คู่มือ Caregiver กับการเริ่มต้นการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว

เมื่อถึงเวลาที่ต้องดูแลพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ในวัยชรา สิ่งที่ทุกคนเป็นกังวลมากที่สุดคือ ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นจากตรงไหน และทำแบบไหนถึงจะเรียกว่าดูแลพวกท่านเหล่านี้ให้ดีที่สุด สิ่งเหล่านี้สามารถศึกษาและหาความรู้เพื่อนำมาใช้ได้จริงไม่ยากค่ะ เพียงแค่ต้องใส่ใจในทุกรายละเอียดเท่านั้นเอง

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการดูแลผู้สูงอายุของบ้านเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความอดทนสูงสักหน่อย เพราะเนื่องจากสภาพร่างกายที่อ่อนแอลง หรืออาการป่วยจากโรคภัยต่างๆ แต่คงเป็นไปได้ยากที่ลูกๆ หรือผู้ดูแลจะจำรายละเอียดได้ทั้งหมด แต่เชื่อเถอะว่าทุกเรื่องเป็นสิ่งที่ศึกษาได้ ขอเพียงเปิดใจ และพร้อมเรียนรู้ เพื่อคนที่เรารักค่ะ

ยิ่งพยายามดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยมากขึ้นเท่าไร  สิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันก็มากขึ้นตามไปด้วย ความจริงแล้วการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือทุกเรื่องกลับทำให้ร่างกายของพวกท่านอ่อนแอลง ฉะนั้ น ควรเริ่มจากการสังเกตพฤติกรรมว่าทำอะไรไม่ได้บ้าง แล้วเข้าไปช่วยเหลือในเรื่องนั้น เช่น

สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกาย

ค่อยๆ สังเกตอิริยาบถตลอดทั้งวันของพวกท่านอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบว่าสิ่งใดที่ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยทำด้วยตัวเองไม่ได้ เพื่อประเมินความช่วยเหลือต่อไป

ปล่อยให้ทำในเรื่องที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้

คนส่วนใหญ่มักยื่นมือเข้าช่วยเหลือทันที ถ้าเห็นผู้สูงอายุทำอะไรไม่ค่อยถนัด การปล่อยให้พวกเขาทำสิ่งนั้นด้วยตัวเอง แม้จะช้าสักหน่อย แต่ยังเป็นโอกาสให้ได้ใช้ร่างกายตามปกติ แทนที่จะปล่อยให้เสื่อมไป ฉะนั้น ลองหายใจเข้าออกลึกๆ ทำใจให้สบาย คอยดูอยู่ใกล้ๆ จะดีกว่าค่ะ

ระวังท่าทางที่มาจากความเคยชิน

จากการสังเกตทำให้ผู้ดูแลเห็นอิริยาบถเฉพาะของแต่ละคน เช่น อาการปวดขาข้างใดข้งหนึ่งแบบเรื้อรัง ทำให้เดินตัวเอียง หรือยกขาไม่ค่อยขึ้นขณะเดิน ซึ่งควรได้รับความช่วยเหลือเพื่อปรับท่าทางให้กลับมาปกติ

ยื่นมือเข้าช่วยเฉพาะเรื่องที่ทำไม่ได้เท่านั้น

ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยพยายามจะทำด้วยตัวเอง แต่ใช้เวลานานแค่ไหนก็ไม่สำเร็จ ผู้ดูแลควรยื่นมือเข้าช่วยเหลือทันที และพยายามคิดถึงความรู้สึกของพวกท่าน เช่น รู้สึกเจ็บ กลัว หรือหงุดหงิด หรือถนอมความรู้สึกตั้งแต่เนิ่นๆ

ทีนี้เราลองมาดูเรื่องของการดูแลผู้สูงอายุในแต่ละเรื่องว่ามีอะไรบ้าง และสิ่งไหนที่เราต้องดูแลและใส่ใจเป็นพิเศษบ้าง

สุขอนามัยที่ดี

เริ่มจากการดูแลสุขอนามัยของร่างกายก่อนเลยค่ะ อย่าง การลด ละ เลิกสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า พฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหรือการหกล้ม ไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ร่างกายแข็งแรงดีควรตรวจสุขภาพและตรวจคัดกรองโรคประจำวัย ของผู้สูงอายุ เช่น สมองเสื่อม ซึมเศร้า กระดูกพรุน ภาวะการมองเห็นหรือการได้ยินผิดปกติ เป็นประจำทุกปี

>>อ่านต่อหน้าถัดไป<< 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.