ผู้สูงอายุ, เช็คระดับการได้ยิน, หู, ระดับการได้ยิน, หูตึง, สูยเสียการได้ยิน

เช็คระดับการได้ยิน ก่อนใช้เครื่องช่วยฟัง

เช็คระดับการได้ยิน ก่อนใช้เครื่องช่วยฟัง ป้องกันโรคซึมเศร้า

เช็คระดับการได้ยิน ก่อนเข้าสู่การใช้เครื่องช่วยฟัง ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้สูญเสียการได้ยิน 2,300 รายที่ไม่ได้ใช้ เครื่องช่วยฟังมีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นถึง ร้อยละ 50

งานนวิจัยล่าสุดที่นําเสนอต่อสมาคมจิตวิทยาอเมริกันเผยว่า หากสูญเสียการได้ยินแล้วไม่รีบรักษา จะทําให้เป็นโรคอื่นๆ ตามมา โดยนักวิจัยพบว่า ผู้สูญเสียการได้ยิน 2,300 ราย ที่ไม่ได้ใช้เครื่องช่วยฟังมีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นถึง ร้อยละ 50

นอกจากนี้การที่ผู้ป่วยมักดิ้นรนอยู่ในความเงียบจะทําให้ผู้ป่วยเก็บกด ตึงเครียด และฉุนเฉียว ดร.เดวิด มายเออร์ อาจารย์วิชาจิตวิทยา วิทยาลัยโฮป ประเทศสหรัฐอเมริกา เจ้าของงานวิจัย ชี้ว่า ผู้มีปัญหาที่มีอายุระหว่าง 20-69 ปี มีแนวโน้มที่จะขอความช่วยเหลือน้อยกว่าผู้ที่อายุ 70 ปีขึ้นไปกว่าครึ่ง ในขณะที่เมื่อการได้ยินแย่ลง ความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมและโรคทางกระบวนการคิดอื่นๆ จะเพิ่มขึ้นไปด้วย

ดงันั้น เมื่ออายุมากขึ้นอวัยวะต่างๆ ก็ย่อมเสื่อมสภาพไปตามวัยไม่เว้นแม้กระทั่งหู หูตึงจึงเป็นภาวะที่มักพบในผู้สูงอายุ บางคนเป็นมากจนกระทั่งไม่สามารถได้ยินเสียงเรียกของลูกหลานเลย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจําวันแน่นอน

ว่าแล้วเรามาเช็คระดับการได้ยินก่อนใช้เครื่องช่วยฟังกันดีกว่า

เครื่องช่วยฟัง, เช็คระดับการได้ยิน, หู, ดูแลสุขภาพ, ผู้สูงอายุ
หากมีปัญหาการได้ยินแล้วไม่ใช้เครื่องช่วยฟัง เสี่ยงป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

ข้อมูลจาก รศ.นพ.วิชญ์ บรรณหิรัญ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายว่า โดยปกติแล้วระดับการได้ยินปกติจะอยู่ระหว่าง-10จนถึง 25 เดซิเบล ผู้ที่มีระดับการได้ยินสูงกว่านี้ ถือว่ามีความผิดปกติของระดับการได้ยิน โดยแบ่งเป็นระดับต่างๆ ดังนี้

ระดับการได้ยิน (เดซิเบล) ความผิดปกติ
-10 ถึง 25  การได้ยินปกติ
26 ถึง 40  หูตึงเล็กน้อย
41ถึง 55  หูตึงปานกลาง
56 ถึง 70  หูตึงมาก
70 ถึง 90  หูตึงอย่างรุนแรง
มากกว่า 90  หูหนวก

มลพิษทางเสียงทําหูเสื่อมก่อนวัย

ผลการสํารวจเรื่องมลพิษเสียงในสิ่งแวดล้อมของศูนย์โสตประสาทการได้ยินกรุงเทพฯ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลและกรมควบคุมมลพิษ พบว่า

ประชาชนที่อยู่ริมถนนร้อยละ 21.2 มีการได้ยินผิดปกติและสูญเสียการได้ยินจากการรับเสียงดังมากเกินไปร้อยละ 19.2 โดยอายุเฉลี่ยของประชาชนที่สํารวจนั้นอยู่แค่ 33 ปีเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่สํานักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา(USEPA) เสนอว่า ไม่ควรมีใครต้องสูญเสียการได้ยินก่อนอายุ 40 ปี และจากการสํารวจยังพบว่า ผู้ที่ฟังเพลงบนรถไฟฟ้าหรือรถไฟใต้ดินจะเปิดเสียงดังอยู่ที่ 95

ทดสอบการได้ยินง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง

แบบที่ 1 ถูนิ้วห่างจากหูด้านขวา ประมาณ 1 นิ้ว แล้วสลับมาด้านซ้าย สังเกตการได้ยินสียงทั้งสองข้างว่า ดังเท่ากันหรือไม่ และได้ยินเสียงเบาที่สุดแค่ไหน ตามปกติเมื่อถูนิ้วเบาๆ ที่ข้างหู ก็จะได้ยินเสียงแล้ว

แบบที่ 2 ให้เพื่อนกระซิบที่หูข้างขวา แล้วมากระซิบที่หูข้างซ้าย คุณได้ยินเสียงกระซิบนั้นหรือไม่ หากได้ยินไม่ชัด ให้พูดทวนข้อความนั้น และสังเกตดูว่า ได้ยินเสียงเบาที่สุดแค่ไหน ตามปกติคนเราจะได้ยินเสียงกระซิบที่ห่างจากหูในระยะ 10 เซนติเมตร


บทความอื่นที่น่าสนใจ

แผนจีนรักษา หูอื้อ คนทำงาน

5 วิธี สยบเวียนหัว อาการบ้านหมุน

ความเเตกต่างอัลไซเมอร์ VS สมองเสื่อม และวิธีป้องกันแบบง่ายที่คุณไม่เคยรู้

สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.