เครื่องฟอกอากาศ PM 2.5

คู่มือเลือก เครื่องฟอกอากาศ ป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5

คู่มือเลือก เครื่องฟอกอากาศ ป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5

เครื่องฟอกอากาศ หรือ เครื่องกรองอากาศ ป้องกันฝุ่นละออง  PM 2.5 ในปัจจุบันมีมากมายหลายแบรนด์ในท้องตลาด  แถมมีคุณสมบัติที่เเตกต่างกันด้วย แล้วผู้บริโภคอย่างเราจะเลือกเครื่องฟอกอากาศอย่างไร ให้เหมาะสม คุ้มค่า ประหยัดค่่าใช้จ่ายของเรามากที่สุด

อ่านเพิ่มเติม : ความรู้เบื้องต้น : ฝุ่นละออง PM2.5 และ PM 10

ข้อมูลจาก วารสารศิริราช มีคำเเนะนำเคล็ดลับการเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศสำหรับผู้ที่กำลังจะซื้อครั้งเเรก ควรพิจารณาดังต่อไปนี้

1. พิจารณาขนาดของห้อง เพราะขนาดของห้องมีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศ โดยมีหลักการที่ไม่ต่างจากการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับพื้นที่ขนาดห้อง

2. ค่า CADR (Clean Air Delivery Rate ) อัตราการเปลี่ยนถ่ายอากาศต่อชั่วโมง เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือค่าที่บอกว่าเครื่องนี้ฟอกสิ่งสกปรกออกจากอากาศได้ปริมาณมากแค่ไหนใน 1 นาที ซึ่งจะประกอบด้วยตัวเลข 3 ชุด

  • ชุดทำความสะอาดที่มีฝุ่นละออง
  • ชุดอากาศที่มีเกสรดอกไม้
  • ชุดอากาศที่มีควันบุหรี่

3. Air Volome   จะเป็นเครื่องที่สามารถทำความสะอาดตัวเองได้ ในกรณีที่กรองสิ่งสกปรกเข้าใปในตัวเครื่องจำนวนมาก

4.ฟังก์ชั่นต่างๆ ที่ควรพิจารณา เช่น ระบบออโต้โหมด ความเงียบขณะเครื่องทำงาน เพื่อไม่ให้รบกวนการนอนหลับ และที่สำคัญการบริการหลังการขาย อะไหล่เครื่องทดแทนที่ชำรุด ศูนย์บริการที่สะดวกในการติดต่อ เเละนำเครื่องไปซ่อม

5.Power Usage อัตราการกินไฟ อาจเทียบเคียงกันสัก 2-3 แบรนด์ ตัวไหนคุณภาพเท่าเทียมกัน กินไฟน้อยที่สุด

 

เครื่องฟอกอากาศ PM 2.5

นอกจากนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ iurban ได้สรุปไว้ 5 เทคนิคหลักๆ ดังนี้

1. ดูความละเอียดฟิลเตอร์ หรือไส้กรองของเครื่องฟอกอากาศ

มาตรฐานฟิลเตอร์แบ่งออกได้ราว 3 ประเภท คือ

  • EPA มีความละเอียดในการกรอง 3 ระดับ ได้แก่ E 10, E 11 และ E 12 สามารถดักจับฝุ่นที่มีความละเอียดได้ราว 85-99.5%
  • HEPA มี 2 ระดับ ได้แก่ H 13 และ H 14 มีความละเอียดในการดักจับฝุ่นราว 99.95-99.9995%
  • ULPA ที่มีความละเอียดในการดักจับฝุ่นมากที่สุด ได้ถึง 99.9995-99.999995%

สำหรับฟิลเตอร์ที่แพทยสภาแนะนำสำหรับการเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศ ก็คือ HEPA เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นสูง  เพราะแค่ HEPA ก็เพียงพอที่สามารถดักจับแบคทีเรียแลัเกษรดอกไม้ ที่เป็นสาเหตุของอาการภูมิแพ้ได้

2. การเปลี่ยนฟิลเตอร์ในอนาคต

เมื่อซื้อเครื่องฟอกอากาศมาแล้ว หากใช้ไปสักพัก ฟิลเตอร์ที่เก็บและดักฝุ่นมานาน อาจหมดประสิทธิภาพ หากไม่เปลี่ยน เครื่องฟอกอากาศอาจกลายเป็นพัดลมตัวหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่สามารถฟอกอากาศได้ ซึ่งผู้บริโภคไม่ต้องกังวลไป เพราะเครื่องฟอกอากาศหลายรุ่นมักจะมีตัวจับเวลาเปิด ปิดเครื่อง เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้รู้ว่าควรจะเปลี่ยนฟิลเตอร์เมื่อใด

4. ฟังก์ชั่นเสริมในการฆ่าเชื้อโรค

เช่น การนำไอออนมากำจัดเชื้อโรค หรือการเพิ่มฟิลเตอร์คาร์บอนเพื่อดูดซับกลิ่น รวมถึงการใช้ประจุไฟฟ้า ไทเทเนียม หรือแสงอัลตราไวโอเลท เป็นต้น แต่ก็มีข้อระมัดระวังสำหรับบางฟังก์ชั่น เช่น การนำโอโซนเข้ามาใช้ฆ่าเชื้อโรค แต่ไม่เหมาะที่จะเปิดเป็นเวลานาน เพราะจะส่งผลต่อเซลล์ในร่างกาย

5. ฟังก์ชั่นเสริมอื่นๆ

การเลือกเครื่องฟอกอากาศที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ เช่น สามารถเชื่อมต่อ WIFI ได้ หรือสั่งงานผ่านแอพพลิเคชั่นทางโทรศัพท์มือถือได้ แม้ว่าเรายังไม่ถึงบ้าน ก็เปิดเครื่องฟอกอากาศรอได้เลย หรือบางรุ่นก็ปรับอัตราการอากาศเองได้อัตโนมัติเมื่อมีปริมาณฝุ่นมากขึ้น

อย่าลืมนะคะซื้อ เครื่องฟอกอากาศ เครื่องกรองอากาศทั้งที อย่าลืมประเมินข้อมูลข้างบนนี้ให้ถี่ถ้วน เพราะจะได้ตอบโจทย์ความคุ้มค่า เเละราคาประหยัด

 

อ้างอิง วารสารศิริราช และเว็ปไซต์ iurban 

บทความเพิ่มเติม

เช็คด่วน ใครเสี่ยงได้รับผลกระทบจากมลพิษอากาศ PM 2.5 มากที่สุด

9 ต้นไม้ปลูกในบ้าน ฟอกอากาศ

ปลูกต้นไม้ดูดสารพิษพิชิต PM 2.5

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.