไม่อยากหูตึง เสี่ยงหูหนวกต้องหลีกเลี่ยงบริเวณที่ เสียงดัง นะครับ