เราได้ยินบ่อยมากว่า ชีวิตต้องมี 2 ด้านทั้งเรื่องงานและการใช้ชีวิตบนวิถีบาลานซ์ที่สมดุล แต่มีน้อยคนนักที่จะทำสิ่งเหล่านั้นได้ และนี่คือหนทางแก้ไขที่จะทำให้คุณบาลานซ์ตัวเองได้ในที่สุด
– มองหาความบาลานซ์ที่เหมาะสมกับตัวเอง
จริงๆ แล้วเวิร์คไลฟ์ บาลานซ์เป็นแนวคิดที่เป็นปัจเจกบุคคล ความบาลานซ์ของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน เพียงแต่เราต้องหาระดับที่เหมาะสมกับเราได้ ขึ้นอยู่กับคุณที่จะจัดลำดับความสำคัญปรับเปลี่ยนและตัดสินใจว่าคุณเป็นอย่างไร พร้อมหรือไม่พร้อมที่จะทำอะไร แต่อย่าลืมที่จะฟังเสียงความรู้สึกร่างกายและอารมณ์ของคุณ รวมถึงฟังสัญชาตญาณของคุณเอง
– ระวังการเพิ่มขึ้นของอะดรีนาลีน
อะดรีนาลีนที่เกิดจากความเครียดจะทำให้คุณเดินต่อไปได้แค่ระยะสั้นๆ และส่งผลต่อการอยู่ในร่างกายได้ยาวนานขึ้นก่อนที่คุณจะรู้สึกหมดแรงในไม่ช้า การที่อะดรีนาลีนหลั่งมากเกินไปเป็นเวลานาน บางทีอาจเกิดจาก ความกลัว ความเครียด หรือความโกรธสามารถทำให้เกิดการหลั่งอะดรีนาลีนเพิ่มขึ้นได้ และส่งผลให้คุณนอนไม่ค่อยหลับ กระวนกระวายและมึนศีรษะได้ ฉะนั้นจงควบคุมมันให้ดีอย่าพยายามให้เกิดมากเกินไปบ่อยนัก
– อย่าเป็นผู้พร้อมพลีกายถวายตัวให้กับงาน
บริษัทไม่ได้รักเราขนาดนั้น ทว่าหากคุณเป็นอะไรขึ้นมา เค้าก็แค่หาพนักงานใหม่มาทดแทน ถ้าวันหนึ่งคุณพบว่าตัวเองพูดว่า “ฉันมีงานต้องทำมากมาย” หรือ “ฉันต้องทำทุกอย่างที่นี่ให้เสร็จ” ให้ระวังความคิดนี้ให้ดี เพราะคุณกำลังเป็นคนคลั่งงานที่ทำให้คนรอบตัวรู้สึกรำคาญและไม่อยากเข้าใกล้ ลองลดภาระลงจากบ่าดูบ้าง เงยหน้าจากคอมพ์แล้วจะพบว่ามีคนรอคุย สนทนากับคุณอีกมาก จำไว้ว่าโลกจะไม่หยุดหมุน ถึงคุณหยุดพยายามทำทุกอย่างด้วยตัวเองคุณเดียว
– บางครั้ง ‘ความพอดี’ อาจจะดีพอ
ถามคำถามกับตัวเองเสมอว่า เราจะให้คะแนนการทำงานกับโปรเจคต์แต่ละชิ้นมากเท่าไร ถ้าจำนวนงานจาก 9 ใน 10 คุณตอบตัวเองว่าต้องดีเกิน 100% ฟังดูอาจจะเข้าท่า แต่นั่นเป็นความทะเยอทะยานที่สูงเกินไปและกลายเป็นว่าคุณกำลังมองหาความสมบูรณ์แบบในทุกครั้ง แล้วจะไม่เลิกทำมันจนกว่ามันจะสำเร็จ ลองเปลี่ยนความคิดใหม่ บางทีการเลิกทำงานชิ้นตรงหน้าเร็วขึ้น 1 ชั่วโมงก็ทำให้คุณได้ใช้เวลาคุณภาพอยู่กับครอบครัวได้นานขึ้น ดังนั้นให้พิจารณาลำดับความสำคัญของคุณและทำสิ่งที่คุณทำได้
cr : canva
อ่านบทความเพิ่มเติม