ไขข้อข้องใจ ฮอร์โมนเพศ หญิง โปรเจสเตอโรน หาได้จากอาหารหรือไม่
พูดถึง ฮอร์โมนเพศ หญิง โปรเจสเตอโรนเป็นหนึ่งใน ฮอร์โมน เหล่านั้น ซึ่งร่างกายผลิตขึ้นมาโดยการสังเคราะห์จากคอเลสเตอรอล เป็นกระบวนการผลิตและหมุนเวียนที่ซับซ้อน วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจ ว่าในอาหารและสารอาหารจากธรรมชาติ จะสามารถทดแทนฮอร์โมนชนิดนี้ได้หรือไม่
ว่าด้วยโปรเจสเตอโรน
ต่อมหมวกไตจะผลิตโปรเจสเตอโรนได้ในจำนวนไม่มาก ซึ่งนอกเหนือจากนั้นจะมาจากรังไข่ โดยได้รับอิทธิพลมาจากภาวะมีประจำเดือนและการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนไม่พบในอาหาร แต่ถึงอย่างไร ยังมีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่าอาหารบางประเภท (เช่น ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองหมัก และอาหารที่มีวิตามินซีและอี อาจส่งเสริมให้ร่างกายผลิตโปรเจสเตอโรน)
แอล-อาร์จินีน และวิตามินอี
ผลวิจัยที่ตีพิมพ์ลงใน Journal of Ovarian Research ในเดือนมกราคม ปี 2009 จากนักวิจัยชาวญี่ปุ่นเผยว่า 67 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงที่กินวิตามินอีทุกวัน มีระดับโปรเจสเตอโรนสูง และอีก 71 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มที่กินแอล-อาร์จินีน (กรดอะมิโน) ก็เช่นกัน
วิตามินอีนั้นพบได้ในเมล็ดทานตะวัน เมล็ดอัลมอนด์ ฮาเซลนัท พีนัทบัตเตอร์ ส่วนแอล-อาร์จินีน พบในเมล็ดงา และเมล็ดฟักทอง
วิตามินซี
อย่างที่รู้กันดีกว่าอนุมูลอิสระคือตัวทำลายเซลล์และขัดขวางการทำงานต่างๆของร่างกาย แน่นอนว่าร่วมไปถึงการผลิตฮอร์โมนเพศด้วยเช่นกัน สารแอนติออกซิแดนซ์อย่างวิตามินซีช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้อย่างดีเยี่ยม
ในการศึกษาในผู้หญิง 122 คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการมีบุตร พบว่า ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้นด้วยการให้กินวิตามินซีเสริมทุกวัน วันละ 750 มิลลิกรัม
รายงานตีพิมพ์ลงในวารสาร Fertility and Sterility ในเดือนสิงหาคมปี 2003 แสดงผลระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ดีขึ้นและอัตราการมีบุตรเพิ่มขึ้นในผู้หญิงที่กินวิตามินซี เปรียบเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้กิน
วิตามินซีพบมากใน ส้ม เกรปฟรุ้ต น้ำมะเขือเทศ ฝรั่ง กีวี่ และพริกหวาน
ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองหมัก
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลงอย่างมากหลังหมดประจำเดือน แต่จะก่อผลลัพธ์ต่อเนื่องไว้ให้ร่างกายในระยะยาว รวมไปถึงกลุ่มอาการหลังหมดประจำเดือนด้วย
จากการศึกษาพบรายงานในวารสาร ” Asia Pacific Journal of Clinical Nutrition” ฉบับ เดือนกุมภาพันธ์ปี 2013 แสดงให้เห็นสัญญาณการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในกลุ่มผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน 31 คน ที่มีถั่วเหลืองหมักเป็นส่วนประกอบในอาหารเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน เปรียบเทียบกับผู้หญิง 29 คน ที่ถูกจำกัดให้กินถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการหมัก
การเปลี่ยนจากถั่วเหลืองเป็นถั่วเหลืองหมักด้วยกรรมวิธีต่างๆ ซึ่งจะมีการบ่มและการเจริญเติบโตของแบคทีเรียดีในระยะเวลาหลายวัน ทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง ยกตัวอย่างเช่น มิโสะ นัตโตะ และ เท็มเป้
—————————————————–
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
วิธีปรับฮอร์โมนสู้ วัยทอง
แก้หงุดหงิดง่าย ผู้ชายวัยทอง
ไลฟ์สไตล์ต้องเปลี่ยน พร้อมสู้ วัยทอง