เผายาสมุนไพร คืออะไร ?
การ เผายาสมุนไพร คือเวชปฏิบัติแผนไทยที่ใช้หลักการเพิ่มธาตุไฟเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยใช้การเผาไฟเพื่อทำให้เกิดความร้อนผ่านเครื่องยาสมุนไพรไปทำปฏิกิริยากับชั้นผิวหนัง กล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อเน้นการใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน เพื่อรักษาผู้ป่วยธาตุไฟหย่อน
หัตถการเผายาสมุนไพรมักทำบริเวณกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น แผ่นหลัง ขา หรือรักษาอาการเฉพาะจุด เช่น หัวเข่า หน้าท้องบริเวณรอบสะดือ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของเส้นประธานสิบตามหลัก
ประวัติความเป็นมาของการเผายาสมุนไพร
“ศาสตร์การเผายาสมุนไพร มีมาตั้งแต่สมัยโบราณในยามเกิดอุบัติเหตุหรือไม่สบายกาย ชาวบ้านจะทำแคร่ยกพื้นสูง ปูด้วยไม้ไผ่ผ่าเป็นซี่ ด้านบนมีใบไม้สมุนไพรหลายชนิด เช่น ใบเปล้า ใบหนาด จากนั้นจะนำคนเจ็บขึ้นไปนอน โดยสุมไฟอ่อนๆ อยู่ด้านล่าง”
ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยกล่าวว่า ร่างกายประกอบด้วยไฟ 4 กอง เมื่อใดก็ตามที่ไฟอ่อน ลมจะพัดได้ไม่ดี ทำให้การไหลเวียนภายในร่างกายติดชัด ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ แพทย์แผนไทยมีการบำบัดรักษาความเจ็บป่วยด้วยการใช้ไฟจากธรรมชาติ รวมถึงการใช้ความร้อนเพื่อรักษาธาตุไฟ ในร่างกายให้สมดุลหลากหลายวิธี เช่น การอยู่ไฟ การใช้ลูกประคบ การอบสมุนไพร การย่างยา และการเผายาสมุนไพร
อาจารย์แพทย์แผนไทยสุรศักดิ์ สิงห์ชัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก อธิบายเรื่องการเผายาสมุนไพรว่า จากการศึกษาคั้นคว้าพบว่า ศาสตร์การเผายาสมุนไพรน่าจะมีที่มาจาก การย่างยาสมุนไพรซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในยามเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม ตกต้นไม้ ตกเกวียน หรือไม่สบายกายชาวบ้านจะทำแคร่ยกพื้นสูง ปูด้วยไม้ไผ่ผ่าเป็นชื่ ด้านบนมีใบไม้สมุนไพรหลายชนิด เช่น ใบเปล้าใบหนาด จากนั้นจะนำคนเจ็บขึ้นไปนอน โดยสุมไฟอ่อน ๆ อยู่ด้านล่าง
“ผมพบว่าหมอยาทางภาคอีสานนิยมย่างยากันมาก ทำแล้วได้ผลดี ต่อมาเพื่อให้รักษาได้ง่ายขึ้น จึงประยุกต์ปรับปรุงกลายมาเป็นการเผายาโดยหมอยาพื้นบ้านใช้สมุนไพรหลักใกล้เดียงกับการทำลูกประคบ มีหัวไพล ขมิ้น ตะไคร้ ผิวมะกรูด ส้มปอย ช่วยแก้อักเสบ และใบสมุนไพรอื่น ๆ ตามแต่ละภูมิภาคเสริมเข้ามา บางพื้นที่พบการใช้ผักบุ้งร่วมด้วย”
กรรมวิธีการเผายาสมุนไพรประกอบด้วยเภสัชวัตถุ 2 ประเภทคือ พืชวัตถุและธาตุวัตถุ
พืชวัตถุ ใช้สมุนไพรฤทธิ์ร้อนหลายชนิด ช่วยลดอาการอักเสบปวด บวม เคล็ดขัดยอก เป็นสมุนไพรที่หาได้ง่ายในชุมชนหรือตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น เช่น หัวไพล ขมิ้น ตะไคร้ ผิวมะกรูด ใบส้มป่อย ขิง ข่า นำมาสับหรือบดพอหยาบแล้ววางบนตัวคนไข้ในตำแหน่งที่ต้องการรักษา เกลี่ยให้มีความหนาพอสมควร
จากนั้นใช้ธาตุวัตถุ คือผงการบูร โรยลงไปเพื่อเป็นเชื้อเพลิงให้จุดไฟติด
“พอไฟเริ่มอ่อน พ่อหมอจะโรยผงการบูร ควันขึ้นโขมงเลย นี่คือวิธีโบราณ นิยมผากลางแจ้ง ใต้ต้นไม้ หรือตามลานบ้าน เพราะมีควันมาก สมัยผมเรียนเห็นการเผายาทั้งทางภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ จึงยืนยันไม่ได้ว่าใครเป็นต้นตำรับ การเผายาที่ผมเห็นเป็นองค์ความรู้ที่สืบต่อกันมา”
สมุนไพรที่นิยมใช้เผายา
- เหง้าโพล สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย ลดอาการอักเสบ ลดบวม
- ผิวมะกรูด สรรพคุณ มีน้ำมันหอมระเหย ช่วยแต่งกลิ่น
- ตะไคร้บ้าน สรรพคุณ แก้เคล็ดขัดยอก ช่วยแต่งกลิ่น
- ใบมะขาม สรรพคุณ แก้อาการคันตามผิวหนัง ทำความสะอาดผิว
- ขมิ้นอ้อย สรรพคุณ ลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
- ใบสัมป๊อย สรรพคุณ บำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง
- เกลือแกง สรรพคุณ ช่วยดูดความร้อน ช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนัง
- การบูร สรรพคุณ แต่งกลิ่น
ประโยชน์ของการ เผายาสมุนไพร
- ช่วยเพิ่มธาตุไฟในร่างกาย เพื่อบรรเทาอาการเลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก
- ลดอาการปวดเมื่อยและกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
- ขับลมในลำไส้ แก้อาการอึดแน่นท้อง
- แก้อาการท้องผูก
ตำแหน่งที่เผายาสมุนไพร
โดยทั่วไปใช้กับมัดกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ คือกล้ามเนื้อบ่า หลัง หน้าท้อง ขา เข่า
ข้อควรระวังของการเผายาสมุนไพร
- ผู้ที่มีอาการชาตามผิวหนัง
- ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต
- ผู้ป่วยเบาหวาน
- ผู้ป่วยที่เคยแพ้พืชหรือสมุนไพร
ข้อควรปฏิบัติขณะเผายาสมุนไพร
- ห้ามหลับขณะเผายา
- เมื่อรู้สึกอุ่น ๆ บริเวณผิวหนังให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
ที่มา : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 580
เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ