ความดันต่ำ เท่าไหร่ จึงเป็นอันตราย?
เวลามีอาการวูบๆ หน้ามืดจะเป็นลม เคยนึกสงสัยกันบ้างไหมว่า หรือเราจะเป็น ความดันต่ำ ? แล้วถ้าเป็น เราจะรับมือกับอาหารเหล่านี้อย่างไร หาคำตอบได้ที่บทความนี้ไปพร้อมๆ กันเลย
โรคความดันโลหิตต่ำ (HYPOTENSION) แม้จะไม่น่ากลัวเท่าความดันโลหิตสูง (HYPERTENSION) ก็ตาม แต่ยังไงก็ควรป้องกันตัวเองไว้ให้ดีเป็นที่สุด ถ้าเรารู้ตัวว่าเป็น โรคความดันต่ำ
ความดันต่ำเกิดจาก
ความดันต่ำเกิดขึ้นได้จากสาเหตุเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น
จากการเปลี่ยนอิริยาบถของร่างกาย หลายครั้งที่การลุก นั่ง แบบกะทันหัน หรือการก้ม-เงยศีรษะอย่างรวดเร็วจะทำให้เรารู้สึกเวียนหัวขึ้นมาได้ นั่นเพราะความดันเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างรวดเร็ว จากความเร็วของอิริยาบถของร่างกาย บวกกับจังหวะการหายใจและสภาพร่างกายในขณะนั้นร่วมด้วย
จากเลือดในสมองไม่พอ อีกหนึ่งเหตุผลที่มีความเครียดเป็นเหตุ เพราะระดับความเครียดมีผลโดยตรงต่อระดับความดันในร่างกาย รวมถึงการขาดสารอาหารประเภทโปรตีน วิตามินซี และวิตามินบี ที่ช่วยให้เนื้อเยื่อโดยรอบผนังหลอดเลือดแดงแข็งแรงขึ้น ซึ่งสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะความดันต่ำในเวลาต่อมาได้
จากการใช้ยาหรือโรคประจำตัว เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ ยากล่อมประสาท และยาต้านเศร้า รวมถึงโรคประจำตัว หรือภาวะบางอย่างที่มีผลต่อระดับความดันในร่างกาย เช่น ภาวะตั้งครรภ์ อาการแพ้ โรคโลหิตจาง โรคหัวใจ และโรคพาร์กินสัน เป็นต้น
ไม่ทราบสาเหตุ ภาวะความดันต่ำที่เกิดจากพันธุกรรม หรือลักษณะรูปร่างที่บอบบางและผอมจนเกินไป ทำให้มีภาวะความดันต่ำเกิดขึ้นได้ รวมถึงการสะสมปัจจัยระหว่างทางจนทำให้เข้าสู่ภาวะความดันต่ำในอนาคตต่อไปได้
ความดันต่ำ เท่าไหร่
ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองเป็นโรคความดันต่ำหรือไม่ ไม่ใช่ดูแค่อาการหน้ามืดเท่านั้น แต่ควรทำการวัดค่าความดันโลหิต โดยสังเกตุจาก ตัวเลขด้านบนหรือ Systolic Pressure เป็นตัวเลขที่แสดงค่าความดันในหลอดเลือดแดง ขณะที่หัวใจกำลังบีบตัวหรือสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย และค่าความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic Pressure) ค่าแรงดันในขณะที่หัวใจกำลังคลายตัว โดยระดับความดันโลหิตปกติจะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ส่วนภาวะความดันโลหิตต่ำ แพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะนี้ต่อเมื่อมีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท
อาการ ความดันต่ำ
อาการป่วยแสดงออกมา เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ผิวหนังเย็นหรือชื้นผิดปกติ เสียการทรงตัว แต่สำหรับผู้ที่มีความดันต่ำ แต่ไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ ในทางการแพทย์ยังจัดว่าสุขภาพเป็นปกติดี ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา
ภาวะความดันโลหิตต่ำ ย่อมส่งผลร้ายต่อร่างกายได้เนื่องจาก ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงเลือด ไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ ซึ่งง่ายต่อการทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้มากมาย โดยเป็นภาวะร้ายแรงทั้งสิ้น คือ
- ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด
- ภาวะช็อก
ความดันต่ำ ต้องระวัง
จะเห็นว่าภาวะความดันต่ำนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ แม้แต่การทำกิจกรรมปกติในช่วงที่ร่างกายพักผ่อนน้อย ก็อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หน้ามืด เพราะความดันต่ำกะทันหันขึ้นมาได้ ซึ่งการเกิดภาวะความดันต่ำแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
- ภาวะความดันต่ำชนิดเฉียบพลัน จากการเปลี่ยนท่าทางกะทันหัน การพักผ่อนหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ และภาวะ
- ความดันต่ำชนิดเรื้อรัง หรือผู้ที่มีภาวะความดันต่ำเป็นปกติอยู่แล้ว ที่ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลตัวเองมากขึ้น
ผู้ที่มีปัญหาเรื่อง ความดันต่ำ ต้องระวังคือ
เช็กสุขภาพร่างกายอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันต่ำได้ง่าย ผู้ที่ดื่มน้ำน้อยจนมีผลให้เกิดอาการเวียนหัว และหน้ามืดได้บ่อยกว่าปกติ
เฝ้าระวังอุบัติเหตุรุนแรง จากความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น การล้มหมดสติ รวมถึงภาวะสมองขาดออกซิเจนชั่วคราวจากภาวะความดันต่ำที่มีอยู่เดิม ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ตลอดจนการทำงานของสมองและหัวใจร่วมด้วย
เปลี่ยนอิริยาบถอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างที่เราทราบกันดีว่าการลุก-นั่ง ก้ม-เงยแบบเร็วๆ เป็นท่าทางที่ทำให้เราหน้ามืด เวียนหัวได้ง่าย การชะลอความเร็วเมื่อต้องขยับเขยื่อนเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น จากนอนเป็นนั่งแล้วค่อยปรับเป็นการยืน รวมถึงการยกศีรษะสูงในขณะนอนหลับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและช่วยลดโอกาสของภาวะความดันต่ำได้เป็นอย่างดี
รักษา และป้องกันความดันต่ำ
รักษาความดันต่ำแบบฉุกเฉิน
ต่อไปนี้เป็นการแก้อาการเฉพาะหน้า โดยเฉพาะอาการปวดหัวและเป็นลมหน้ามืด จากความดันโลหิตต่ำ
- เวลานอนให้นอนศีรษะอยู่สูงกว่าเท้าประมาณ 8-12 นิ้ว
- เวลาตื่น อย่ารีบลุกพรวดพราดออกจากเตียง แนะนำให้ลุกขึ้นนั่งอย่างช้าๆ ในท่านั่งห้อยขาสักพักหนึ่ง
- เวลาอาบน้ำ ถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้อาบน้ำร้อนสลับกับน้ำเย็น
- ใช้ผ้าขนหนูเนื้อหยาบหน่อยๆ แต่ไม่ต้องถึงกับหยาบมาก นำมาถูตัวแรงๆ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและเย็น
- ทานอาหารหนัก ๆ 3 มื้อ และกินอาหารว่าง 2 มื้อ ในเวลาสายและบ่าย ทั้งนี้อาหารหนักหมายความว่า เช้า กลางวัน เย็น ส่วนอาหารว่าง สามารถทานของกินเล่น เช่น ผลไม้ แอปเปิ้ล ถั่วและเมล็ดพืชอย่างเมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน หรือกล้วยตายก็ได้ ที่สำคัญอย่าลืมทานน้ำให้ได้วันละ 4-6 แก้ว เพื่อให้ร่างกายสดชื่น ไม่อ่อนเพลียง่าย
ป้องกันความดันต่ำ
การป้องกันความดันต่ำไม่ให้เกิดขึ้น หรือไม่ให้เกิดซ้ำ คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งเรื่องการพักผ่อน การทานอาหาร รวมไปถึงเรื่องของการลุกเดินยืน
- พักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ดื่มน้ำเปล่าให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
- หลีกเลี่ยงความเครียด
- ไม่เปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะวิตามินบี 12 ผักใบเขียวและผลไม้