ท่าออกกำลังกายช่วยหลังเฟิร์ม แก้ปวดหลัง ทำได้ด้วยตัวเอง (มีคลิป)

ท่าออกกำลังกายช่วยหลังเฟิร์ม แก้ปวดหลัง ทำได้ด้วยตัวเอง

สาเหตุของอาการปวดเมื่อย ปวดหลัง นั้นเกิดขึ้นได้หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นอายุ การเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดท่า การทำอะไรในท่าเดิมๆ นานๆ หรือจากอุบัติเหตุ ไปจนถึงโรคภัยประจำตัว เช่น โรคข้ออักเสบ โรคข้อเสื่อม หรือการตั้งครรภ์ เป็นต้น วันนี้ชีวจิต มีท่าออกกำลังกาย แก้ปวดหลัง ลดอาการปวดเมื่อยที่ได้ผลชัวร์ มาให้ได้ทดลองทำกันค่ะ

กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง ก็ไม่ปวดหลัง

อาการปวดหลังมีหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งอาจมาจากโรคเกี่ยวกับกระดูก เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกหลังเสื่อม เป็นต้น และนอกจากตัวกระดูกเองแล้ว กล้ามเนื้อก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการปวดหลังได้ และพบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาจเป็นจากกล้ามเนื้อตึง กล้ามเนื้อยึด ซึ่งการออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง จะช่วยป้องกันภาวะกล้ามเนื้ออักเสบและอาการปวดหลังจากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ การบริหารกล้ามเนื้อหลังอย่างถูกวิธี จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยประเภทนี้

ข้อควรปฏิบัติขณะออกกำลังกาย

  • ไม่ยืดกล้ามเนื้อจนรู้สึกเจ็บ
  • ในขณะออกกำลังกาย หากมีอาการปวดหรือชาให้พักจนอาการกลับสู่สภาวะปกติ แล้วจึงค่อยออกกำลังกายต่อ

ท่าที่1

ช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลังสวนล่าง บริเวณเอวจนถึงสะโพก เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยหลังจากการ นั่งนานๆ หรือยกของหนักๆ ผิดวิธี

ท่าที่ 2

อีกหนึ่งท่า สำหรับสร้างกล้ามเนื้อให้หลังเฟิร์ม ซึ่งพอหลังของเราแข็งแรง คุณก็ไม่มีอาการปวดหลังหากยืนหรือนั่งท่าเดิมนานๆแล้ว

 

ท่าที่ 3

บอกลาหลังย้วย เพื่อให้ได้แผ่นหลังสวยงาม ด้วยท่าบริหาร กระชับแผ่นหลัง

 

ทริคน่ารู้แก้ปวดหลัง

ข้อมูลจาก ดร.สจวร์ต บี ลีวิตต์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอาการปวด อธิบายว่า บริเวณหลังช่วงล่างเป็นส่วนที่เปราะบาง หากร่างกายขาดวิตามินดี ก็ยิ่งจะทําให้บริเวณนั้นบาดเจ็บง่ายขึ้น ซึ่งอาจารย์สาทิส อินทรกําแหง กูรูต้นตํารับชีวจิต แนะนําให้กินวิตามินดี 3 วันละ 1,000 ไอยู เพื่อให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และไม่ให้อวัยวะภายในอุดตัน โดยเฉพาะปัญหาท้องผูก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดแรงดันในช่องท้อง และส่งผลให้มีอาการปวดหลังช่วงล่างได้เช่นกัน  นอกจากนี้ยังแนะนำให้ดื่มน้ำมากกว่า 8 แก้ว และกินผัก ผลไม้ ธัญพืช และออกกําลังกายสม่ำเสมอก็จะช่วยลดอาการปวดหลังได้

5 สัญญาณอันตรายจากการปวดหลัง ควรพบแพทย์

  • เรื้อรังติดต่อกันนาน 3 เดือน
  • ปวดร้าวลงสะโพก ขา จนถึงน่องหรือเท้า
  • ปวดเฉียบพลัน ปวดรุนแรงจนเคลื่อนไหวไม่ได้ และไม่ทุเลาลงแม้ได้พัก
  • ปวดหลังจากได้รับอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม
  • มีอาการปวดร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้: ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ขาอ่อนแรง มีอาการชาที่ขา เท้า หรือรอบทวารหนัก เนื่องจากอาจเป็นภาวะฉุกเฉินของกระดูกสันหลัง เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือกระดูกสันหลังเคลื่อน เป็นต้น

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลนครธน / นิตยสารชีวจิต / โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

– – –  – – – – –  – – – – –  – – – –  – – – –  – – –  – – –  – – –  – – –  – –  – –

บทความน่าสนใจอื่นๆ

ประสบการณ์สุขภาพ 3 ท่ารำกระบองชีวจิต แก้ปวดหลัง ของนักเขียนครัวชีวจิต

ปวดหลัง แก้ได้ด้วยโยคะท่านี้ 

รวมท่าโยคะช่วงกักตัว

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.