ฝุ่น PM 2.5 : ใครบ้างเสี่ยงได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ
ความจริงแล้วทุกคนสามารถได้รับผลกระทบจาก มลพิษทางอากาศ (ฝุ่น PM 2.5) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสัมผัสเป็นเวลานาน แต่อย่างไรก็ตามคนบางกลุ่มอาจมีความอ่อนไหวมากกว่าคนอื่น ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ มลพิษที่แตกต่างกันอาจส่งผลกระทบแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น มลพิษหลายชนิดอาจก่อให้เกิดอาการในผู้ที่เป็นโรคหอบหืด ในขณะที่คนเป็นโรคหัวใจ มักได้รับผลกระทบจากมลพิษของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก
กลุ่มที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบมากขึ้น
- ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ อาจทำให้อาการของคุณแย่ลงหรือทำให้เกิดโรคหอบหืด ควรเตรียมยาให้พร้อมเเละปรึกษาเเพทย์เมื่อมีอาการรุนเเรง ป้องกันอาการกำเริบ
- ผู้ที่เป็นโรคปอด เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือที่เรียกว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือปอดอุดกั้นเรื้อรัง การได้รับมลพิษทางอากาศอาจทำให้อาการแย่ลง ใช้ยารักษาโรคและไปพบแพทย์หากอาการรุนแรง
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศอาจทำให้เกิดอาการ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก หรือหายใจถี่ หากอาการหรือมีอาการรุนแรงควรขอคำแนะนำจากแพทย์ หรือแผนกฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด
กลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อมลพิษทางอากาศ
- ทารกในครรภ์ (หญิงตั้งครรภ์): การสัมผัสกับระดับสูงของมลพิษทางอากาศในระยะเวลานาน (เช่นสัปดาห์ถึงเดือน) อาจเชื่อมโยงกับผลลัพธ์การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น น้ำหนักแรกเกิดลดลงหรือการคลอดก่อนกำหนด
- เด็กมีแนวโน้มที่จะเสี่ยงต่อการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศมากกว่าผู้ใหญ่ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
2.1 ปอดกำลังเติบโตและพัฒนา
2.2 ระบบภูมิคุ้มกันและเมแทบอลิซึมยังคงพัฒนาอยู่
2.3 ประสบจากการติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย
2.4 เด็กมีกิจกรรมกลางแจ้งมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นอาจได้รับฝุ่นจากการหายใจในปริมาณที่มากขึ้น
อย่างไรก็ตามหลักฐานส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นว่า สิ่งนี้มีแนวโน้มมากขึ้นในสถานการณ์ที่ฝุ่นละอองมีความเข้มข้นสูงขึ้น ในระยะเวลานานและไม่เพียงแค่ไม่กี่วัน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าการเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศในระยะสั้นมีผลถาวรต่อปอดที่กำลังพัฒนา เด็กบางคนมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ ซึ่งรวมถึงเด็กที่มีสภาวะปอดเรื้อรัง เช่นโรคหอบหืดและโรคปอดเรื้อรัง
3. ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศมากขึ้น อาจเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงหรือภาวะสุขภาพทางเดินหายใจ มีโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดที่ยังไม่เคยได้รับการวินิจฉัย
อย่างไรก็ตามใครที่รู้ตัวว่าอยู่ในกลุ่มเสี่่ยงควรเลี่ยงสัมผัสฝุ่นละออง (PM 2.5) นะคะ
อ้างอิง : www.health.nsw.gov.au
บทความน่าสนใจ
ความรู้เบื้องต้น : ฝุ่นละออง PM2.5 และ PM 10
วิธีป้องกันฝุ่น PM2.5 ที่มากระทบสมอง ปอด หัวใจ ของผู้สูงอายุ