เลือกวิตามินแก้อาการ วัยทอง
วัยทอง ที่คุณแม่เป็น หนังสือมหัศจรรย์อาหารต้านโรค อธิบายสรุปไว้ว่า ก่อนที่ผู้หญิงจะเข้าสู่วัยหมดประจำ เดือน ฮอร์โมนในร่างกายจะขึ้นๆ ลงๆ อยู่เป็น 10 ปี เราเรียกอาการแบบนี้ว่า ภาวะก่อนหมดประจำเดือน
ผู้หญิงที่อยู่ ในภาวะก่อนหมดประจำเดือนจะยังคงมี ประจำเดือนอยู่ แต่อาจมีอาการต่างๆ อันเนื่องมาจากการลดลงของระดับฮอร์โมน เอสโทรเจน เมื่อหมดประจำเดือน ร่างกายของ ผู้หญิงจะผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการ สืบพันธุ์โดยเฉพาะเอสโทรเจนได้น้อยลง จะไม่มีการตกไข่และไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป
ผู้หญิงที่อยู่ในภาวะก่อนหมดประจำ เดือนและภาวะหมดประจำเดือนมักมี อาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน เหงื่อออกเวลากลางคืน นอนไม่หลับ และมีอาการช่องคลอดแห้ง
เลือกวิตามินธรรมชาติ
คุณหมอธิดากานต์แนะนำให้คุณแม่วัยทองกินสารอาหารดังนี้
ไฟโตเอสโทรเจน
อาหารที่มีไฟโตเอสโทรเจนสามารถบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนและหมดประจำเดือนได้ โดยไฟโตเอสโทรเจนมีโครงสร้าง คล้ายฮอร์โมนเอสโทรเจนในมนุษย์ แต่มีปริมาณน้อยกว่า งานวิจัยบางเรื่อง พบว่า สารไอโซฟลาโวนซึ่งเป็นไฟโตเอสโทรเจนชนิดหนึ่งที่พบในถั่วเหลือง สามารถบรรเทาอาการร้อนวูบวาบและช่องคลอดแห้งได้ โดยไฟโตเอสโทรเจน พบในถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เมล็ดแฟลกซ์ น้ำมะพร้าว
แคลเซียมและวิตามินดี
ฮอร์โมนเอสโทรเจนที่ลดลงทำให้ผู้หญิงเสี่ยงเป็น โรคกระดูกพรุน ยิ่งหากไม่ได้รับการดูแลสุขภาพแล้วมาตั้งครรภ์ โอกาสเป็น โรคกระดูกพรุนยิ่งสูง ดังนั้นผู้หญิงก่อนและหลังหมดประจำเดือนควรกิน อาหารที่มีแคลเซียมสูง
กรดแอมิโนทริปโตเฟน
กรดแอมิโนชนิดนี้จะเปลี่ยนไปเป็นสารเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมองที่ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย จึงช่วยบรรเทา อาการอารมณ์แปรปรวนและอาการซึมเศร้าแบบอ่อนๆได้ นอกจากนี้อาจารย์สาทิสยังแนะนำให้กินวิตามินในกลุ่มต่างๆดังนี้
วิตามินเอ ช่วยลดอาการเบื่ออาหาร พบมากในผักใบเขียวเข้มและผัก สีเหลืองเข้ม
วิตามินอี ช่วยต้านอนุมูลอิสระ แก้อาการช่องคลอดแห้ง พบในธัญพืช ไม่ขัดขาว ถั่วเปลือกแข็ง
วิตามินซี ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งช่วยชะลอความ เหี่ยวย่น พบในผลไม้ตระกูลส้ม
เลือกวิตามินเสริม
คุณหมอธิดากานต์แนะนำว่า “แนะนำว่าให้ตากแดดอ่อนๆเพื่อรับวิตามินดี ให้เต็มที่ แต่ถ้าไม่ค่อยได้โดนแดด สามารถกิน วิตามินดีได้วันละ 400 ไอยู กรณีตรวจพบว่ามีภาวะ ขาดวิตามินดี แพทย์จะให้วิตามินดีขนาดระหว่าง 2,000 – 4,000 ไอยู “ส่วนแคลเซียมต้องพิจารณาเป็นกรณีๆไป
หากมีความเสี่ยงกระดูกพรุน คือเป็นผู้หญิงตัวเล็ก ไม่ออก กำลังกาย ประจำเดือนหมดเร็ว หรือมีประวัติคน ในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน ควรเข้ารับการตรวจ ภาวะกระดูกพรุน “หากพบว่ามีภาวะกระดูกพรุนและไม่มีโรค หลอดเลือดหัวใจเป็นโรคประจำตัว สามารถกิน แคลเซียมเสริมได้ ซึ่งแนะนำเป็นรูปแบบแคลเซียม ซิเตรตขนาด 1,000 – 1,500 มิลลิกรัม”
หนังสือวิตามินไบเบิล โดย ดร.เอิร์ล มินเดลล์ สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ แนะนำวิตามินสำหรับ ผู้หญิงวัยทองว่า การกินวิตามินอีในรูปโทโคฟีรอลรวม ขนาด 200 – 400 ไอยู พร้อมกับซีลีเนียม วันละ 1 – 2 ครั้ง สามารถบรรเทาอาการร้อนวูบวาบได้
(ข้อมูลจาก คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 428)
บทความน่าสนใจอื่นๆ