สถาบันวิจัยฟรีสแลนด์คัมพิน่าร่วมนักโภชนาการไทย ลงพื้นที่สำรวจสุขภาพเด็กไทย

สถาบันวิจัยฟรีสแลนด์คัมพิน่าร่วม นักโภชนาการไทย ลงพื้นที่สำรวจสุขภาพเด็กไทยกว่า 3,500 คนทั่วประเทศ

สถาบันวิจัยฟรีสแลนด์คัมพิน่า ประเทศเนเธอร์แลนด์ร่วมมือกับ นักโภชนาการไทย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลเริ่มลงพื้นที่สำรวจภาวะโภชนาการเด็กไทย ตั้งเป้า 3,500 คนทั่วประเทศภายในปีพ.ศ. 2563 โดยการสำรวจครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจภาวะโภชนาการเด็กในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 2 (Southeast Asia Nutrition Survey: SEANUTS II ) ซึ่งจะดำเนินการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กกว่า 18,000 คน ในประเทศไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซียโครงการสำรวจภาวะโภชนาการเด็กในครั้งนี้
ครอบคลุมการเก็บข้อมูลด้านการเจริญเติบโต การบริโภคอาหาร

การเคลื่อนไหวของร่างกาย และตัวชี้วัดทางชีวเคมีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 12 ปี เนื่องด้วยสถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมีอยู่ทั้งด้านขาดและเกิน (Double burden of malnutrition) ซึ่งภาวะทุพโภชนาการคือ การที่ร่างกายได้รับสารอาหารหรือพลังงานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม โดยเป็นได้ทั้งภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ ส่งผลให้เด็กเตี้ย ผอมและมีการเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์ และภาวะโภชนาการเกินหรือการที่ร่างกายได้รับอาหารในปริมาณที่มากเกินไปจนทำให้เด็กมีน้ำหนักมากเกินและเกิดภาวะอ้วน

ดังนั้นทางสถาบันวิจัยฟรีสแลนด์คัมพิน่า ประเทศเนเธอร์แลนด์และฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทสาขาในประเทศไทย ที่ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมโฟร์โมสต์ได้ร่วมมือกับ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการสำรวจสถานการณ์ของภาวะโภชนาการในเด็กไทยครั้งที่ 2 ขึ้นโดยโครงการสำรวจภาวะโภชนาการครั้งที่ 1 ได้ดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2553-2554 ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าเด็กไทยร้อยละ 20 มีน้ำหนักเกินมาตรฐานและอ้วน และมีภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะธาตุเหล็กแคลเซียม วิตามินเอ ซี และดี ซึ่งเด็กมากกว่าร้อยละ 50 บริโภคอาหารที่ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายต่ำกว่าเกณฑ์ปริมาณสารอาหาร
อ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันโดยเฉพาะธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินเอ และซี ซึ่งภาวะขาดธาตุเหล็กอาจส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ส่วนภาวะขาดแคลเซียมและวิตามินดี อาจส่งผลต่อการพัฒนาและความแข็งแรงของกระดูก รศ.ดร.นิภา โรจน์รุ่งวศินกุล หัวหน้าทีมนักวิจัยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า

“สถาบันฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับฟรีสแลนด์คัมพิน่าในการสำรวจภาวะโภชนาการเชิงลึกระดับประเทศครั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเจริญเติบโต รูปแบบการบริโภคอาหาร การเคลื่อนไหวของร่างกาย และภาวะโภชนาการของเด็กในประเทศของเรา จากผลการสำรวจของโครงการ SEANUTS ครั้งที่ 1 ที่ได้รายงานเผยแพร่ไปแล้วนั้น

“พบว่าเด็กจำนวนไม่น้อยในประเทศไทยรวมถึงประเทศอื่น ๆ มีภาวะทุพโภชนาการ ทั้งด้านขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต
และมีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ดังนั้นการสำรวจ SEANUTS ครั้งที่ 2 นี้จะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาโภชนาการทั้งด้านปริมาณและคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทของสารอาหารที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ”

คุณวิภาส ปวโรจน์กิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมโฟร์โมสต์ กล่าวว่า

“โภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตและเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กโดยในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุลส่งผลให้เกิดภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเด็กฟรีสแลนด์คัมพิน่าทำงานร่วมกับภาครัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพเพื่อให้ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้ครอบครัวมีรูปแบบการดำเนินชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ที่มีสุขภาพดี

“ดังนั้นการสำรวจครั้งนี้จะทำให้เรามีความรู้เกี่ยวกับความต้องการด้านสารอาหารและโภชนาการของเด็ก ทั้งนี้เพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างกิจกรรมดีๆเพื่อเสริมสร้างโภชนาการให้เด็กไทยมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง”

เกี่ยวกับ โครงการสำรวจด้านโภชนาการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: Southeast Asia Nutrition Survey (SEANUTS) โครงการ SEANUTS ครั้งที่ 1 ได้ดำเนินการในปีพ.ศ. 2553-2554 โดยผลการสำรวจชี้ให้เห็นถึงภาวะโภชนาการและปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญซึ่งเ
ป็นสาเหตุของ ความหิวที่ซ่อนเร้น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำว่า ความหิวที่ซ่อนเร้น
แสดงให้เห็นถึงความบกพร่องด้านโภชนาการที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน โดยรวมแล้วเด็กอาจมีสุขภาพดี หรือแม้แต่ในเด็กที่มีการบริโภคมากเกินความจำเป็น แต่ก็อาจยังขาดสารอาหารที่สำคัญ เช่น วิตามินดี และแคลเซียม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการพัฒนาการของกระดูก ผลการสำรวจด้านโภชนาการของ SEANUTS ครั้งที่ 1 ได้ถูกนำมาสร้างเป็นโครงการเพื่อเสริมสร้างรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ดี เช่นโครงการดื่ม.ขยับ.รับ.สุขภาพ (Drink.Move.BeStrong) ตลอดจนใช้เพื่อสนับสนุนนโยบายด้านสุขภาพของรัฐบาลประเทศต่างๆ นอกจากนี้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากการสำรวจยังถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนามาตรฐานด้านโภชนาการของฟรีสแลนด์คัมพิน่าด้วยเช่นกัน ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถาบันวิจัยฟรีสแลนด์คัมพิน่า

https://www.frieslandcampinainstitute.com/

Posted in NEWS
BACK
TO TOP
cheewajitmedia
Writer

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.