เรียนรู้ค่าวัดความดันโลหิต ด้วยตนเอง ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ฆาตกรเงียบคร่าชีวิตทั่วโลก

ค่าความดันโลหิต เรียนรู้ด้วยตัวเอง ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

รู้หรือไม่ วันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันความดันโลหิตสูงโลก  ซึ่งเป็นไปตามมติและข้อตกลงของสมาพันธ์ความดันโลหิตสูง (World Hypertension League) และสมาคมโรคความดันโลหิตสูงนานาชาติ (International Society of Hypertension) ในปีนี้  พ.ศ.2562 ยังใช้คำขวัญเดิม เพื่อการรณรงค์เรื่องความดันโลหิตสูง คือ ให้รู้ค่าความดันโลหิตของตนเอง(Know Your Numbers) เพื่อให้ประชากรทั่วโลกเพิ่มความตระหนักต่อโรคความดันโลหิตสูง เรียนรู้และรู้จักป้องกันตัวเองจากโรคความดันโลหิตสูง

ดังนั้นเรามาเริ่มต้น รู้จักโรคความดันโลหิตสูงและสาเหตุ รวมไปถึงวิธีการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงไปพร้อมๆ กันครับ

ความดันโลหิตสูง คืออะไร

โรคความดันโลหิตสูง คือ ผู้ป่วยที่มีค่าความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป แต่หากวัดความดันโลหิตเมื่ออยู่ที่บ้านค่าความดันโลหิตไม่ควรเกิน 135/85 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งสำหรับคนปกติแล้วจะมีค่าความดันโลหิตประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าหากวัดค่าความดันโลหิตได้สูง 1 ครั้ง ควรวัดซ้ำเป็นประจำทุกวันเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ เพื่อวินิจฉัยให้แน่นอนว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่

สัญญาณและอาการแทรกซ้อน โรคความดันโลหิตสูง

กรมสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค  อธิบายว่า หากผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นระยะเวลานาน ไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที  จะมีอาการปวดศีรษะ ใจสั่น ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย วิงเวียน สับสน หายใจลำบาก และหัวใจเต้นผิดปกติ หากมีภาวะความดันโลหิตสูงแล้วไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ เป็นเวลานาน จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ หลอดเลือดแดงในตาเสื่อม ตามัว ตาบอด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง

ใครบ้างเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

กรมสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคได้ให้รายละเอียดโรคความดันโลหิตสูงและสาเหตุที่สำคัญ ที่ทำให้คนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เช่น มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม  กินอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง (เช่น ปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเครื่องดื่มเกลือแร่) การสูบบุหรี่ การขาดออกกำลังกาย การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย  มีภาวะอ้วน มีภาวะเครียดสะสม ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีอายุที่มากขึ้น รวมไปถึงมีพ่อ แม่ หรือญาติพี่น้องสายตรงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้มีโอกาสต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้น

รับมือและป้องกันอย่างไรดี

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง สำหรับประชาชนทั่วไป โดยการแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  ในสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562 ไว้ดังต่อไปนี้

  1. จำกัดการกินเกลือและโซเดียมในอาหาร เพราะองค์การอนามัยโลกกำหนดปริมาณการบริโภคโซเดียมที่เหมาะสมไว้ ไม่เกินวันละ 2 กรัม และปริมาณโซเดียม 2 กรัม เทียบเท่ากับเกลือแกง 1 ช้อนชา หรือ น้ำปลาหรือซีอิ๊วขาว 3-4 ช้อนชา โดยน้ำปลาหรือซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา มีโซเดียมประมาณ 350 – 500และผงชูรส 1 ช้อนชา มีโซเดียมประมาณ 500 มิลลิกรัม
  2. งดสูบบุหรี่  หรือสูดควันบุหรี่ และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  3. ควบคุมน้ำหนักให้มีค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI ตั้งแต่ 18.5 – 22.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และมีเส้นรอบเอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คือ ผู้ชายไม่เกิน 90 เซนติเมตร หรือ 36 นิ้ว และผู้หญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร หรือ 32 นิ้ว
  4. เพิ่มกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เน้นควรออกกำลังกายแบบแอโรบิค อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน โดยสามารถเลือกออกกำลังกายที่ระดับความหนักแตกต่างกันได้ดังนี้
    – ระดับปานกลาง หมายถึง ออกกำลังกายจนชีพจรเต้นร้อยละ 50-70 ของชีพจรสูงสุดตามอายุ (อัตราชีพจรสูงสุด = 220 – อายุ) รวมเป็นระยะเวลาเฉลี่ยสัปดาห์ละ 150 นาที
    – ระดับหนักมาก หมายถึง ออกกำลังกายจนชีพจรเต้นมากกว่าร้อยละ 70 ของชีพจรสูงสุดตามอายุ ควรออกกำลังกายเฉลี่ยสัปดาห์ละ 75-90 นาที
  1. วัดความดันโลหิตเป็นประจำ ทุกวันในช่วงเวลาเช้าและก่อนนอน

ค่าความดันโลหิต เครื่องวัดความดัน

เคล็ดไม่ลับเลือกใช้เครื่องวัดความดันโลหิตด้วยตัวเอง

  1. เลือกเครื่องวัดความดันโลหิตที่ได้รับการรับรองจากสถาบันการแพทย์
  2. ต้องเเน่ใจว่าสายพันมีความพอดีกับข้อมือและแขนเพราะถ้าใหญ่หรือเล็กเกินไปการอ่านผลจะไม่แม่นยำ
  3. เลือกเครื่องวัดความดันแบบอัตโนมัติหรือดิจิทัลที่วัดผ่านการพันต้นเเขนหรือข้อมือ
  4. เครื่องวัดความดันต้องมีจออ่านข้อมูลดิจิทัลที่แสดงผลได้ชัดหน้าจอมีเเสงสว่างเพียงพอและควรแสดงค่าอัตราชีพจรหรือการเต้นของหัวใจด้วย

หากใครกำลังมองหาเครื่องวัดความดันโลหิตด้วยตนเองอยู่ ขอแนะนำเครื่องวัดความดันโลหิตของออมรอนที่มีฟังก์ชันครบครัน ทั้งยังได้รับการันตีจากสถาบันการแพทย์ระดับโลก ซึ่งใช้เทคโนโลยี Intellisense ที่มีเฉพาะในแบรนด์ออมรอน โดยเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ต้องเพิ่มลม ช่วยให้บีบรัดน้อยลง ทำให้รู้สึกสบายแขน

ไม่เพียงเท่านี้เครื่องวัดความดันของออมรอนยังมีให้เลือกหลายแบบทั้งเครื่องวัดความดันแบบต้นแขนที่สามารถวัดความดันง่ายๆ ได้ที่บ้าน อย่างเช่น รุ่น JPN500 ที่ผลิตจากญี่ปุ่น หรือ รุ่น HEM-7130 ที่มีความแม่นยำและสะดวกด้วยเทคโนโลยี Enhanced IntelliSense หรือจะเป็นรุ่น HEM-7600T ที่ตอบสนองคนรุ่นใหม่โดยสามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนเพื่อการแสดงผลข้อมูลที่รวดเร็วมากขึ้นและเรียลไทม์อีกทั้งบันทึกประวัติค่าความดันโลหิตได้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีเครื่องวัดความดันแบบข้อมือ อย่างเช่น รุ่น HEM-6181 ที่ใช้งานง่าย แสดงผลอย่างแม่นยำไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตาม หรือรุ่น HEM-6232T ที่มีความพิเศษสามารถส่งค่าความดันโลหิตผ่านแอป Omron Connect โดยเชื่อมต่อผ่านบลูทูธได้อย่างง่ายดาย

สิ่งที่ควรเตรียมก่อนการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตมีดังนี้

  1. ก่อนการวัดความดันโลหิตควรหลีกเลี่ยง หรืองดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และไม่สูบบุหรี่  30 นาที
  2. ไม่ควรวัดความดันโลหิตหลังจากอาบน้ำทันที
  3. ไม่ควรวัดความดันโลหิตหลังจากการออกกำลังกายทันที
  4. พับแขนเสื้อขึ้นหากสวมเสื้อแขนยาว เพื่อใช้ผ้าพันแขนไว้บนผิวหนังเมื่อวัดความดันโลหิต
  5. เก็บบันทึกการอ่านค่าความดันโลหิตทุกครั้ง รวมถึงบันทึกเวลาในการวัดความดันโลหิตด้วย

นอกจากเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว ลองหาเครื่องวัดความดันโลหิตไว้ติดบ้าน คอยเช็กความดันโลหิตด้วยตัวเองก็ดีนะ
สามารถติดต่อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับเครื่องวัดความดันโลหิตได้ที่

บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด
Website : www.omronhealthcare-ap.com
Facebook : OMRON Healthcare Thailand
Line : @Omron Healthcare
Call Center : 02-021-5555

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.