การกินวิตามินในผู้สูงวัย กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด
อายุมากขึ้น ความเสื่อม ความชราถามหา ร่างกายไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เช่นเดียวกับความต้องการสารอาหารต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากตอนหนุ่มสาว มีภาวะขาดบางอย่างที่เพิ่มขึ้น ทำให้วัยนี้จำเป็นต้องเสริมอาหารให้เพียงพอในการยืดอายุร่างกายให้แข็งแรง วันนี้ผู้เขียนจึงนำเอาเทคนิค การกินวิตามินในผู้สูงวัย มาฝากค่ะ
วิตามินในผู้ใหญ่วัยทำงาน 19-49 ปี
เพราะสมองและร่างกายเป็นขุมกำลังสำคัญของคน วัยทำงาน ฉะนั้นควรให้ความสำคัญกับวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงสมองและร่างกาย เพื่อให้มีพร้อมทั้งการงานที่ก้าวหน้า ฐานะที่มั่นคง และสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง
วิตามินบี
มีหลายชนิด ทั้งมีหน้าที่ในการบำรุงสมอง และเสริมสร้างพลังงานให้ร่างกายดังนี้
- วิตามินบี1 ความต้องการวิตามินบี1 ขึ้นอยู่กับความต้องการพลังงานของร่างกาย หากทำงานหนัก โดยเฉพาะต้องออกแรงหรือใช้แรงกายมาก ร่างกายยิ่งต้องการวิตามินบี1 มาก หากขาดอาจทำให้การทำงานของระบบประสาทผิดปกติ ส่งผลให้เป็นโรคเหน็บชา
- วิตามินบี2 ช่วยบำรุงนัยน์ตา หากขาดจะทำให้เคืองตา ตาไม่สู้แสง น้ำตาไหล แสบ คันที่บริเวณตา และมองภาพไม่ชัด
- วิตามินบี3 (ไนอะซิน) ช่วยในการทำงานของเส้นประสาทสมองส่วนปลาย (Cranial Nerves) ป้องกันอาการปวดศีรษะ
- วิตามินบี6 จำเป็นต่อกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยป้องกันโรคผิวหนังและโรคทางระบบประสาท
ปริมาณที่ควรได้รับใน 1 วัน : ผู้ชาย อายุ19–49 ปี ต้องการวิตามินบี1 วันละ 1.2 มิลลิกรัม วิตามินบี2 วันละ 1.3 มิลลิกรัม ไนอะซิน 16 มิลลิกรัม และวิตามินบี6 วันละ 1.3 – 1.7 มิลลิกรัม สำหรับผู้หญิง อายุ 19 – 49 ปี ต้องการวิตามินบี1 และวิตามินบี2 วันละ 1.1 มิลลิกรัม ไนอะซิน 14 มิลลิกรัม และวิตามินบี6 วันละ 1.3 – 1.5 มิลลิกรัม
โฟเลต
จำเป็นสำหรับหญิงมีครรภ์ ช่วยถ่ายทอดพันธุกรรมจากแม่สู่ทารกในครรภ์ หากขาดโฟเลต ในระยะนี้ทารกในครรภ์อาจเสี่ยงพิการ มีอาการปากแหว่งเพดานโหว่ และป่วยเป็นโรคหลอดประสาทไขสันหลัง ผิดปกติ(Neural Tube Defects)
นอกจากนี้การขาดโฟเลตอาจทำให้โคเอนไซม์ทำหน้าที่สังเคราะห์ดีเอ็นเอ(DNA) อาร์เอ็นเอ(RNA) น้อยลง ส่งผลให้การเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของนิวเคลียสช้ากว่าปกติ เกิดโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่กว่าปกติ(Macrocytic Anaemia)
ปริมาณที่ควรได้รับใน 1 วัน : ชายและหญิง อายุ 19–49 ปี ต้องการโฟเลตวันละ 400 ไมโครกรัม สำหรับ หญิงตั้งครรภ์ต้องการโฟเลตวันละ 600 ไมโครกรัม
โอเมก้า – 3
เหมาะสำหรับคนวัยทำงานเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆที่เกิดจากการอักเสบของร่างกาย โดยมีผลมาจากการกินและ กิจวัตรประจำวันที่ทำลายสุขภาพ เช่น กินอาหารไขมันสูง สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย สอดคล้องกับข้อเขียนของ นายแพทย์โจเซฟ ซี. มารูน (Joseph C. Maroon) มหาวิทยาลัยการแพทย์พิตต์สเบิร์ก (The University of Pittsburgh School of Medicine) ในหนังสือ Fish Oil: The Natural Anti-inflammatory ซึ่งกล่าวว่า โอเมก้า – 3 มีประโยชน์ในการป้องกันโรคหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง โรคหืด โรคซึมเศร้า โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ เพราะมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้โรคดังกล่าวลุกลาม
ปริมาณที่แนะนำ : สมาคมโรคหัวใจ ประเทศสหรัฐอเมริกา (The American Heart Association) แนะนำให้กินปลา โดยเฉพาะปลาที่มีไขมันสูง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 200 กรัม ร่วมกับไขมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้ง วอลนัท แฟลกซ์ซี้ด สำหรับผู้ที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงในช่วง 150–199 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แนะนำให้กินโอเมก้า – 3 ชนิดกรดไขมันอีพีเอ (EPA) และดีเอชเอ (DHA) 0.5 – 1 กรัม โดยต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน
แคลเซียม
หลังอายุ 35 ปี อัตราการสลายมวลกระดูกจะมากกว่าการสร้าง โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนอายุประมาณ 50 ปี จะพบการสลายมวลกระดูกมากกว่าผู้ชายในวัยเดียวกัน โดยมีอัตราการสลายสูงสุดคือปีละ 3 – 5 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ เครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของกาเฟอีนซึ่งคนวัยทำงานดื่มเป็นประจำ เช่น กาแฟ น้ำอัดลม ยังมีผลเร่งการสลายแคลเซียมจากกระดูก และลดประสิทธิภาพในการดูดซึม ฉะนั้นหากคนในวัยนี้ได้รับ แคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพออาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
ปริมาณที่ควรได้รับใน 1 วัน : ชายและหญิง อายุ 19 – 50 ปี ต้องการแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม ส่วนชายและหญิง อายุ 51–60 ปี ต้องการแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม
วิตามินในผู้สูงวัย (50+ ปี)
อายุ 50 ปีขึ้นไป มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงเริ่มลดลง โครงสร้างร่างกายจะเริ่มทรุดเนื่องจากการสูญเสียมวลกระดูก นอกจากนี้การสร้างกรด ในกระเพาะอาหารจะลดลง มีผลต่อระบบย่อยอาหารและการดูดซึม วิตามิน จนอาจส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารได้ แม้ความเสื่อมเป็นไปตามวัย แต่เราสามารถแข็งแรงกว่าเพื่อนในวัยเดียวกันได้ หากรู้จักกินให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุอย่างครบถ้วน ดังนี้
วิตามินบี12
ผู้สูงอายุที่กินอาหารมังสวิรัติหรือมีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหารเสี่ยงขาดวิตามินบี12 เพราะวิตามินชนิดนี้พบในอาหารประเภทเนื้อสัตว์และต้องอาศัยน้ำย่อยในระบบทางเดินอาหารช่วยในการดูดซึม หากขาดวิตามินบี12 อาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางเป็นพิษชนิดเพอร์นิเชียส (Pernicious Anemia) ทำให้ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดงไม่สมบูรณ์ การขนส่งออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆทั่วร่างกายลดลง สังเกตได้ชัดว่าผู้สูงอายุจะมีผิวซีด มีอาการคลื่นไส้ หายใจติดขัด ท้องอืด น้ำหนักตัวลดลง มีความผิดปกติของระบบประสาทและการทรงตัว
ปริมาณที่ควรได้รับใน 1 วัน : ชายและหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป ต้องการวิตามินบี12 วันละ 2.4 ไมโครกรัม
วิตามินดี
ช่วยดูดซึมแคลเซียม ป้องกันโรค กระดูกอ่อนในวัยสูงอายุ (Osteomalacia) ซึ่งเกิดจากการขาดวิตามินดีและแคลเซียม ส่งผลให้กระดูกบริเวณขา ไขสันหลัง และเชิงกรานมีรูปร่างผิดปกติ อาการที่ปรากฏชัดคือ หลังโกง ปวดข้อ ปวดกระดูก และเนื่องจากวิตามินดีเป็นตัวพาแคลเซียมไปสะสมที่ฟัน หากร่างกายขาดวิตามินดีจะทำให้ฟันผุง่าย
ปริมาณที่ควรได้รับใน 1 วัน : ชายและหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไปต้องการวิตามินดีวันละ 10 – 15 ไมโครกรัม
วิตามินอี
เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆภายในร่างกาย รวมถึงชะลอความเสื่อมของสมอง โดยงานวิจัยจากสมาคมแพทย์อเมริกัน (American Medical Association) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Archives of Neurology วิเคราะห์อาหารประจำวันของชายและหญิง 2,889 คน อายุ65 – 102 ปี พบว่า การได้รับวิตามินอีจากอาหารอย่างเพียงพอมีผลช่วยชะลอ ความเสื่อมของสมองในผู้สูงอายุ ส่งผลให้มีความจำดีกว่าคนในวัยเดียวกัน
ปริมาณที่ควรได้รับใน 1 วัน : ชายและหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป ต้องการวิตามินอีสูงสุด คือวันละ 15 มิลลิกรัม
แคลเซียม
ช่วยชะลอการสลายมวลกระดูกให้ ช้าลง หากคนวัยนี้เคลื่อนไหวร่างกายน้อยหรือขาดการออกกำลังกาย เช่น นั่งรถเข็นหรือนอนพักฟื้น ความแข็งแรงของกระดูกจะยิ่งลดลง ทั้งนี้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น โรคหืด โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หากกินติดต่อกันเป็น เวลานานอาจมีผลต่อการลดความหนาแน่นของมวล กระดูกและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน อีกด้วย
ปริมาณที่ควรได้รับใน 1 วัน : ชายและหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไปต้องการแคลเซียมสูงสุด คือวันละ 1,000 มิลลิกรัม
วิตามินที่ควรเสริม หรือปรับลดในวัยผู้ใหญ่
สำหรับวัยทอง
แนะนำว่าให้ตากแดดอ่อนๆเพื่อรับวิตามินดี ให้เต็มที่ แต่ถ้าไม่ค่อยได้โดนแดด สามารถกิน วิตามินดีได้วันละ 400 ไอยู กรณีตรวจพบว่ามีภาวะขาดวิตามินดี แพทย์จะให้วิตามินดีขนาดระหว่าง 2,000 – 4,000 ไอยู ส่วนแคลเซียมต้องพิจารณาเป็นกรณีๆไป
หากมีความเสี่ยงกระดูกพรุน คือเป็นผู้หญิงตัวเล็ก ไม่ออกกำลังกาย ประจำเดือนหมดเร็ว หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน ควรเข้ารับการตรวจภาวะกระดูกพรุน
หากพบว่ามีภาวะกระดูกพรุนและไม่มีโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคประจำตัว สามารถกินแคลเซียมเสริมได้ ซึ่งแนะนำเป็นรูปแบบแคลเซียมซิเตรตขนาด 1,000 – 1,500 มิลลิกรัม
หนังสือวิตามินไบเบิล โดย ดร.เอิร์ล มินเดลล์ สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ แนะนำวิตามินสำหรับผู้หญิงวัยทองว่า การกินวิตามินอีในรูปโทโคฟีรอลรวม ขนาด 200 – 400 ไอยู พร้อมกับซีลีเนียม วันละ 1 – 2 ครั้ง สามารถบรรเทาอาการร้อนวูบวาบได้
สำหรับสูงวัย
หากวัยสูงอายุต้องการกินวิตามินเสริม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เนื่องจากวิตามินบางชนิดมีผลต่อการเพิ่มหรือลดการดูดซึมของยาบางชนิด ซึ่งจะไปรบกวนยารักษาโรคประจำตัวที่กินอยู่
หากร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว สามารถกินวิตามินได้ดังต่อไปนี้
วิตามินซี ขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า – เย็น
โคเอนไซม์คิวเทน ขนาด 30 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด
วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี6 ขนาด 100 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า
วิตามินบี12 ขนาด 100 ไมโครกรัม ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า
คิดจะเสริม เสริมทั้งที่ เสริมด้วย เซนทรัม ซิลเวอร์ 50+ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สูตรเฉพาะสำหรับวัย 50 ปีขึ้นไป มีวิตามินและเกลือแร่รวม 23 ชนิด พร้อม ลูทีน ไลโคปีน และเบต้า-แคโรทีน ในเม็ดเดียว ในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุวัย 50 ปีขึ้นไป
สนับสนุนข้อมูลโดย