เพื่อนร่วมงานขาเม้าท์

5 วิธีรับมือ เพื่อนร่วมงานขาเม้าท์ ขี้โม้ดีนัก ต้องเจอแบบนี้!

5 วิธีรับมือ เพื่อนร่วมงานขาเม้าท์ ขี้โม้ดีนัก ต้องเจอแบบนี้!

5 วิธีรับมือ เมื่อต้องนั่งทำงานใกล้ เพื่อนร่วมงานขาเม้าท์ ที่ชอบทำเสียงดัง! หนึ่งในประชากรหลักของออฟฟิศทั่วไปที่มักจะพบเจอได้บ่อยๆ คือ เพื่อนร่วมงานที่ชอบทำเสียงดัง เช่น ตั้งวงเม้าท์กันเอง เปิดเพลงเสียงดัง ตะโกนคุยข้ามโต๊ะไปมา ซึ่งก็ช่วยสร้างสีสันให้วันทำงานของเราไม่เงียบเหงาและเคร่งเครียดจนเกินไป แต่ถ้าเป็นแบบนี้บ่อยครั้ง ยิ่งถ้าเราต้องทำงานที่ใช้สมาธิด้วยแล้ว อาจจะเป็นการรบกวนจนทำให้ไม่เป็นอันทำงาน และไม่มีความสุขกับการทำงานได

รู้แบบนี้แล้ว มาดูวิธีการรับมือแบบละมุนละม่อมเพื่อให้ออฟฟิศของยังคงมีสีสัน มีความเกรงใจซึ่งกันและกัน และมีประสิทธิภาพในการทำงาน Happy ทุกคนกันค่ะ


::: หูฟังสร้างสมาธิ :::

หลายคนชอบฟังเพลงคลอไประหว่างทำงาน ช่วยให้มีสมาธิจดจ่อมากขึ้น แถมได้ประโยชน์ในการปิดกั้นเสียงเม้าท์มอยไม่พึงประสงค์ได้อีกต่อ แต่ก็ต้องดูกฎของออฟฟิศด้วย หากออฟฟิศไม่อนุญาตให้ใช้หูฟังหรือฟังเพลงระหว่างทำงานก็คงต้องใช้วิธีอื่นแทนค่ะ


::: ห่างไกลร้อยลี้ :::

ถ้าตำแหน่งที่นั่งของเราอยู่ใกล้กับต้นกำเนิดเสียงที่แสนรบกวนการทำงานนี้ หากในออฟฟิศของเรายังมีที่นั่งว่าง ลองขอย้ายที่นั่งในออฟฟิศดู ถ้าสามารถขอย้ายได้ ก็จะดีต่อสุขภาพจิตและผลงานในการทำงานของเราเองค่ะ


::: ก๊กที่สามตักเตือน :::

คุณอาจใช้บุคคลที่สามไปบอกกล่าวอย่างสุภาพ ให้กลุ่มขาเม้าท์เริ่มรู้สึกตัวว่า เสียงของพวกเธออาจเป็นมลภาวะทางเสียงกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ เช่น ฝากทางป้าแม่บ้านไปบอกเบาๆ เพราะแม่บ้านในออฟฟิศบางแห่ง ก็เป็นผู้มีอิทธิพลที่ทุกคนในออฟฟิศรู้สึกเกรงใจ


::: สองหัวดีกว่าหัวเดียว :::

ลองชักชวนเพื่อนร่วมแผนก หรือเพื่อนร่วมงานที่ประสบปัญหาเดียวกับเรา ไปขอร้องกลุ่มเม้าท์ให้ลดใช้เสียงลดหน่อย ขอร้องอย่างซอฟท์ๆ เช่น “เธอจ๋า ลูกค้าโทรมา เราคุยกับลูกค้าไม่ค่อยถนัดเลย” ไปคนเดียวแล้วรู้สึกเขิน ไปด้วยกันสองคนอาจจะช่วยให้ได้ผลมากขึ้น


::: ท่านเปาขาช่วยด้วย :::

หากทุกวิธีนั้นยังไม่ได้ผลจริงๆ ฝ่ายบุคคลก็เป็นที่พึ่งให้พวกคุณในออฟฟิศได้ ถ้ามันเกินมือของพนักงานอย่างเราแล้ว เห็นที อาจจะต้องขอความช่วยเหลือจากหัวหน้าของเราหรือผู้ใหญ่ในออฟฟิศที่บุคคลเหล่านั้นให้ความเคารพยำเกรงให้ช่วยพูดให้


สุดท้ายแล้ว การอยู่ร่วมกันในออฟฟิศก็เหมือนการอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความเกรงใจกันซึ่งกันและกัน ขาเม้าท์ทั้งหลายก็เม้าท์กันให้พอดีๆ มีกาลเทศะด้วย เพื่อบรรยากาศที่ดีและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของทุกคนนะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ

Work Tips: วิธีรับมือกับ เพื่อนร่วมงานชอบนินทา ขี้เม้าท์ดีนัก ต้องเจอแบบนี้!

วิธีป้องกันไม่ให้ เพื่อนร่วมงานรุกล้ำพื้นที่ส่วนตัว

6 เพื่อนร่วมงานนิสัยแย่ และวิธีรับมือเมื่อต้องเผชิญกับคนแบบนี้

วิธีรับมือ จัดการ และอยู่ร่วมกับ เพื่อนร่วมงาน นิสัยไม่ดี เพื่อการทำงานที่มีความสุข

Posted in MIND, NEWS
BACK
TO TOP
cheewajitmedia
Writer

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.